http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,510
เปิดเพจ84,868
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้านภูล้อม ปี 2560

ส่วนที่  1  สภาพทั่วไป

(1.)    สภาพทั่วไป

1.1     ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

                   บ้านภูล้อม หมู่ที่  6 ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2409 เดิมมีราษฎร 4 ครอบครัว คือ ครอบครัวนายอำคา สีมืด, นายจัน แดงบุตร           , นายโหง่น บันตะบอน และนายป้อม ปุกจิตร  ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบเนินเขา ซึ่งห่างจากบ้านบาก ประมาณ 6 กิโลเมตร หลังจากนั้นได้มีราษฎรจากที่ต่างๆ อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ในปี พ.ศ.2498 ทางราชการจึงได้ตั้งบ้านภูล้อมขึ้นเป็นหมู่บ้าน โดยมีนายหมุ่ย ผิวเหลืองเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นายบุญมา พิกุลทอง ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ขอแยกการปกครองเป็น 2 หมู่ คือ บ้านภูล้อมหมู่ 6 และบ้านภูล้อม หมู่ 7 จนถึงทุกวันนี้

1.2 ที่ตั้ง บ้านภูล้อม หมู่ 6  ตำบลบ้านบาก ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอดอนตาล  จ.มุกดาหาร ห่างจากอำเภอดอนตาลประมาณ  20 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด ประมาณ  53  กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2277 ระหว่าง อ. ดอนตาล – อ.เลิงนกทา จังหวัดยโสธร

1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

                  บ้านภูล้อม  หมู่  6   ตำบลบ้านบาก  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา และที่ลุ่มมีลำห้วยแอ่งน้ำมีน้ำซับตลอดทั้งปี และ มีภูเขาล้อมรอบ  มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์  พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์

1.4   อาณาเขต

                   ทิศเหนือ       ติดต่อกับ         บ้านภูผาหอม ตำบลนาสะเม็ง

                   -  ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ         บ้านภูล้อม  หมู่ที่ 7  ต.บ้านบาก

                   -  ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ         บ้านบาก   ตำบลบ้านบาก

                   -  ทิศใต้          ติดต่อกับ         เขตอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

1.5   ด้านการปกครองประกอบด้วย

                   - ได้รับการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อปี  พ.ศ. 2498  โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกจนถึงปัจจุบัน  ดังนี้

                   ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1  คือ  นายหมุ่ย  ผิวเหลือง

                   ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2  คือ  นายริน   แดงบุตร

                   ผู้ใหญ่บ้านคนที่  3 คือนายบุญมา  พิกุลทอง        

                   ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 นายคูณ  ราชการ 

          ตามลักษณะการปกครองท้องที่เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน  เจ็ดหมู่บ้านของตำบลบ้านบาก  โดยพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบาก

คณะกรรมการหมู่บ้าน

                   1.  นายลม      ผิวงาม            กำนันตำบลบ้านบาก

                   2.  นายธีรยุทธ  เหล่าบัวดี         ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง

                   3.  นายทองใคร  โนรี               ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง

                   4.  นายสนั่น    สุทโธ             ผรส.

                   5.  นายสายัน   เหลากลม          ผรส.

                   6.  นายสุรเพชร อัฐนาค           กิจการศึกษา

7.  นางมะลัยวัน บุทธิจักร         กิจการสตรี/เยาวชน

                   8.  นายประจักร ไชยพันธ์          กิจการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

                   9.  นายปาน     มีรัตน์             ฝ่ายกิจการอาสาสมัคร

                   10.นายราชตระเวน  พิกุลทอง    ฝ่ายกิจการส่งเสริมการเมืองท้องถิ่น

 

1.6   ด้านเศรษฐกิจ

                   ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก  ได้แก่  การทำนา  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์   และอาชีพเสริม   ได้แก่ อาชีพรับจ้าง   เก็บหาของป่าจากแหล่งธรรมชาติบริเวณภูเขาและแหล่งน้ำใกล้หมู่บ้านเพื่อการยังชีพ เช่น หาหน่อไม้  เห็ด พืชผัก   กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ป่าอื่น ๆ

                   พืชเศรษฐกิจที่สำคัญแก่  ข้าว  มันสำปะหลัง  อ้อย  ยางพารา  พริก  มะละกอ กล้วย

                   รายได้เฉลี่ยทั้งหมู่บ้าน   66,472  บาท/คน/ปี  (ข้อมูลจปฐ.ปี 2560)

1.7  ด้านสังคมประกอบด้วยจำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากร

                             -  จำนวนครัวเรือนทั้งหมด      73     ครัวเรือน

                             -  จำนวนประชากรทั้งหมด    242    คน

                                 ชาย                           118    คน

   หญิง                           124    คน

.

                   -  การศึกษา       มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา   จำนวน  1   แห่ง เป็นโรงเรียนที่ใช้บริการร่วมกัน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6และหมู่ที่ 7  บ้านภูล้อม  เปิดสอนตั้งชั้น อนุบาลถึง ป.6  มี นักเรียนจำนวน   137     คน   ครู     9  คน  (ผอ.  1 คน  ครู  6  คน    ครูอัตราจ้าง   2  คน) นักการ 1 คน

                   -  ศาสนา   ประชากรนับถือศาสนาพุทธทุกครัวเรือน   มีวัด  จำนวน  1  แห่ง มีพระสงฆ์จำนวน   1  รูป  และสำนักสงฆ์    1  แห่ง  พระสงฆ์  1  รูป

-  สถานีอนามัย   จำนวน  1  แห่ง  (เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข  1  คน  ลูกจ้าง  1  คน)

1.8  กลุ่มองค์กร/ชุมชน

(1) กองทุนหมู่บ้าน   เงินทุน  2,๒47,600  บาท  สมาชิก  76   คน

(2) กองทุนโครงการ กข.คจ.  เงินทุน  280,000  บาท           

(3) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   เงินสัจจะสะสม  180,000  บาท  สมาชิก  103 คน

(4)  กลุ่มออมทรัพย์สัจจะของสมาชิก สพช.  เงินสัจจะสะสม  67,000  บาท  สมาชิก  73  คน   กู้เงินจากธนาคารออมสิน    400,000   บาท

(5) ธนาคารข้าว    

(6) องค์กรสตรี 

(7) กลุ่มเยาวชน

(8) กลุ่มเกษตรธรรมชาติ  (ปลูกพืชปลอดสารพิษ  ผลิตปุ๋ยชีวภาพ  และอื่น ๆ)

1.9 โครงสร้างพื้นฐาน

                   -  ถนนลาดยาง    จากตัวอำเภอ ถึงหมู่บ้านระยะทาง   20  กม.

                   -  ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน     2  กม.

-         ระบบร่องระบายน้ำคอนกรีตในหมู่บ้าน

-         ศาลาประชาคม    2   แห่ง

-         ไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน

-         ประปาหมู่บ้าน 2  แห่ง  ใช้น้ำครบทุกครัวเรือน

-   ตลาดกลางสหกรณ์การเกษตร   1  แห่ง

-   ปั๊มน้ำมันสหกรณ์การเกษตร   1  แห่ง

ส่วนที่  2 การประเมินสถานะหมู่บ้านจาก จปฐ./กชช.2ค

คุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ปี  2560

ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ปี 2560  จำนวน 2        ตัวชี้วัดได้แก่

……………………………………

หมวดที่ 5  ปลูกฝังค่านิยม

          ตัวชี้วัดที่  33  คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

          -  จำนวนที่สำรวจ         311   คน  

-  ผ่านเกณฑ์  จำนวน    272   คน  คิดเป็นร้อยละ         87.5

          -  จำนวนที่ต้องแก้ไข      39     คน 

         

หมวดที่ 6        ร่วมใจพัฒนา

          ตัวชี้วัดที่  42  คนอายุ  18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกในชุมชนของตน

          -  จำนวนที่สำรวจ         214  คน

          -  จำนวนผู้ไปใช้สิทธิ์      189  คน  คิดเป็นร้อยละ  88.3

          -  จำนวนที่ต้องแก้ไข        25  คน

 ส่วนที่  3  กิจกรรมตามแผนชุมชน
 ที่ได้ดำเนินการไปแล้วดังนี้

(1)  ทุกครัวเรือนดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง 50 ครัวเรือน ไม่ใช้งบประมาณ

(2)  โครงการทำนาปลอดสารพิษ  15  ครัวเรือน

(3)  โครงการจัดทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ทุกครัวเรือน งบประมาณ  170,000 บาท (ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข)

(4)    โครงการฝึกอบรมเรียนรู้การจัดทำปุ๋ยชีวภาพ  ทุกครัวเรือน  โครงการจัดทำป้ายเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 4  ป้าย  (อบต.)

(5)    โครงการฝึกอบรมการทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร ไม่ใช้งบประมาณ

(6)     โครงการปลูกต้นราชพฤกษ์เพื่อสร้างความเขียวขจีและร่มรื่นภายในหมู่บ้าน  งบประมาณเงินรางวัลหมู่บ้านเขียวขจีจากมูลนิธิสถาบันราชพฤก จำนวน  10,000  บาท

ส่วนที่  4  ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชนจากเวทีประชาคม

วิกฤตของชุมชนก่อนการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  1. ปัญหาภาระหนี้สินของครัวเรือน  อยู่ในขั้นวิกฤตครัวเรือนไม่สามารถชำระหนี้ได้เกิดปัญหาหนี้สินนอกระบบ  ครัวเรือนกู้หนี้ยืมสินกับนายทุนดอกเบี้ยสูงเกิดขึ้นจำนวนมาก
  2. เพราะไปตามกระแสบริโภควัตถุนิยม   บางรายจำเป็นต้องขายที่ดินทำกินในราคาถูก  เพื่อนำเงินไปใช้หนี้นอกระบบ
  3. ปัญหาการพนันและอบายมุขเกิดขึ้นในชุมชน  คนในวัยแรงงาน/เยาวชนมั่วสุมอบายมุขเล่นการพนัน  ดื่มสุรา  และเสพยาเสพติด
  4. ปัญหาการอพยพแรงงาน   ส่วนมากเยาวชนเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษา (ป.6)  จะไม่เรียนต่อ  โดยจะอพยพไปทำงานในตัวเมืองใหญ่ ๆ  เช่น กรุงเทพ ฯ  และไปทำงานเรือประมงโดยส่วนใหญ่ถูกกดค่าแรงและบางรายถูกหลอกจากมิจฉาชีพบ้าง เนื่องจากการศึกษาต่ำ              ขาดประสบการณ์ต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตในสังคมเมืองใหญ่

5.  ปัญหาการว่างงาน   ของคนในชุมชน  ขาดทักษะและความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ

6.  คนในชุมชนมีภาวะโภชนาการที่ย่ำแย่   บางครอบครัวอยู่อย่างแร้นแค้น

7.  ครอบครัวขาดความอบอุ่น  บางครอบครัวเกิดปัญหาการหย่าร้าง  ปัญหาโรคเอดส์และปัญหาอื่น ๆตามมา

 (3.)    การดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชนบ้านภูล้อม

                   เมื่อปี  พ.ศ.  2559  บ้านภูล้อมได้รับการคัดเลือกจากอำเภอดอนตาลเป็นหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  “อยู่เย็น  เป็นสุข”    โดยได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน  เพื่อดำเนินกิจกรรม  ดังนี้

                   1.  กิจกรรมสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   งบประมาณ  1,000  บาท

                   2.  สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกของแกนนำเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  “อยู่เย็น  “เป็นสุข”  (กิจกรรมส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน”    งบประมาณ  10,000   บาท

                   และเหนือสิ่งอื่นใด  คือประชาชนทุกครัวเรือนของหมู่บ้านภูล้อมได้มีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงเป็นพื้นฐานเดิมอยู่ด้วยแล้ว  จึงทำให้ทุกครัวเรือนได้เกิดจิตสำนึกที่จะน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมายึดถือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัว 

 (4.) วิถีชีวิตชุมชนที่สะท้อนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 

                   บ้านภูล้อม   หมู่ที่6  ตำบลดอนตาล ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตมาปฏิบัติ

กิจกรรมสานฝันร่วมกันของชุมชนชาวภูล้อมในอนาคต

1.  โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (งบประมาณ   2,500,000   บาท) โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข  ของรัฐบาล) ปี 2560     เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไว้เพาะปลูกพืชปลอดสารพิษอย่างเพียงพอ ลดต้นทุนการผลิต และเหลือจำหน่ายให้กับชุมชนอื่น ต่อไป และเป็นการผลิตอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในชุมชนและสร้างสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2.  โครงการสร้างการเรียนรู้การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและเกษตรธรรมชาติปลอดสารพิษแก่คนในชุมชนทุก เพื่อพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพให้เป็นวิสาหกิจชุมชนในอนาคต  และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาการเกษตรธรรมชาติปลอดสารพิษอย่างยั่งยืน

  1. 3.      การพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ทุกครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตได้มาตรฐานตามเกณฑ์  จปฐ.  และชุมชนเกิดความผาสุกเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตลอดไป

 ส่วนที่  5  แนวโน้ม / ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน  / วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

 

วิสัยทัศน์บ้านภูล้อม

* ชาวภูล้อมทุกครัวเรือนต้องกินอิ่ม  นอนอุ่น  สุขใจ  ไร้มลพิษ *

 แนวโน้ม / ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

  1. อนุรักษ์/พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
  2. พัฒนาอาชีพการเกษตรของคนในชุมชนให้มีความพอเพียงลดการใช้สารเคมีในการเกษตรโดยรวมกลุ่มจัดทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดเพื่อให้ทุกครัวเรือนใช้ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นเองเหลือใช้จัดจำหน่ายสร้างรายได้เข้าชุมชน
  3. ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. รวมกลุ่มและพัฒนากลุ่ม/องค์กรให้เข้มแข็ง
  5. พัฒนาแหล่งทุนชุมชนให้เพียงพอ
  6. พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  7. เป็นหมู่บ้านสุขภาพดีปลอดโรคระบาดและโรคติดต่อ  เช่น ไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง
  8. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้สมบูรณ์  (น้ำประปา  ไฟฟ้า  ถนน)
  9. พัฒนาสินค้า  OTOP  ของชุมชน 

ส่วนที่   6  การกำหนดอัตลักษณ์และตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน

 

อัตลักษณ์

เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  อยู่เย็นเป็นสุข

มีธรรมชาติภูจ้อก้อ  ที่มีทิวทัศน์สวยงาม

มีกลุ่มองค์กรในชุมชนที่เข้มแข็ง

มีความสามัคคีเอื้ออารีต่อกัน

มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี

มีกลุ่มจัดทำปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพชุมชน

 

ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน

  1. 1.      การดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. 2.     การทำการเกษตรตามวิถีธรรมชาติ  ลดการใช้สารเคมี
  3. 3.     รายได้ของคนในชุมชนได้จากอาชีพการเกษตร  ที่สำคัญคือ

3.1    ผลผลิตข้าว

3.2   มันสำปะหลัง

3.3   อ้อย

3.4   ยางพารา

3.5   เลี้ยงวัว

  1. 4.     พัฒนาสินค้า OTOP  (จักสาน)
  2. 5.     อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ สวยงามเป็นแหล่งอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนา

เป้าหมาย

แนวทางการพัฒนา

1.การเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบยั่งยืน

 

1.เพิ่มผลผลิต/ลดต้นทุนการผลิต/ปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

2.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ปลูกป่าชุมชน

3.ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์

4.รวมกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง

2.เป็นหมู่บ้านยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

1.ลดรายจ่าย

2.เพิ่มรายได้

3.ส่งเสริมการออมทรัพย์

4.ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน

5.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

6.เอื้ออารีต่อกัน

3.เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

1.พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนภูเขาป่าไม้ให้มีความสวยงาม

2.ปลูกต้นไม้ให้เขียวขจีร่มรื่นและปรับภูมิทัศน์

3.จัดทำสวนสมุนไพร

4.จัดให้มีจุดเรียนรู้ศึกษาดูงาน

5.พัฒนาสินค้า OTOP

6.อื่น ๆ

4.เป็นหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าปลอดโรคระบาดติดต่อ

1.ป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

2.จัดสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนให้สะอาด

3.รณรงค์เฝ้าระวังโรคทุก 3 เดือน

4.ป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง เช่นฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าเป็นต้น

5.ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขโภชนาการ

5.พัฒาโครงสร้างพื้นฐานหมู่บ้าน

1.ปรับปรุงถนน /ประปา/ไฟฟ้าให้เพียงพอสะดวกทั่วถึง

 

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามแผนชุมชน

ที่

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย

งบประมาณ

(บาท)

แหล่งงบประมาณ

1.

ฝึกอบรมการทำขนม

1 กลุ่ม/30 คน

10,000

อบต.

2.

ฝึกอบรมพัฒนาการจักสาน

1 กลุ่ม/30 คน

10,000

อบต.

3.

พัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน

70  คร.

-

ดำเนินการเอง

4.

ก่อสร้างโรงปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

1 แห่ง

400,000

อยู่ดีมีสุข/SML

5.

ปรับปรุง/ขยายกิจการร้านค้าศูนย์สาธิตการตลาด

1 แห่ง

800,000

อบต./ภาครัฐ/อื่นๆ

6.

ปรับปรุงูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

2  แห่ง

1,000,000

อบต/ภาครัฐ

7.

สวนสมุนไพร

5  แห่ง

50,000

อบต./SML

8.

สร้างตลาดนัดชุมชน

1  แห่ง

500,000

อบต./SML

9.

ทำน้ำหมักชีวภาพ

1 กลุ่ม

30,000

อบต./SML

10.

โครงการทำน้ำมันเอทนอล(ผลิตจากมัน/อ้อย)

1 กลุ่ม/30 คน

5,000,000

ภาครัฐ

11.

ผลิตภัณฑ์ชุมชน (น้ำยาล้างจาน,แชมพู)

1 กลุ่ม/30 คน

50,000

อบต./SML

12.

กิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

12  ครั้ง

-

ดำเนินการเอง

13.

ส่งเสริมสวัสดิการผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ/คนพิการ

25  คน

50,000

อบต./หมู่บ้าน

14.

สนับสนุนค่าตอบแทน      อปพร.

9  คน

18,000

อบต./ภาครัฐ

15.

ปลูกป่าชุมชน

20 ไร่

-

ดำเนินการเอง

16.

ปล่อยปลาในบ่อประมงหมู่บ้าน

1  แห่ง/10ไร่

10,000

ประมง/ชุมชน

 

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามแผนชุมชน

ที่

โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมาย

งบประมาณ

(บาท)

แหล่งงบประมาณ

17.

ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์

70 คร.

500,000

อยู่ดีมีสุข/SML

18.

ปรับที่นา/ที่ทำการเกษตร

150  ไร่

1,000,000

อยู่ดีมีสุข/SML

19

รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

3  ครั้ง

-

ดำเนินการเอง

20.

ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ

1 แห่ง

1,000,000

อบต/อบจ.

21.

ก่อสร้างถนนลูกรัง/คอนกรีต

10  กม.

4,000,000

อบต./อบจ.

22.

ก่อสร้างเมรุ/ซุ้มประตูวัด

1 แห่ง

1,000,000

ดำเนินการเอง

23

ก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำด่านถ้อย

1 แห่ง

10,000,000

ภาครัฐ

24

จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชน

1 แห่ง

2,000,000

ภาครัฐ

25.

ส่งเสริมการออมทรัพย์

70  คร.

-

ดำเนินการเอง

26

รณรงค์งดสูบบุหรี่

เดือนละ 1 ครั้ง

-

ดำเนินการเอง

27

รณรงค์ประชาธิปไตย

เดือนละ 1 ครั้ง

-

ดำเนินการเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่  7  ข้อคิดเห็นของพัฒนากรต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่มีจุดเด่นและจุดแข็งหลายประการที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขดีเด่นระดับจังหวัด และรางวัลหมู่บ้านเขียวขจีดีเด่นระดับจังหวัด  จุดแข็งดังกล่าวคือ

-         ชุมชนมีความสามัคคีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบบเครือญาติ

-         ชุมชนมีขนาดเล็ก

-         ผู้นำชุมชน/อาสาสมัคร/กลุ่มองค์กรมีความเข้มแข็งและเสียสละเพื่อส่วนรวม

-         กลุ่มเงินทุนชุมชนเข้มแข็ง  สมาชิกสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างทั่วถึงและมีการบริหารที่โปร่งใส

-         เป็นจุดเรียนรู้ด้านอาชีพ/ด้านเกษตรธรรมชาติและด้านอื่นๆแก่คนในชุมชนและคนทั่วไป

ข้อเสนอแนะ

  1. 1.      การบริหารงานของกลุ่มและกองทุนชุมชนควรมีระบบการจัดทำบัญชีที่รัดกุมมากขึ้นและมีระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวด  สามารถตรวจสอบได้และโปร่งใสทุกขั้นตอน
  2. 2.     การดำเนินโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านควรผ่านกระบวนการแผนชุมชนและเวทีประชาคมหมู่บ้าน  เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม
  3.  



view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view