http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,033
เปิดเพจ84,232
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ข้อมูล จปฐ. 59

จปฐ.

ข้อมูลมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
                   ข้อมูล จปฐ. คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความเป็นมา
                   ปี 2528 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2528 ให้มีการดำเนินการโครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิต และประกาศใช้เป็นปี รณรงค์ คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.) (20 สิงหาคม 2528-31 ธันวาคม 2530) โดยใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน 8 หมวด 32 เครื่องชี้วัด เป็นเครื่องมือ ที่ใช้วัด คุณภาพชีวิตของคนไทยว่าอย่างน้อยคนไทยควรมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง และควรมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
                   ปี 2531 คณะกรรมการพัฒนาชุมชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบโครงการ ปีรณรงค์ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานต่อ ภายใต้ชื่องานว่า “งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)”
                   ปี 2532 กชช. มีมติเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2532 ให้กรมการพัฒนาชุมชนจัดเก็บข้อมูล จผฐ. เป็นประจำทุกปี
                   ปี 2533 เป็นต้นมา มีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ทุกครัวเรือนทั้งประเทศทุกปีและกรมการพัฒนาชุมชนทำการประมวลผลวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของคนไทย ในภาพรวมทั้งประเทศ
                   ปี 2535 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บอมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) เป็น 9 หมวด 37 ตัวชี้วัด
                   ปี 2540 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) เป็น 8 หมวด 39 ตัวชี้วัด
                   ปี 2544 มีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9( พ.ศ. 2545 – 2549 ) เป็น 6 หมวด 37 ตัวชี้วัด

                    คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)มีมติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ให้ความเห็นชอบให้ กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เขตเมือง (เทศบาล) มีการจัดทำเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. เขตเมือง เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในเขต กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลทุกแห่ง

หลักการ
                   (1) ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบถึงสภาพ ความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ว่าบรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ 
                   (2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ จปฐ. นับตั้งแต่การกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ตลอดจน การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
                   (3) ใช้ข้อมูล จปฐ. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่าง ๆ ของรัฐให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ อย่างจำกัด ได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพรวมทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

วัตถุประสงค์
                   เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป้นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ. เป็นเครื่องมือ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view