http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,285
เปิดเพจ84,612
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าชาด

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าชาด

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  “อยู่เย็น เป็นสุข”

ปี  ๒๕๕๙

บ้านป่าชาด  หมู่ที่  

­ตำบลป่าไร่  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติหมู่บ้าน
บ้านป่าชาด บรรพบุรุษเป็นเชื้อสายภูไทยกะเลิง ย้ายมาจากบ้านหนองบอนและบ้านนายาง มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง (ปัจจุบันลานยางชุมชน) พอเกิดน้ำท่วมหมู่บ้าน แล้วเกิดโรคท้องร่วงระบาด ชาวบ้านย้ายบ้านหนีส่วนหนึ่ง ไปตั้งบ้านอยู่บ้านป่าไร่ ปัจจุบันอีกส่วนหนึ่งย้ายไปตั้งทับอยู่บ้านร้างในเขตบ้านช่องเม็ก ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา แล้วกลับมาตั้งบ้านป่าชาด ปัจจุบันมีนายเพชร อุณวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ บ้านป่าชาดมีนำเทียบผู้นำหมู่บ้าน ดังนี้
๑.นายเพชร อุณวงค์ ผู้ใหญ่บ้าน ๒.นายพั้ว เนตรวงค์ กำนัน
๓.นายสีทอง วรวิเศษ กำนัน
๔.นายสากล บรรลุสัน กำนัน
๕.นายเวทย์ เนตรวงค์ กำนัน
๖.นายเงิน ห้วยทราย ผู้ใหญ่บ้าน
๗.นายวีระ ใจทัด ผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน
ข้อมูลประชากร จากข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๙
- จำนวน ครัวเรือน ๑๘๔ ครัวเรือน
- ประชากรทั้งสิ้น ๖๑๔ คน
- ชาย ๓๑๒ คน หญิง ๓๐๒ คน
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดเขต บ้านเหล่าแขมทอง หมู่ที่ ๘ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล
ทิศใต้ ติดเขต บ้านช่องเม็ก ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดเขต บ้านป่าไร่ หมู่ ๒ ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล
ทิศตะวันตก ติดเขต บ้านนาป่ง หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล


การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ คุ้ม
.............................................................
ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายนวน คำพล เลขที่ ๘๑
๒.นายบุญเติม ชุมชนแสง เลขที่ ๖
๓.นายสุทัศน์ จันทรบูชา เลขที่ ๙๔


ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายสมศักดิ์ บุญเรือง
๒.นาง ฐนพร ใจทัด


ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายสาธิต เต็มดวง เลขที่ ๑๙๙
๒.นายนพรัตน์ บรรลุสันต์ เลขที่ ๑๒๕

๔.คุ้มอนันต์สร้างสรรค์ นายณัฐดนัย คณาชอบ หัวหน้าคุ้ม

๕.คุ้มสว่างจิตร นายนพรัตน์ บรรลุสัน หัวหน้าคุ้ม
ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายสาธิต เต็มดวง เลขที่ ๑๙๙
๒.นายนพรัตน์ บรรลุสันต์ เลขที่ ๑๒๕

๖. คุ้ม วังน้ำเย็น นายวิระชัย โสภวัน หัวหน้าคุ้ม
ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายวิระชัย โสภวัน
๒.นางนี ใจทัด
๓.นางคำเติน ดีด

๗  ครัวเรือนต้นแบบ

นางนา วงวิเศษ เลขที่ ๗
นายจันทร์รวม แพงกัลยา เลขที่ ๑๒๑
นายเนือง ปาวะพรม เลขที่ ๙๖

ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายเทียม บรรลุสัน เลขที่ ๘๕
๒.นายสายันห์ ส่องแก้ว เลขที่ ๑๖๕
๓.นายภิรมย์ พุ่มเจริญ เลขที่ ๑๙๒

ครัวเรือนต้นแบบ
๑.นายกุล กุลวงค์ เลขที่ ๖๙
๒.นายวานิตย์ กุลวงค์ เลขที่ ๒๑๐
๓.นายสีธาตุ จำปาหอม เลขที่ ๙๕

๑๐.คุ้ม ประเสริฐสุข ครัวเรือนต้นแบบ ๓ ครัวเรือน ดังนี้
๑.นายราชันต์ จีนวงค์ เลขที่ ๙๗
๒.นายสมจิต บันลุสัน เลขที่ ๑๕๓

๑๑. คุ้มรุ่งอรุณ ครัวเรือนต้นแบบ ๓ ครัวเรือน ดังนี้
๑.นายอภินันท์ สวนงาม เลขที่ ๗๐
๒.นางบัวชมพู ปาวะพรม เลขที่ ๑๗๙
๓. ด.ต.ประยูรพงศ์ ภูศรีฐาน เลขที่ ๑๐๙


ข้อมูลด้านสังคม
            ประชากรบ้านป่าชาดนับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมีวัดสว่างอารมณ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนบ้านป่าชาด   การดูแลสุขภาพมีโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าชาด-ป่าไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ และ มี อสม.ดูแลสุขภาพประจำทุกครัวเรือน

แหล่งความรู้ / สถานศึกษา ให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพที่สามารถไปใช้บริการได้โดยสะดวก
๑.โรงเรียนบ้านป่าไร่ -ป่าชาด
๒.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบล (กศน.)
วัดสว่างอารมณ์
๓.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ
๔.ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน
๕.จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของแต่ละคุ้ม

การประกอบอาชีพ
          ส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนมันสำปะหลัง ทำไร่อ้อย ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ นอกจากจะประกอบอาชีพส่วนตัวแล้วยังมีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเลี้ยงกบ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มทอผ้า กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น รายได้เฉลี่ยประชากร ๔๓,๑๐๐ บาท/คน/ปี

               ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม สลับ หนอง คลอง บึง ห้วย ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปจัดอยู่ในภูมิอากาศที่เย็นสบาย จะมี 3 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศจะร้อนจัดประมาณ 2 เดือน คือเดือนมีนาคม -เดือนเมษายนของทุกปี ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยปานกลาง มีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้ง น้ำในห้วย หนอง คลองต่างๆ มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอในการทำการเกษตรฤดูแล้ง และมีการทำประปาหมู่บ้าน

อัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์เด่นของหมู่บ้าน

บ้านป่าชาด หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าไร่ เป็นหมู่บ้านอนุลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ที่สืบทอดมายาวนาน ที่โดดเด่นของหมู่บ้าน การทอผ้า และเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่คนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ จนสามารถเป็นต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

ผู้นำชุมชนที่สำคัญในหมู่บ้าน
๑.นายวีระ ใจทัด ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน
๒.นายภัลลภ แสงกัลยา ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง กรรมการ
๓.นายสมพงศ์ โคชขึง ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง กรรมการ
๔.นายสมพร ชัยจักร ผรส. กรรมการ
๕.นายทองมวน ศรีสุข สมาชิก.อบต.ป่าไร่ กรรมการ
๖.นายปรเมษฐ์ บรรลุสัน สมาชิก .อบต.ป่าไร่ กรรมการ
๗.นายนพรัตน์ บรรลุสัน หัวหน้าคุ้ม กรรมการ
๘.นายไกรศักดิ์ ชาลาราศี พรหมหม์ กรรมการ
๙.นายคร่อง ใจทัศน์ เจ้าปู่ตา กรรมการ
๑๐.นางแดง พาสว่าง ประธานกลุ่มอาชีพทอผ้า กรรมการ
๑๑.นายณัฐดนัย คณาชอบ หัวหน้าคุ้ม กรรมการ
๑๒.นายสิทธิชัย สุพรรณ หัวหน้ากลุ่มเยาวชน กรรมการ
๑๓.นายประสิทธิ ฉะฉาน อกม. กรรมการ
๑๔.นางสาวมุจรินทร์ อุณวงค์ อสม. กรรมการ
๑๕.นายวีระชัย โสภวัน หัวหน้าคุ้ม กรรมการ

บ้านป่าชาด หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าไร่ ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาหมู่บ้าน

๑.การดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

คนในหมู่บ้านได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่คนในหมู่บ้าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเอง

ในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน ด้วยการเริ่มด้วยการทำ
บัญชีรับ-จ่าย ในครัวเรือน ทุกครัวเรือน ทำให้ได้รู้ตัวเอง จึงเริ่มด้วยกิจกรรม ดังนี้
๑.กิจกรรมลดรายจ่าย เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา เป็ด ไก่ เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
๒. กิจกรรมเพิ่มรายได้ เช่น การทอผ้า การแปรรูปนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุนการผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้ ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง
๓. กิจกรรมการออม/ประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ
และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์สัจจะฯ สถาบันการเงินขนาดเล็กฯ ฯลฯ
๔. การอนุลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีวัฒนธรรมเรียนรู้ ที่มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ สู่รุ่นลูกหลาน เช่น การเลี้ยงเจ้าปู่ตา,บุญซำฮะบ้าน ,บุญกฐิน, บุญกุ้มข้าว, บุญไขประตูเล้า และมีคณะกองยาวของหมู่บ้าน
๕. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ
๖. การแบ่งปัน เอื้ออารี ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน สละสิ่งของแบ่งปัน เช่น พืชผัก
สวนครัว ของใช้ในครัวเรือน

๒.หมู่บ้านต้นแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งโดยคนชนชุมชน

๑ การประชุม/การจัดเวทีประชาคม
- การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
- การจัดประชาคมที่สำคัญ เช่น
๑) เรื่องการปรับปรุงทบทวนแผนชุมชน
๒) เรื่องการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้าน
๓) เรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔) เรื่องการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ
๒. มีธรรมนูญหมู่บ้านเป็นข้อตกลงปฏิบัติร่วมกัน
๓.หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน
ข้อมูลของหมู่บ้าน เช่น จปฐ. กชช ๒ ค ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลที่หมู่บ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ครบทุกขั้นตอน
๔. หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน
-หมู่บ้านมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผน การพัฒนากลุ่ม/องค์กร นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเสนอเวทีประชาคม และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน กำหนดแนวทาง แผนงานโครงการและงบประมาณ กำหนดในแผนชุมชน สามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง และได้มีการติดตามประเมินการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

๓.ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ - รัก - สามัคคี


ในรอบปี มีกิจกรรมที่จัดเพื่อส่วนรวมในหมู่บ้าน คือ
กิจกรรมการทอดผ้าป่าสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดิน ทุกวันที่ ๑๒ สิงหาคม
กิจกรรมธนาคารข้าว ทุกวันที่ ๕ ธันวาคม
กิจกรรมพัฒนาสิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน เช่น ต่อเติมศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทำความสะอาดถนน แหล่งน้ำ
การตัดแต่งต้นไม้ ป้ายต่าง ๆ ของหมู่บ้าน
๔) กิจกรรมการพัฒนาและซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลาวัด โบสถ์ ถนน
๕) กิจกรรมการปลูกป่า ปีละไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง เช่น (๑๒ สิงหาคม และ ๕ ธันวาคม)

๔.การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม

๑.คนในหมู่บ้าน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา ทุกวันพระ
๒. คนในหมู่บ้านปฏิบัติต่อกันด้วยหลักมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงออกด้วยท่าที ตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่น การไหว้ การขอโทษ การขอบคุณและอื่นๆ การช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน
๓ .คนในครัวเรือนมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล ยกย่องให้เกียรติ ลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นชัดเจน
เช่น การเคารพปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดา ผู้อาวุโส ของชุมชน

๕.การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน


- อสม. ในหมู่บ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุข มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ
ผู้พิการ และคนในชุมชน
โรงเรียนบ้านป่าชาด ร่วมกับชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการ รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อ

- บ้านป่าชาด หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีป่าชุมชน ที่เป็นแหล่งอาหารของคนบ้านป่าชาด ดังนี้
มีเนื้อที่ของป่าชุมชน ๖๐ไร่
ดอนปู่ตา ๑๐ ไร่
นองโป่งแดง ๘ ไร่
บ้านร้าง ๖ ไร่
หนองหัวลิง ๒๐ ไร่
กิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ
กิจกรรม การปลูกป่า
การปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณหมู่บ้าน

กองทุน / กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน ประกอบด้วย
ร้านกองทุนบ้านป่าชาด
คณะกรรมการ
1. นายทองม้วน ศรีสุข ประธาน
2. นางสาวมุจรินทร์อุณวงค์ รองประธาน
3. นางสาวธัญชนก คนไว กรรมการ
4.นางสาววริศรา จำปาหอม กรรมการ
5. นางสมปอง ศรีลาศักดิ์ กรรมการ
6. นางสาววิชุดา โสภวัน กรรมการ
7. นางสาวจิดาภา แดงบุตร กรรมการ
8. นางสาวอิศราภรณ์ โพสาราช กรรมการ
9. นางสาวปานสุดา อิ่มสุข กรรมการ
10. นายบังอร ส่องแก้ว กรรมการ
11. นายสิทธิชัย สุพรรณ กรรมการ
12. นางสาวเข็มพร คำพล กรรมการ
โดยเปลี่ยนคณะกรรมการทุกปีตามคุ้ม 11 คน จำนวนหุ้นทั้งหมด 3,108 หุ้น เป็นเงิน 310,800 บาท กำไร 496,923 บาท จำนวนสมาชิกทั้งหมด 184 ครัวเรือน
กองทุนแม่ของแผ่นดินตั้ง เมื่อปี 2557
ได้รับกองทุนพระราชทาน 8,000 บาทได้รับเงินบริจาค 2,500 บาท
คณะกรรมการกองทุนแม่
1. นายวีระ ใจทัด ประธาน
2. นายสมพร ชัยจักร รองประธาน
3. นายธนพงษ์โคชขึง กรรมการ
4. นายภัลลภ แพงกัลยา กรรมการ
5. นายสิทธิชัย สุพรรณ กรรมการ
6.นายธนพงษ์ แพงกัลยา กรรมการ
7.นางสาวนุจรินทร์อุณวงค์ กรรมการ
8.นางสาวทองใบ อุณวงค์ กรรมการ

กองทุนเงินล้าน
คณะกรรมการ
1.นายปราเมษฐ์ เกตกูล ประธาน
2.นายสุด อุ้มบุญ รองประธาน
3. นายสำรอง ใจทัศน์ กรรมการ
4. นางคำเติน ดีดวงพันธ์ กรรมการ
5.นางอรัญญา เนตรวงค์ กรรมการ
6.นางสมเสด็จ อินธิบุตร กรรมการ
7.นางหนูเวช โล่คำ กรรมการ
8.นางสาวธนกร บัวใหญ่ กรรมการ
9.นางนวลจันทร์ จันทรบูชา กรรมการ
10.นางสุมารี กุลวงค์ กรรมการ
11. นางสาวทัศมาลี สุวรรณชัยรม กรรมการ
จำนวนสมาชิก ๑๖๖ คน
โดยคณะกรรมการเปลี่ยนทุกปีตามทุกปี กองทุนเงินล้านบ้านป่าชาด อยู่ในระดับ A+
เงินทุนจากรัฐบาล 2,200,000 บาท
เงินทุน ธกส. 2,000,000 บาท
โครงการศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน
บ้านป่าชาดได้รับคัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง 30 คน ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเทพรัตน์ราชกุมารีสุดา
มีที่ตั้งศูนย์ อยู่ที่สาธารณะ หนองป่าแดง (ศูนย์เด็ก)

กลุ่มลาดยางบ้านป่าไร่
คณะกรรมการ
1.นาย แก้ว พันธปิว ประธาน
2.นายเงิน ห้วยขวาง รองประธาน
3.นายจำปี เรียงรัตน์ เหรัญญิก
4.นายปรเมษฐ์ เกตุกูล กรรมการ
5.นายวีระ ใจทัด กรรมการ
6.นาย คำกอง บุษหงส์ กรรมการ
7.นายหลอง โคชขึง กรรมการ
8.นายเติ่ง วรวิเศษ กรรมการ
9.นายจิตร ชาลีคำ กรรมการ
10.นายสมพงษ์โคชขึง กรรมการ
11.นายนพรัตน์ บรรลุสันต์ กรรมการ
12.นางสาวธัญชนก คนไว กรรมการ
13.นางสาวสุนิษา ใจตรง กรรมการ
14.นายบุญมี เรียงรัตน์ กรรมการ
ลาดยางมีสมาชิกทั้งหมด 216 คน

ระเบียบลานยาง
ผู้ประมูลลานยางพารา ต้องจ่ายให้ลานยาง กก. ละ 1 บาท โดยลานยาง แบ่งผลประโยชน์ ตามนี้ 1 บาท
1.คณะกรรมการ ร้อยละ 50
2.คืนสมาชิกลานยาง ร้อยละ 25
3.บริหารจัดการและสมทบลานยาง ร้อยละ 25
ลานยางพาราบ้านป่าไร่ มีเงินกลุ่มทั้งหมด 98,669.26 บาท

โครงการส่งเสริมปลูกข้าวพันธ์ดี เกษตรจังหวัดมุกดาหาร ข้าวหอมมะลิ 105 เกษตรกร 40 ราย เข้าร่วมโครงการ
งบประมาณ จากเกษตรจังหวัดมุกดาหาร
1.เมล็ดพันธุ์ข้าวมะลิ 105จำนวน 80 ถุง คนละ 2 ถุง
2.ผงโดโลไมล์ คนละ 500 กก.
3.ปุ๋ยชีวภาพ คนละ 750 กก.
4.ปุ๋ย คนละ 25 กก.
คณะกรรมการกองทุนปุ๋ย SMS
1.นายวีระ ใจทัด ประธาน
2.นายแก้ว พันธะปิว รองประธาน
3.นายธนพงศ์ โคชขึง เหรัญญิก
4.นายสมพร ชัยจักร เหรัญญิก
5.นายทองม้วน ศรีสุข เลขานุการ
6.นายคำกอง บุสหงส์กรรมการ
7.นายนพรัตน์ บรรลุสัน กรรมการ
8.นาย จำปี เวียงจันทร์ กรรมการ
9.นายปรเมษฐ์ เกตกูล กรรมการ
10.นายบรรจง เนตรวงค์ กรรมการ
11.นายสานี ใจทัศน์ กรรมการ
12.นายประเสริฐ แพงกัลยา กรรมการ
13.นางแดง พาสว่าง กรรมการ
14.นางประภาส โสภะวัน กรรมการ
15.นายเงิน ห้วยทราย กรรมการ
ข้อบังคับกองทุน
1.ทุกครัวเรือนต้องเป็นสภาวะกอง
2.ครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรม ในหมู่บ้าน เช่นการน่วมบริจาคเงิน ในงานบุญประจำปี
เป้าหมายของกองทุนปุ๋ยSML
ทุกครัวเรือนได้ปุ๋ย
สร้างความสามัคคีในหมู่บ้าน

ธนาคารข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนป่าชาด
บ้านป่าชาด หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
คณะกรรมการธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน
1.นายวีระ ใจทัด ประธาน
2.นายสมพร ชัยจักร รองประธาน
3.นายสิทธิชัย สุพรรณ เลขานุการ
4.นายสมพงษ์โคชสขึง เหรัญญิก
5.นายจิตร ชาลีคำ กรรมการ
6.นายชารี เนาวพันธ์ กรรมการ
7.นายณัฐดนัย คณาชอบ กรรมการ
8.นายนพรัตน์ บรรลุสันต์ กรรมการ
9.นายภัลลภ แพงกัลยา กรรมการ
10.นายประสิทธิ ฉะฉาน กรรมการ
11.นายทองม้วน ศรีสุข กรรมการ
12.นายวีระชัย โสภวัน กรรมการ
13.นายปรเมษฐ์ เกตุกูลกรรมการ
1.คุณสมบัติสมาชิก
1.1 มีภูมิสำเนาอยู่ตำบลป่าไร่
1.2 หุ้นแรกเข้า หุ้นละ 50 บาท ไม่เกิน 20 หุ้น
1.3 หนึ่งครอบครัว ไม่สมาชิก ได้ 1 คน
2.การจัดสรรผลกำไร
2.1 ตอบแทนกรรมการ ร้อยละ 30
2.2 เป็นหมุนเวียน ร้อยละ 30
2.3 ปันผลให้สมาชิกตามหุ้น ร้อยละ 30
2.4 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ร้อยละ 7
2.5 สาธารณะประโยชน์ ร้อยละ 3
งบประมาณได้รับจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกาฬสินธุ์ ปี 2559ดังนั้น เมล็ดพันธุ์ กข.6 จำนวน 200 ถุงๆ ละ 25 กิโลกรัม รวม 5,000 บาท ราคา กิโลกรัมละ 23 บาท รวมเป็นเงิน 115,000 บาท
กระสอบเปล่า 1,000 ใบ , ผ้าแหย่งเขียว 10 มัด


๘.การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-เน้นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทุกด้าน จัดให้มีการกฎกติกาหมู่บ้านเป็นบรรทัดฐานการรักษาความสงบเรียบร้อยเบื้องต้น
-มีการกระจายการบริหารจัดการเป็นกลุ่มย่อยโดยจัดแบ่งเป็นคุ้มมีเวรยามรับผิดชอบ ใส่ใจ ตรวจตรา
-การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ใช้นโยบาย แนวยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด
-ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีกิจกรรมขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ระดับจังหวัด



๙.การพัฒนาเด็ก เยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส

- เด็ก เยาวชน มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเล่นดนตรีพื้นเมือง
- มีการจัดสวัสดิการชุมชน
๑.เงินสาธารณประโยชน์จากค่าตอบแทนผลกำไรกองทุน
จะมอบสมทบ กิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ในหมู่บ้าน เช่น. มอบให้กับผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ กิจกรรมวันพ่อ วันเข้าพรรษา ฯลฯ
๒.กลุ่มออมทรัพย์กองทุนหมู่บ้าน มีจัดฌาปนกิจกองทุนหมู่บ้าน เสียชีวิต รายละ ๑,๐๐๐ บาท

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑.มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
๒.๓.มีความสามัคคี
๓.มีการทำกิจกรรมลดรายจ่ายและกิจกรรมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
๔.มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน
๕.มีการทำนุบำรุงพุทธศาสนา
๖.มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน

 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view