http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,528
เปิดเพจ84,896
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโพนสว่าง

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็น เป็นสุข”

บ้านโพนสว่าง  หมู่ที่  

­ตำบลดอนตาล  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร

...........................

คำขวัญ 

           สามัคคี  มีคุณธรรม นำพัฒนา    แสวงหาวิชาการ  ต่อต้านสิ่งเสพติด    ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติหมู่บ้าน

              บ้านโพนสว่าง เดิมชื่อ “บ้านโพนเซียงหวาง” เป็นชุมชนที่เรียกตนเองว่า “ผู้ไทกะเลิง” ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ มีครัวเรือนที่ตั้งถิ่นฐานในระยะแรก ๗ ครัวเรือน                                                                 ปัจจุบันชุมชนโพนสว่างมีจำนวน  ๘๙ ครัวเรือน แบ่งเป็น  ๕ คุ้ม  มีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านจนถึงปัจจุบันจำนวน ๑๐ คน พื้นที่ทั้งหมดของชุมชน จำนวน ๑,๐๐๐ ไร่                                                                   ตั้งบนพื้นที่โคก ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกด้านลำน้ำโขงซึ่งห่างออกไปประมาณ ๕ ก.ม. และห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร ๓๕  ก.ม.

ข้อมูลประชากร

         - จำนวน ครัวเรือน          ๘๙ ครัวเรือน

         -  ประชากรทั้งสิ้น            ๒๖๑  คน

         -  ชาย  ๑๒๖ คน             หญิง  ๑๓๕ คน

 

การปกครอง   นายชินกฤต  โนรี  ผู้ใหญ่บ้าน                                                                                                    

        แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ คุ้ม  ประกอบด้วย

        ๑. คุ้มแสงอรุณ    หัวหน้าคุ้ม        นายสมพิศ  อุทธศรี       

        ๒. คุ้มหลักเมือง   หัวหน้าคุ้ม        นางชื่นจิตร  อุณวงค์     

        ๓. คุ้มเทพพิทักษ์  หัวหน้าคุ้ม        นางอัญธิตา  ศรีลาศักดิ์  

        ๔. คุ้มยิ่งเจริญ     หัวหน้าคุ้ม        นางบุญชู  อุณวงค์        

        ๕. คุ้มศิริราฐพัฒนา       หัวหน้าคุ้ม          นายชินกฤต  โนรี                  

 

ครัวเรือนต้นแบบคุ้มแสงอรุณ ๓ ครัวเรือน ดังนี้

        ๑. นายทองสุข  คนไว

        ๒. นายบุญนำ  นาลงพรม

        ๓. นายกมล  โนรี

       ๔. นางกิตติพร  โนรี

 

ครัวเรือนต้นแบบคุ้มหลักเมือง ๓ ครัวเรือน ดังนี้

       ๑.นางประชัย  อุณวงค์

       ๒.นางไข่  บรรลุพร

       ๓.นางดาราวรรณ  บุทธิจักร

      

 ครัวเรือนต้นแบบคุ้มเทพพิทักษ์ ๓ ครัวเรือน ดังนี้

     ๑.นายทวี  ทองสินธุ

     ๒. นายอำนวย  ซามงค์

     ๓. นางเต็ม  ศรีลาศักดิ์

 

ครัวเรือนต้นแบบคุ้มยิ่งเจริญ ๓ ครัวเรือน ดังนี้

       ๑.นางบุญชู   อุณวงค์

      ๒.นายสมหมาย  ปาวงค์

      ๓. นางประภาศรี  อุณวงค์ 

ครัวเรือนต้นแบบคุ้มสิริราษฏร์ ๓ ครัวเรือน ดังนี้

๑.นางจีรนันท์  โนรี

๒.นางสุชาดา  โนรี

๓.นายเดิน  อุณวงค์

อาณาเขต                                                                                                                   

     -  ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ ๗  บ้านตาลรุ่ง                                                                                  

     -  ทิศใต้   ติดกับหมู่  ๙  บ้านโนนสีทอง                                                                              

     -  ทิศตะวันออก ติดกับ ม.๙ บ้านโนนสีทอง                                                                                    

     -  ทิศตะวันตก ติดกับ ม.๖ บ้านนาม่วง

การประกอบอาชีพ                                                                                            

             ส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ  นอกจากจะประกอบอาชีพส่วนตัวแล้วยังมีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเลี้ยงกบ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มทอผ้า กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น

         รายได้เฉลี่ยประชากร    ๑๐๑,๐๙๔  บาท/คน/ปี               

ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

              : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม สลับ หนอง  คลอง บึง ห้วย ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปจัดอยู่ในภูมิอากาศที่เย็นสบาย จะมี 3 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศจะร้อนจัดประมาณ 2 เดือน คือเดือนมีนาคม -เดือนเมษายนของทุกปี ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยปานกลาง มีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้ง น้ำในห้วย หนอง คลองต่างๆ มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอในการทำการเกษตรฤดูแล้ง และมีการทำประปาหมู่บ้าน

อัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์เด่นของหมู่บ้าน

           บ้านโพนสว่าง หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนตาล เป็นหมู่บ้านอนุรักษณ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดมายาวนาน ที่โดดเด่น ของหมู่บ้านการทอผ้าย้อมคราม  ลำผญาพื้นบ้าน และเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่คนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ จนสามารถเป็นต้นแบบ เป็นแหล่งศึกษาดูงานในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ

ข้อมูลด้านสังคม

          แหล่งความรู้ / สถานศึกษาให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพที่สามารถไปใช้บริการได้โดยสะดวก

            ๑. โรงเรียนบ้านโพนสว่าง 

            ๒. วัดเทพชุมนุม

            ๓. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านโพนสว่าง

            ๔. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

            ๕. จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

       ผู้นำชุมชนที่สำคัญในหมู่บ้าน

        ๑. ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายชินกิฤต   โนรี   บ้านเลขที่ ๓๒   อายุ  ๔๘ ปี  จบการศึกษา  ปริญญาตรี

        ๒. ผู้ช่วย ชื่อนางกรม  โนรี  บ้านเลขที่ ๑๖  อายุ ๔๐ ปี  จบการศึกษา  ม. ๖   

        ๓. ผู้ช่วย ชื่อนายวิเชียร  ไวยะพันธ์  บ้านเลขที่ ๑๑๖  อายุ ๔๘  การศึกษา  ม.๖

       ๔. ผู้ช่วย พ ร ส ชื่อ นายทองสุข    คนไว  บ้านเลขที่ ๓๔  อายุ  ๔๙  การศึกษา  ป.๔

       ๕. ประธานกองทุนหมู่บ้าน ชื่อ นาย ฤทธิ์   โนรี บ้านเลขที่ ๕๘ อายุ ๕๘ ปี การศึกษา ม.๓

       ๖. ประธาน กพสม. ชื่อ นางสุชาดา  โนรี  บ้านเลขที่ ๓๖ อายุ  ๕๑ ปี การศึกษา ม.๓

       ๗. ประธานประชาคมหมู่บ้านชื่อ นายสมหมาย  ปาวงค์ บ้านเลขที่ ๗๖ อายุ ๔๓ ปี การศึกษา ปวส.

       ๘. อช. ชื่อ นางสุชาดา  โนรี  บ้านเลขที่ ๑๔  อายุ ๕๓ ปี  การศึกษา ม.๖

       ๙. อช. ชื่อ นางดาราวรรณ  บุทธิจักร  บ้านเลขที่ ๓๒  อายุ ๔๖ ปี การศึกษา  ม.๓

       ๑๐. อช. ชื่อ นายวินิจ  คำพา  บ้านเลขที่ ๕๒ อายุ ๔๙ ปี การศึกษา ม.๖

       ๑๑. อช. ชื่อ  นายสมาน  จันทพันธ์  บ้านเลขที่ ๓๖  อายุ ๕๓ ปี การศึกษา ม.๓

       ๑๒. อ.ส.ม. ชื่อนางคูณ  มีทรัพย์     บ้านเลขที่ ๕๕ อายุ ๔๖ ปี  การศึกษา  ป.๖

       ๑๓. อ.ส.ม ชื่อนางทองเพ็ญ  ศรีลาศักดิ์ บ้านเลขที่  ๗๕  อายุ ๖๑ ปี การศึกษา ป.๔

       ๑๔. อ.ส.ม.ชื่อนางรัชนี   โยธา  บ้านเลขที่  ๓๔ อายุ ๓๘ ปี การศึกษา ป.๔

       ๑๕. อ.ส.ม.ชื่อนางจีรนันท์  โนรี    บ้านเลขที่  ๓๘ อายุ ๓๙ ปี การศึกษา ป.๖  

        ๑๖. ผู้เทนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  นางสุชาดา  โนรี  บ้านเลขที่ ๑๔  อายุ ๕๓ ปี  การศึกษา ม.๖

      

       บ้านโพนสว่าง หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนตาล ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาหมู่บ้าน

         ๑. การดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

             คนในหมู่บ้านได้รับการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ยอมรับและนำหลักการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต   หมู่บ้านจัดให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่คนในหมู่บ้าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การสาธิตกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ เพื่อการพึ่งตนเองในระดับครัวเรือน นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปปรับใช้ในครัวเรือน  ด้วยการเริ่มด้วยการทำบัญชีรับ-จ่าย ในครัวเรือน ทุกครัวเรือน ทำให้ได้รู้ตัวเอง จึงเริ่มด้วยกิจกรรม ดังนี้

              ๑.  กิจกรรมลดรายจ่าย  เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา เป็ด ไก่  เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน การผลิตปุ๋ยชีวภาพ  

              ๒. กิจกรรมเพิ่มรายได้  เช่น การทอผ้า การแปรรูปนาผลิตภัณฑ์   กิจกรรมเสริมรายได้ลดต้นทุนการผลิตในกิจกรรมของครัวเรือน เลือกใช้วิชาการ เครื่องมือที่สามารถเรียนรู้  ใช้งานได้เหมาะสมกับกิจกรรมและไม่กระทบกับฐานะทางเศรษฐกิจ สำหรับช่วยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างผลผลิตและผ่อนแรง

              ๓. กิจกรรมการประหยัด มีการแบ่งรายได้เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆและสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่างๆ ของชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์สัจจะฯ สถาบันการเงินขนาดเล็กฯ ฯลฯ

             ๔. กิจกรรมการเรียนรู้ การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานการอาชีพที่ทำประจำวัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครัวเรือนที่มีกิจกรรม อาชีพคล้ายกัน เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและเพิ่มประสิทธิภาพ  เช่น การทอผ้า การเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยหมักใว้ใช้เองในครอบครัว                                        

             ๕. กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้วยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบริเวณบ้านให้สะอาด เรียบร้อยป้องกันการเกิดโรคระบาด  ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชพันธุ์ไม้ที่ครัวเรือนต้องการ   รวมทั้งเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมอยู่เสมอ

             ๖. การแบ่งปัน เอื้ออารี ทั้งกับคนในครัวเรือนและเพื่อนบ้าน สละสิ่งของแบ่งปัน เช่น พืชผักสวนครัว  ของใช้ในครัวเรือน        

         จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรผสมผสาน

             -  จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนนายประสิทธิ์  โนรี

                 - นายสมหมาย  ปาวงค์

                 - นายกมล  โนรี

๒.หมู่บ้านต้นแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งโดยคนชนชุมชน                  

           ๑. การประชุม/การจัดเวทีประชาคม

               - การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

               - การจัดประชาคมที่สำคัญ เช่น

                  ๑) เรื่องการปรับปรุงทบทวนแผนชุมชน

                   ๒) เรื่องการจัดกิจกรรมในวันสำคัญและกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้าน

                   ๓) เรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

                   ๔) เรื่องการจัดกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ

           ๒. มีธรรมนูญหมู่บ้านเป็นข้อตกลงปฏิบัติร่วมกัน 

           ๓.หมู่บ้านมีระบบฐานข้อมูลชุมชน

               ข้อมูลของหมู่บ้าน เช่น จปฐ. กชช ๒ ค   ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลที่หมู่บ้านที่จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์หมู่บ้าน/ชุมชนมีกระบวนการจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ครบทุกขั้นตอน

           ๔. หมู่บ้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแผนชุมชน

               - หมู่บ้านมีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนชุมชนแผน การพัฒนากลุ่ม/องค์กร  นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเสนอเวทีประชาคม และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน กำหนดแนวทาง แผนงานโครงการและงบประมาณ กำหนดในแผนชุมชน สามารถนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง และได้มีการติดตามประเมินการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

 ๓.ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้  - รัก - สามัคคี

              ในรอบปี มีกิจกรรมที่จัดเพื่อส่วนรวมในหมู่บ้าน คือ

              ๑) กิจกรรมการทอดผ้าป่าสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดิน ทุกวันที่ ๑๒ สิงหาคม

              ๒) กิจกรรมธนาคารข้าว ทุกวันที่ ๕ ธันวาคม

              ๓) กิจกรรมพัฒนาสิ่งสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน เช่น ต่อเติมศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทำความสะอาดถนน  แหล่งน้ำ  การตัดแต่งต้นไม้  ป้ายต่าง ๆ ของหมู่บ้าน 

             ๔) กิจกรรมการพัฒนาและซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลาวัด โบสถ์  ถนน 

             ๕) กิจกรรมการปลูกป่า ปีละไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง เช่น (๑๒ สิงหาคม และ ๕ ธันวาคม) 

๔.การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม          

             ๑. คนในหมู่บ้าน ได้แสดงออกถึงความศรัทธาในหลักปฏิบัติของศาสนา เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อการก่อเกิดความเข้าใจในคำสอนของศาสนา สร้างความเชื่อและศรัทธาเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เหมาะสมกับค่านิยมของสังคม เช่น การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น หรือกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนา ทุกวันพระ  

             ๒. คนในหมู่บ้านปฏิบัติต่อกันด้วยหลักมนุษยสัมพันธ์ เคารพยกย่อง ให้เกียรติ แสดงออกด้วยท่าที     ตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นหรือตามมารยาทไทย เช่น การไหว้ การขอโทษ การขอบคุณและอื่นๆ การช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งชุมชน

             ๓ .คนในครัวเรือนมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เกื้อกูล ยกย่องให้เกียรติ ลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นชัดเจนเช่น การเคารพปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดา ผู้อาวุโส ของชุมชน

 ๕.การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

             - อสม. ในหมู่บ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุข มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชน ดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ และคนในชุมชน

             -  โรงเรียนบ้านโพนสว่าง ร่วมกับชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการ รณรงค์การป้องกันโรคติดต่อ

   ๖.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

          - ชาวบ้านโพนสว่าง มีการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยการปั่นจักรยานในการไปมาหาสู่กันในหมู่บ้าน

          - มีกิจกรรมการปลูกป่าในที่สาธารณประโยชน์ในวันสำคัญ ต่างๆ เช่น วันพ่อ

          - คนในชุมชนร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ในวันสำคัญต่างๆ

   ๗.การพัฒนาชุมชน กลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน

 

     กองทุน / กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

     ๑.  กองทุนหมู่บ้าน    จำนวนเงินทุน  ๒,๗๕๕๖๘๒ บาท    จำนวน สมาชิก  ๑๖๗ คน

     ๒. กลุ่มออมทรัพย์สัจจะ            จำนวนเงินทุน  ๗๕๐,๕๑๕ บาท      จำนวนสมาชิก  ๑๖๗ คน

     ๓. กลุ่มการเงินขนาดเล็ก            จำนวนเงินทุน  ๑,๓๒๙,๐๐๐ บาท      จำนวนสมาชิก   ๑๘๔  คน

     ๔. กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์         จำนวนเงินทุน     ๘,๕๐๐ บาท       จำนวนสมาชิก   ๑๘๔  คน

     ๕  กองทุนแม่ของแผ่นดิน           จำนวนเงินทุน  ๒๙๙,๐๐๐ บาท    จำนวนสมาชิก      ๘๔  คน

     ๖.  กลุ่มผู้สูงอายุ                      จำนวนเงินทุน    ๑๐,๐๐๐  บาท     จำนวนสมาชิก     ๔๐   คน

     ๗. ธนาคารข้าว                        จำนวนเงินทุน  ๑๕,๐๐๐   บาท     จำนวนสมาชิก    ๘๑ ครัวเรือน

    ๘. กลุ่มทอผ้าย้อมคราม               จำนวนเงินทุน  ๑๕,๐๐๐ บาท   จำนวนสมาชิก ๑๒ คน

 ๘.การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน     

      - เน้นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทุกด้าน จัดให้มีการกฎกติกาหมู่บ้านเป็นบรรทัดฐานการรักษาความสงบเรียบร้อยเบื้องต้น

      - มีการกระจายการบริหารจัดการเป็นกลุ่มย่อยโดยจัดแบ่งเป็นคุ้มมีเวรยามรับผิดชอบ ใส่ใจ ตรวจตรา

      - การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ใช้นโยบาย แนวยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด

      - ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีกิจกรรมขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ระดับจังหวัด                    

 ๙.การพัฒนาเด็ก เยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาส

     - เด็ก เยาวชน มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเล่นดนตรีพื้นเมือง

    - มีการจัดสวัสดิการชุมชน

       ๑.เงินสาธารณประโยชน์จากค่าตอบแทนผลกำไรกองทุนจะมอบสมทบ กิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ในหมู่บ้าน  เช่น. มอบให้กับผู้สูงอายุในวันสงกรานต์   กิจกรรมวันพ่อ วันเข้าพรรษา ฯลฯ

       ๒.กลุ่มออมทรัพย์ จะมีสวัสดิการให้กับสมาชิก ในการรักษาตัวในโรงพยาบาล คืนละ ๕๐ บาท ไม่เกิน ๑๐ คืน เสียชีวิตศพละ ๒,๐๐๐ บาท

    - การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีบ้านโพนสว่าง  มีสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีรวมกลุ่ม ประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริม จำนวน ๑๐ กลุ่ม  เงิน ๕๑๐,๐๐๐บาท   กลุ่มที่สามารถเป็นตัวอย่าง

ได้แก่กลุ่มเลี้ยงสุกร นางกรม โนรี ประธาน  กลุ่มเลี้ยงวัว  นางจีรนันท์  โนรี  ประธาน กลุ่ม

 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

           ๑. มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

           ๒. มีวิถีชีวิตแบบพอเพียงมาแต่ดั้งเดิม

           ๓. มีความสามัคคี

           ๔. มีการทำกิจกรรมลดรายจ่ายและกิจกรรมเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

           ๕. มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน 

           ๖. มีการทำนุบำรุงพุทธศาสนา

           ๗. มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view