http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,039
เปิดเพจ84,238
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ค่านิยม

สร้างเอกภาพความสำเร็จขององค์การ

ค่านิยม พฤติกรรมกลุ่ม

และ วัฒนธรรมองค์การ

ค่านิยมของ พช.

          กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2505 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2552 ให้มีอำนาจเกี่ยวกับ”การพัฒนาชนบท เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน ในท้องถิ่นต่างๆ”

          ตั้งแต่ปี 2505 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 48 ปีแล้ว กรมการพัฒนาชุมชนได้ปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ ยึดหลักการพัฒนาชุมชน ในการสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน เป็นแนวคิดและแนวทางอย่างมั่นคงเสมอมา

          เพื่อ ให้ค่านิยมซึ่งเป็นเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจที่จะนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมกลุ่มซึ่งจะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์การ ที่มีความสำคัญในการพัฒนาองค์การ กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้ระดมความคิดจากข้าราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อกำหนดค่านิยมของชาวพัฒนาชุมชน 6,799 คน ทั่วประเทศ ประกอบด้วย นักวิชาการ พัฒนาการอำเภอ โดยเฉพาะพัฒนากร ผู้ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มากที่สุด ได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

ค่านิยมของ พช. มีด้วยกัน 6 ตัวชี้วัด  ABC DEF

          A  Appreciation ชื่นชม หมายถึง การตระหนัก เข้าใจ ชื่นชมยินดี ยอมรับนับถือ ยกย่องให้เกียรติในคุณค่า และความสำคัญของผู้อื่น

            B   Bravery กล้าหาญ หมายถึง ความกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่ออันตรายหรือความยากลำบาก หรือสถานการณ์ยุ่งยากไม่สบายใจ

          C  Creativity สร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ด้วยความคิดของตัวเองที่ไม่ธรรมดา

            D   Discovery ใฝ่รู้ หมายถึง การใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสาร ความรู้ สถานที่ และวัตถุต่างๆ เป็นครั้งแรก

          E   Empathy เข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด หรือประสบการณ์ของผู้อื่น “โดยการเอาใจเราไปใส่ใจเขา” จินตนาการว่า หากอยู่ในสถานการณ์นั้นจะเป็นเช่นไร

            F  Facilitation เอื้ออำนวย หมายถึง การทำให้ง่าย การทำให้งานนั้นเป็นไปได้ การเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่นทำงานในวิถีทางที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง 

          เพื่อ ให้ค่านิยมองค์การของ พช. ABC DEF สามารถวัดได้เชิงพฤติกรรมจึงได้สร้างเกณฑ์วัดความก้าวหน้าเชิงพฤติกรรมตามค่านิยมออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับมีเกณฑ์ชี้วัด 2 ตัว

          1) ระดับพื้นฐาน เป็นพฤติกรรมที่สามารถทำได้โดยปกติในวิถีชีวิตประจำวัน เป็นพฤติกรรมพื้นฐาน ซึ่งสามารถนำไปสู่พฤติกรรมใน ระดับท้าทาย

          2) ระดับท้าทาย เป็นพฤติกรรมที่ก้าวหน้ากว่าระดับพื้นฐาน ต้องใช้ความกล้า ต้องมีการเสริมสร้างฝึกฝนให้เป็นนิสัย เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมใน ระดับต้นแบบ

          3) ระดับต้นแบบ เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์สูงสุดที่จะให้เกิด เพื่อนำไปสู่ค่านิยมที่พึงประสงค์แต่ละตัวสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น

ชื่นชม : การตระหนัก เข้าใจ ชื่นชมยินดี ยอมรับนับถือ ยกย่องให้เกียรติในคุณค่า และความสำคัญของผู้อื่น

    เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) ทักทาย สวัสดี ยกมือไหว้ ยิ้มแย้มแจ่มใส

          2) มีปิยะวาจา กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไร ตามโอกาสให้เป็นนิสัย

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น

          2) ยกย่องชมเชยความรู้ความสามารถของผู้อื่น

     เกณฑ์ชี้วัดระดับต้นแบบ

          1) แสดงออก พูด คิด ทำ เชิงสร้างสรรค์

          2) เป็นแบบอย่างของผู้ร่วมงาน/ทีมงานที่ดี

กล้าหาญ : ความกล้าหาญไม่เกรงกลัวต่ออันตรายหรือความยากลำบาก หรือสถานการณ์ยุ่งยากไม่สบายใจ

     เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

          2) ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

    เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) ยอมรับความคิดเห็น ข้อวิพากษ์ ข้อวิจารณ์ของผู้อื่น

          2) รับผิดชอบต่อผลงาน และผลของการกระทำของตนเอง

    เกณฑ์ชี้วัดระดับต้นแบบ

          1) เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

          2) กล้าปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

สร้างสรรค์ :   ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ด้วยความคิดของตัวเองที่ไม่ธรรมดา

     เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) พัฒนาและปรับปรุงงานที่รับผิดชอบอยู่เสมอ

          2) แสดงความคิดเห็นใหม่ๆในการทำงาน

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) นำความคิดมาพัฒนางาน และเสนอผลงานให้แตกต่างและดีกว่าเดิม

          2) วิจัยและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) มีนวัตกรรมในการทำงาน

          2) เป็นตัวอย่างการส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงานคิด ริเริ่มสร้างสรรค์

 ใฝ่รู้ : การใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสาร ความรู้ สถานที่ และวัตถุต่างๆ เป็นครั้งแรก

     เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

          2) ชอบตั้งคำถาม

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) สามารถนำความรู้มาพัฒนางานได้

          2) ชอบค้นคว้าหาความรู้ใหม่

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) การเรียนรู้ และพัฒนางาน และตนเองอย่างต่อเนื่อง

          2) มีผลงานจากการนำความรู้มาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

เข้าใจ  : ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด หรือประสบการณ์ของผู้อื่น “โดยการเอาใจเราไปใส่ใจเขา” จินตนาการว่า หากอยู่ในสถานการณ์นั้นจะเป็นเช่นไร

      เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) เป็นผู้ฟังที่ดี

          2) รับรู้เรื่องราวต่างๆอย่างมีเหตุผล

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) ยอมรับความแตกต่างของบุคคล

          2) รู้ และ เข้าใจอารมณ์ และ ความรู้สึกของผู้อื่น

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเข้าอกเข้าใจอย่างมีเมตตา

          2) ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ

เอื้ออำนวย การทำให้ง่าย การทำให้งานนั้นเป็นไปได้ การเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่นทำงานในวิถีทางที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง

     เกณฑ์ชี้วัดระดับพื้นฐาน

          1) ให้โอกาสผู้อื่นในการคิดและตัดสินใจ ทำให้งานของผู้อื่นง่ายขึ้น

          2) ทำให้งานของผู้อื่นง่ายขึ้น เป็นไปได้มากขึ้น

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) ทำให้การทำงานของผู้อื่นมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล

          2) เป็นแบบอย่างของผู้เอื้ออำนวย

     เกณฑ์ชี้วัดระดับท้าทาย

          1) วางตัวให้เหมาะสมตามกาลเทศะ

          2) มีทักษะในการสื่อสารให้บุคคลอื่นเข้าใจและปฏิบัติได้

ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การ : CDD WORK SMART 

อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ค่านิยม

กิจกรรมที่ดำเนินการ (ระบุเชิงปริมาณและคุณภาพ)

A – Appreciation : ชื่นชม ชื่นชมยินดียอมรับนับถือผู้อื่น

ร่วมแสดงความยินดียกย่องชมเชยในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับเชิญจากส่วนราชการอื่นๆ ด้วยความเต็มใจ และน้อมรับกิจกรรมที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบและดำเนินการอย่างเต็มความกำลังสามารถ

B - Bravery : กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่ออันตราย

กล้าแสดงความคิดเห็นและเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ยกตัวอย่างเช่น ได้รับคำสั่งให้เป็นคณะทำงานตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล  สามารถร่วมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษากับคณะกรรมการหมู่บ้านในการจัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ

C - Creativity : สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่

มีความคิดริเริ่มในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ระดับอำเภอ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆมากขึ้น

D – Discovery : ใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสารความรู้

ใฝ่หาความรู้จากการศึกษาดูงาน จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ  เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาชุมชน

E - Empathy : เข้าใจการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบกับกฎ ระเบียบ ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

F – Facilitation : เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่น

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนตาล ได้จัดสถานที่ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ รวมทั้งบริการน้ำดื่ม กาแฟ  และสามารถบริการด้านเอกสารด้วยความรวดเร็ว จนทำให้ประชาชนพึงพอใจ

S – Simplify : ทำให้ง่ายขึ้น ทำให้เข้าใจง่าย ทำให้ชัดเจน

ปฏิบัติงานด้วยความตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน สามารถอธิบายเหตุผลแก่ผู้มาติดต่อราชการอย่างรวดเร็วและชัดเจน

P - Practical : ความจริงเกี่ยวกับการกระทำตามความเป็นจริง

ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยความตั้งใจจริงและถูกต้องตามกฎ กติกา ระเบียบวินัย โดยไม่บิดเบือนความจริง

ค่านิยม

กิจกรรมที่ดำเนินการ (ระบุเชิงปริมาณและคุณภาพ)

A – Appreciation : ชื่นชม ชื่นชมยินดียอมรับนับถือผู้อื่น

ร่วมแสดงความยินดียกย่องชมเชยในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับเชิญจากสวนราชการอื่นๆ ด้วยความเต็มใจ และน้อมรับกิจกรรมที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบและดำเนินการอย่างเต็มความกำลังสามารถ

B - Bravery : กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่ออันตราย

กล้าแสดงความคิดเห็นและเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ยกตัวอย่างเช่น ได้รับคำสั่งให้เป็นคณะทำงานตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล

สามารถร่วมให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษากับคณะกรรมการหมู่บ้านในการจัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ

C - Creativity : สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่

มีความคิดริเริ่มในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ระดับอำเภอ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆมากขึ้น

D – Discovery : ใฝ่รู้ การค้นหา การค้นพบข่าวสารความรู้

ใฝ่หาความรู้จากการศึกษาดูงาน จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ  เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาชุมชน

E - Empathy : เข้าใจการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจประกอบกับกฎ ระเบียบ ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

F – Facilitation : เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้อื่น

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย ได้จัดสถานที่ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ รวมทั้งบริการน้ำดื่ม กาแฟ  และสามารถบริการด้านเอกสารด้วยความรวดเร็ว จนทำให้ประชาชนพึงพอใจ

S – Simplify : ทำให้ง่ายขึ้น ทำให้เข้าใจง่าย ทำให้ชัดเจน

ปฏิบัติงานด้วยความตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน สามารถอธิบายเหตุผลแก่ผู้มาติดต่อราชการอย่างรวดเร็วและชัดเจน

P - Practical : ความจริงเกี่ยวกับการกระทำตามความเป็นจริง

ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยความตั้งใจจริงและถูกต้องตามกฎ กติกา ระเบียบวินัย โดยไม่บิดเบือนความจริง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view