http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,545
เปิดเพจ84,917
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้านโคกสว่าง ปี 2560

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

(Village Development Report)

บ้านโคกสว่าง  หมู่ที่ 6 ตำบลเหล่าหมี

อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

*************************

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

๑.    ประวัติความเป็นมา

บ้านโคกสว่าง  หมู่ที่ 6 ตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 

เดิมย้ายมาจากประเทศลาว มาตั้งหมู่บ้านที่บ้านดงบัง เมื่อปี พ.ศ.2320 นานถึง 60 ปี มาแล้ว  จากนั้นย้ายมาตั้งหมู่บ้านครั้งที่ 2 อยู่ที่บ้านเหล่ากลาง เมื่อปี  พ.ศ.2380  และในขณะนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้นทำให้ผู้คนล้มตายลง จนทำให้ผู้คนต้องแยกย้ายกันเพื่อหาที่อยู่ใหม่ จากนั้นผู้นำหมู่บ้าน  คือ นายเพียรเสน คนยืน ได้พากันมาตั้งหมู่บ้านอยู่ที่  บ้านโคกสว่างของปัจจุบัน และเมื่อปี พ.ศ.2448  ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านโคกสว่าง  เป็นหมู่บ้านที่  12  ตำบลโพธิ์ไทร  อำเภอเมืองมุกดาหาร  จังหวัดนครพนม  มีผู้นำจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  รวม  7  คน  คือ

  1. นายเพียรเสน  คนยืน        ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2448-2460
  2. นายคำพ่อถ่อน  คนยืน      ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2460-2480
  3. นายยัง  คนยืน                ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2480-2505
  4. นายตา  คนยืน                ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2505-2533
  5. นายวิชัย  วงละคร            ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2533-2544
  6. นายโสภาพ  คนยืน           ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ. 2544-2554
  7. นายเดช  คนยืน              ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.2554-ปัจจุบัน

ผู้นำที่สำคัญในชุมชน

  1. ผู้ใหญ่บ้าน  นายเดช  คนยืน  อายุ  43  ปี  การศึกษาอนุปริญญาศิลปะศาสตร์
  2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นายธงชัย  คนยืน  อายุ  43  ปี  การศึกษา  ม.6
  3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นายทัศนเทพ  รักพิทักษ์กุล  อายุ  42 ปี  การศึกษา  ม.6
  4. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นายบุญเลิศ  คนยืน  อายุ  43 ปี การศึกษา  ม.6
  5. ส.อบต.นายทองเรือ  กมลรักษ์  อายุ  52 ปี การศึกษา ป.4
  6. สารวัตกำนัน  นายบุญสม  คนยืน  อายุ  49 ปี  การศึกษา  ม.6
  7. ประธาน  อสม. นายบุญ  คนยืน  อายุ  58  ปี  การศึกษา  ม.3
  8. ประธานกลุ่มสตรี  นางจิราวรรณ  รักพิทักษ์กุล  อายุ  39 ปี การศึกษา  ม.6
  9. ประธานกลุ่มผ้าหมักโคลน  นางจิราวรรณ คนยืน  อายุ 43 ปี การศึกษา ม.6

10. ผู้นำ อช. นางวารุณี  กันหารัตน์  อายุ 43 ปี การศึกษา  ม.6

11. หัวหน้าชุด  ชรบ. นายฉลอง  คนยืน  อายุ  54 ปี การศึกษา  ป.6

12. คณะกรรมการหมู่บ้าน  นายไพวัลย์  คนยืน  อายุ  44 ปี  การศึกษา ม.6

13. ตำรวจอาสา  นายวิโรจน์  คนยืน  อายุ 37 ปี การศึกษา ม.3

๒.  ที่ตั้ง/อาณาเขต/ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

๒.๑ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตำบลเหล่าหมี  มีพื้นที่ติดต่อ  ดังนี้

                    ทิศเหนือ         ติดกับ            บ้านนายอ

                    ทิศใต้            ติดกับ            บ้านเหล่าหมี

                    ทิศตะวันออก   ติดกับ            บ้านเหล่าหมี

                    ทิศตะวันตก     ติดกับ            บ้านป่าพะยอม

คุ้มต่างๆในหมู่บ้าน

  1. คุ้มดวงแก้วพัฒนา
  2. คุ้มเสรีชน
  3. คุ้มศรีวิไล
  4. คุ้มแสงไทย
  5. คุ้มเจริญสุข
  6. คุ้มเวฬุวัน
  7. คุ้มสว่างสุขสันต์
  8. คุ้มคำสันติราษฎร์
  9. คุ้มชัยณรงค์พัฒนา

2.2 ขนาดเนื้อที่หมู่บ้าน

บ้านโคกสว่าง  หมู่ที่ 6 ตำบลเหล่าหมี  มีพื้นที่ทั้งหมด  จำนวน  2,550  ไร่  แบ่งเป็น

- พื้นที่ทางการเกษตร  จำนวน  2,388  ไร่

- พื้นที่สาธารณะ  จำนวน  42  ไร่

- พื้นที่อยู่อาศัย  จำนวน  120  ไร่

๒.๓  ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

              มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำประหลัง ฯลฯ แหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนแม่น้ำ 1 สาย คือ ห้วยบังอี่ หนองบึง เช่น หนองขี้ผึ้ง หนองโคกหมาก

เกลือ  คลอง เช่น คลองคำกก คลองนาสะหมา

สภาพภูมิอากาศมีอากาศ

      มีสภาพอากาศร้อนจัดและหนาว             

2.4 จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 188 หลังคา จำนวนประชากรทั้งหมด 746 คน  แยกเป็น

 

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

1 เดือน ถึง 5 เดือน

0

0

6 เดือน ถึง 1 ปี 0 เดือน

3

0

3

1 ปี 1 เดือน – 2 ปี

3

1

4

3 ปี – 5 ปี

11

13

24

6 ปี – 12 ปี

๓4

31

65

13 ปี – 14 ปี

10

10

20

15 ปี – 18 ปี

29

18

47

19 ปี – 25 ปี

43

39

82

26 ปี – 34 ปี

๖5

42

107

35 ปี – 49 ปี

106

107

213

50 ปี – 59 ปี

56

42

98

60 ปี ขึ้นไป

42

41

83

รวม

402

344

746

 

หมายเหตุ : จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากการสำรวจนี้ อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านได้

                  (ข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน จปฐ.๒ ๒๕60)

๓.   สภาพเศรษฐกิจ

- ร้านค้าชุมชน จำนวน  1  แห่ง

-           ร้านขายของชำ จำนวน  2 แห่ง

- ร้านรับซ่อมรถจักรยานยนต์/จักรยาน  จำนวน  1 แห่ง

- โรงสีข้าวส่วนตัว  จำนวน  8 แห่ง

- ธนาคารข้าว/ฉางข้าว  จำนวน  1  แห่ง

- ร้านขายอาหารตามสั่ง  จำนวน  4  แห่ง

การประกอบอาชีพ

           *  เกษตรกรรม

๑.   ทำไร่        จำนวน     ๒๐     ครัวเรือน

๒.   ทำนา      จำนวน     188  ครัวเรือน

๓.   ทำสวน    จำนวน      ๘๐  ครัวเรือน

๔.   เลี้ยงสัตว์  จำนวน     ๒๐    ครัวเรือน

                    * อาชีพค้าขาย        จำนวน   6  ครัวเรือน

                    * อาชีพรับจ้างทั่วไป  จำนวน  10 ครัวเรือน

                    * อาชีพรับราชการ   จำนวน  12  ครัวเรือน

๕. รายได้ของประชากร

                   ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ย 51,973.67 บาท/คน/ปี

หมายเหตุ : (ข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน จปฐ.๒ ๒๕๕9)

๖. หน่วยงานราชการและบริการขั้นพื้นฐานของชุมชน

          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน  1  แห่ง

          โรงเรียนบ้านประถมศึกษา  จำนวน  1  แห่ง

วัด  จำนวน  1 แห่ง  ตั้งเมื่อ พ.ศ.2476

๗. ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

          * การมีไฟฟ้าใช้ของครัวเรือน

             - มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

          * โทรศัพท์สาธารณะ    จำนวน    0     แห่ง

          * แหล่งน้ำตามธรรมชาติ

             - บ่อปลาในนาข้าว   จำนวน    ๙๕   แห่ง

             - สระน้ำสาธารณะ    จำนวน    ๓     แห่ง

             - ลำห้วย               จำนวน    ๓     แห่ง

             - หนอง/บึงน้ำสาธารณะ จำนวน  ๓  แห่ง

             - ป่าชุมชน             จำนวน    ๑     แห่ง

             - ดอนปู่ตา             จำนวน    ๑     แห่ง

* แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

             - บ่อบาดาล            จำนวน    ๗     แห่ง

             - บ่อน้ำตื้น             จำนวน    -      แห่ง

๘. ผู้นำชุมชน กลุ่ม และองค์กรชุมชน

          ๘.๑ ผู้นำผ่ายปกครองท้องที่

                ๑. นายเดช  คนยืน                   ตำแหน่ง    ผู้ใหญ่บ้าน

                ๒. นายธงชัย  คนยืน       ตำแหน่ง    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

                ๓. นายทัศนเทพ  รักพิทักษ์กุล      ตำแหน่ง    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง                           

                 ๔. นายบุญเลิศ  คนยืน    ตำแหน่ง    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

          ๘.๒ ผู้นำฝ่ายท้องถิ่น

               ๑. นายทองเรือ  กมลรักษ์            ตำแหน่งสมาชิกสภา อบต.เหล่าหมี

                ๒. นายโสภาพ  คนยืน               ตำแหน่งสมาชิกสภา  อบต.เหล่าหมี

๘.๓ กลุ่มมวลชนในชุมชน

              ๑. อาสาพัฒนาชุมชน                  จำนวน     ๑    คน

              ๒. อปพร.                               จำนวน     7    คน

              ๓. ผู้ประสานพลังแผ่นดิน             จำนวน    ๒๕   คน

              ๔. อสพป.                               จำนวน     -     คน

              ๕. คณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.) จำนวน     5 คน

              ๖. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)    จำนวน   13    คน

              ๗. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) จำนวน ๑๓ คน   

     8. ช.ร.บ.                                จำนวน     15  คน

     9. ตำรวจอาสา                         จำนวน      2   คน

๘.๔ ข้อมูลกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน/กลุ่มทางสังคมและทุนทางสังคม

                ร้านค้าชุมชน สมาชิก 186 คน จำนวนเงิน 560,120.05 บาท

                โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) สมาชิก 53 คน จำนวนเงิน 280,000 บาท

                กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)  สมาชิก 188 คน จำนวนเงิน  3,000,000 บาท

                กองทุนแม่ของแผ่นดิน สมาชิก 120 คน  (อยู่ระหว่างรับเงินขวัญถุงพระราชทาน)

                กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าหมักโคลน ย้อมสีธรรมชาติ สมาชิก 9 คน จำนวนเงิน 10,000 บาท

               กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ทอผ้า สมาชิก 8 คน จำนวนเงิน  40,000 บาท

               กลุ่มผู้สูงอายุ  สมาชิก 20 คน

               กลุ่มแม่บ้าน สมาชิก 133 คน จำนวนเงิน 57,000 บาท

               กลุ่มปลูกกล้วย สมาชิก 5 คน จำนวนเงิน 25,000 บาท

               กลุ่มทำพานบายศรีสู่ขวัญ สมาชิก 10 คน

               กลุ่มจักสาน จำนวน สมาชิก  10 คน

               กลุ่มทอเสื่อ จำนวน 5 คน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน

          อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่นไทย

               ๑. นายธงชัย  คนยืน        เรื่อง ศาสนา

               ๒. นายเพอ  คนยืน          เรื่อง ศาสนา

               3. นายเสาร์  คนยืน         เรื่อง ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี

               4. นายหมุน  คนยืน        เรื่องศาสนา  วัฒนธรรมประเพณี

               5. นางคำตี คนยืน           เรื่องศาสนา 

          งานฝีมือต่างๆ เช่น ช่างไม้  ช่างปั้น ช่างแกะสลัก หัตถกรรม จักสาน ทอผ้า ได้แก่

               ๑.  นายแพง  คนยืน        เรื่อง จักสาน

               ๒.  นายธงชัย  คนยืน       เรื่อง ช่างศิลป์

               3. นางคำตี คนยืน           เรื่อง การทำพานบายศรี

               4. นางผัน คนยืน            เรื่อง การทำพานบายศรี

               5. นางทุมมี คนยืน          เรื่อง การทำพานบายศรี

               6. นางบุญเรือง  คนยืน     เรื่อง การทำพานบายศรี

               7. นางไมล์  คนยืน                   เรื่อง การทำพานบายศรี

               8. นางเจริญ  คนยืน        เรื่อง การทำพานบายศรี
               9. นางบุญเนือ คนยืน      เรื่อง การทำพานบายศรี

               10. นายแหวน  คนยืน     เรื่อง การจักสาน

               11. นายเรียบ  คนยืน      เรื่อง  การจักสาน

               12. นายหมุน  คนยืน      เรื่อง การจักสาน

               ด้านการเกษตรเช่น การเพราะปลูก ขยายพันธ์ การปรับใช้เทคโนโลยี ได้แก่

                ๑. นายธงชัย  คนยืน                 เรื่อง เกษตรผสมผสาน

                ๒. นายเดช  คนยืน                    เรื่อง  ยางพารา,มะเขือเทศ

                3. นางวีรนุช  พลแรงฤทธิ์           เรื่อง การปลูกมะนาว

          ด้านการบริการกลุ่ม ได้แก่

                ๑. นางเดือนเพ็ญ  ซาเสน           เรื่อง  กลุ่ม OTOP

               ๒. นางวารุณี  กันหารัตน์            เรื่อง  กลุ่มเลี้ยงวัวขุน

๑๐. อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน

เป็นหมู่บ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตเครื่องจักสาน  ทอเสื่อกก ทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง  ทอผ้าหมักโคลน

๑๑. วิถีชีวิตชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 6

                   การเป็นอยู่

ชาวบ้านโคกสว่างอยู่กันแบบอิงธรรมชาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประชากรในชุมชนล้วนแต่มีมิตรไมตรี โอบอ้อมอารี อยู่กันฉันท์พี่น้อง รักใคร่ปองดอง และมีความสามัคคีในชุมชน

การทำมาหากิน

ประชากรชาวบ้านโคกสว่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

การรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ

 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าหมักโคลน ย้อมสีธรรมชาติ  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก พัฒนาชุมชนอำเภอ อบจ. พานิชย์จังหวัด  กศน.อำเภอ เป็นเงิน 33,100 บาท จำนวนสมาชิก 9 คน ประกอบด้วย

  1. นางเดือนเพ็ญ  ซาเสน
  2. นางวรรณภา  ซาเสน
  3. นางวิราวรรณ ปัญญาดี
  4. นางสาวจิตรลดา คนยืน
  5. นางสาวทองคำ พรหมเสนา
  6. นางนันทนา  โพธิ์รัตน์
  7. นางสมพิศ คนยืน
  8. นางสาวธิดา ซาเสน
  9. นางสาววรรรณา สาขะสิงห์                                       

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ทอผ้า จำนวนสมาชิก 10 คน มีเงินทุน 10,000 บาท จำนวนสมาชิก 5 คน  ได้แก่

  1. นางวิภาวรรณ รักพิทักษ์กุล ประธาน
  2. นางขัน คนยืน                รองประธาน
  3. นางนิภาภรณ์  โคตรพัน     เลขานุการ
  4. นางฉันทะ โคชขึง             เหรัญญิก
  5. นางนิภาพรรณ คนยืน       กรรมการ

          กลุ่มจักสาน จำนวนสมาชิก  4 คน มีเงินทุน  10,000 บาท  ได้แก่

  1. นายแหวน  คนยืน  ประธานกลุ่ม
  2. นายแพง  คนยืน    รองประธานกลุ่ม
  3. นายเรียม คนยืน    กรรมการ
  4. นายเฮือน คนยืน    กรรมการ

ส่วนที่ 2 การประเมินสถานภาพของหมู่บ้านจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) และข้อมูลอื่นๆ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2559 มีตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด เพื่อวัดมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องชี้วัดเป็นเครื่องมือในกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ ซึ่งผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2559 ของบ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 6 ตำบลเหล่าหมี พบว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน ที่จะต้องแก้ไขในหมู่บ้านโคกสว่าง หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า (คนไทยมีงานทำละมีรายได้) และหมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย (คนไทยประพฤติดีและมีคุณธรรม) ดังนี้

ตัวชี้วัดที่

จำนวน (ครัวเรือน)

ครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์

คิดเป็น

ร้อยละ

วิเคราะห์สาเหตุที่

ตกเกณฑ์

แนวทางแก้ไข

ตัวชี้วัดที่ 24 ครัวเรือน มีการเก็บออมเงิน

188

1

85.1

คนในครัวเรือนไม่สวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่ยานยนต์

ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้เข้าใจถึงพิษภัยของการไม่ปฏิบัติตามกฎ

25. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)

757

112

14.80

บางครัวเรือนคนที่  ตกเกณฑ์เป็นสมาชิกครัวเรือน

รณรงค์ประชา สัมพันธ์แก้ไขปัญหาการดื่มสุรา โทษภัยของการดื่มสุรา

26. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

757

158

20.87

ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ของครัวเรือนที่อยู่ในวัยทำงาน

รณรงค์ประชา สัมพันธ์แก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ โทษภัยของการสูบบุหรี่

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ( กชช.2ค)

        ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านเป็นข้อมูลที่แสดงถึงระดับการพัฒนาหมู่บ้านของหมู่บ้านหนึ่งๆว่าอยู่ใน

ระดับใดเมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ โดยข้อมูล กชช.2ค มีตัวชี้วัดทั้งหมด 6 ด้าน 31 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการ

วิเคราะห์ข้อมูล กชช 2 ค หมู่บ้านโคกสว่าง หมู่ที่  6 พบว่า เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3 หรือเป็นหมู่บ้านก้าวหน้า รายละเอียดของข้อมูลปรากฏดังนี้    

      

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช. 2 ค ปี 2550

    ตัวชี้วัดที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของครัวเรือน คือ ตัวชี้วัดที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน

ตัวชี้วัด

วิเคราะห์สาเหตุที่ตกเกณฑ์

 

แนวทางแก้ไข

21 การเรียนรู้ของชุมชน

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ หลากหลาย ทำให้ไม่มีเวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่คนในชุมชน

 

25 การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน

 

 

ส่วนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาหมู่บ้านการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน โดยเทคนิค SWOT Analysis

          S = Strengths จุดแข็งของชุมชน (คือ สิ่งที่ดีดีในชุมชน) ได้แก่

          ๑.  มีผู้นำเข้มแข็ง

          ๒.  ประชากรในชุมชนให้ความร่วมมือและเสียสละ

          ๓.  มีพื้นที่จำนวนมากในการทำการเกษตร

          ๔. เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่

          ๕.  มีถนนหลายสายเชื่อมโยงกับหมู่บ้าน

          ๖.  มีลำห้วยหลายแห่ง

          ๗.  มีสระสาธารณะ

          W = Weaknesses จุดอ่อนของชุมชน (สิ่งที่บกพร่องในหมู่บ้าน) ได้แก่

๑.     ขาดถนนลาดยางเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน

๒.     ถนนเพื่อการเกษตรยังไม่ครอบคลุม

๓.     ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่ครอบคลุม

๔.      ขาดน้ำเพื่อทำการเกษตร

๕.      หมู่บ้านมีขนาดใหญ่ ทำให้งบประมาณที่จะมาพัฒนาไม่ทั่วถึง

๖.     ลำห้วยต่างๆ ภายในหมู่บ้านตื้นเขิน

O= Opportunities โอกาสของชุมชน (สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกของหมู่บ้านที่ส่งผลดีต่อหมู่บ้าน) ได้แก่

                   ๑.   มีหลายหน่วยงานเข้ามาพัฒนาในหมู่บ้าน

                   ๒.   มีงบประมาณจากแหล่งอื่นเข้ามาพัฒนาในหมู่บ้าน

                   ๓.   ผู้นำมีการศึกษาเรียนรู้และนำมาพัฒนาชุมชนอยู่เสมอ                

T = Threats ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน (สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกที่สงผลกระทบต่อหมู่บ้าน) ได้แก่

                   ๑.  การแพร่ระบาดของยาเสพติด

                   ๒.  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าของชุมชน

                   ๓.  การเลือกตั้งในท้องถิ่น

ความคาดหวังของคนในชุมชน

          ๑. อยากให้มีถนน คสล.รอบหมู่บ้าน

          ๒. ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

          ๓. ต่อเติมศาลาประชาคม

๔. ก่อสร้างรางระบายน้ำภายในหม่าบ้าน

สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข

๑.     ปัญหาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน

  1. ระบบความปลอดภัยตามสี่แยก  และตามถนนที่มีมุมอับต่างๆ ทำให้เสี่ยงอันตราย
  2. ไฟส่องสว่างสาธารณะตามแยกต่างๆยังไม่ทั่วถึง  ทำให้เสี่ยงอันตราย
  3. ประชาชนขาดน้ำประปาสาธารณะที่สามารถดื่มได้
  4. ถนนภายในหมู่บ้านเป็นแอ่งและไหล่ถนนต่ำทำให้มีน้ำขัง  การสัญจรไปมาลำบาก

๒. ปัญหาด้านเศรษฐกิจชุมชน

              1. ชาวบ้านเป็นหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นทุกปี

              2. ชาวบ้านประสบภัยน้ำท่วม  ภัยแล้ง ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาทุกปี

              3. ชาวบ้านขาดความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

              4. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมอาชีพเสริม

๓. ปัญหาด้านการเกษตร

     1. เด็กและเยาวชนยังขาดการปลูกฝังจากครอบครัว  เรื่องการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีทั้งต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  และต่อครอบครัว

     2. เด็กและเยาวชนยังขาดคุณธรรมในการดำรงชีวิต

     3. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมการเอาใจใส่ประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น

     4. ชาวบ้านยังขาดแหล่งการศึกษาหาความรู้  เนื่องจากยังไม่มีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน

     5. เยาวชนและชาวบ้านยังไม่ตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติด และอบายมุขทุกประเภท

          4. ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย

              1. เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยครั้ง

              2. ชาวบ้านยังขาดวินัยในเรื่องของการรักษาความสะอาดในครัวเรือน

              3. มีจำนวนเด็กฟันผุในเด็กกลุ่ม 3-5 ปี และนักเรียน

              4. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังด้านสุขภาพอนามัย

              5. ชาวบ้านยังขาดการป้องกันการเอาใจใส่ในโรคต่างๆ

              6. ชาวบ้านยังขาดวินัยในการรักษาความสะอาด สภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านของตนเองตามสถานที่สาธารณะ บ้าน  วัด  โรงเรียน

             7. ชาวบ้านยังขาดความรู้  ความระมัดระวัง จิตสำนึก ในการใช้สารเคมี (ยาฆ่าวัชพืช)

         5. ปัญหาด้านการเมืองการปกครอง

             1. ชาวบ้านยังไม่เข้าใจปกครองตามระบอบประชาธิปไตย  บทบาทหน้าที่ของตนเอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญดีพอ

             2. ชาวบ้านยังแบ่งฝ่าย  เลือกข้าง ไม่มีความสามัคคี

          6. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

             1. ในหมู่บ้านขาดคลองระบายน้ำ  ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขัง

             2. ชาวบ้านยังขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง

             3. ชาวบ้านยังขาดน้ำดื่มได้ในครัวเรือน

             4. ชาวบ้านยังประสบปัญหาเรื่องของสารเคมีที่ตกค้างตามที่ไร่ ที่นา

             5. ชาวบ้านบางส่วนยังประสบปัญหามลพิษเรื่องฝุ่นละอองในฤดูแล้งจากการสัญจรไปมา

เนื่องจากถนนบางส่วนยังเป็นถนนลูกรัง

 

7. ปัญหาด้านที่ดินทำกิน

  1. ครัวเรือนเป้าหมาย จปฐ. ยังขาดที่ดินทำกินในการเกษตร
    1. ปัญหาด้านอาชีพและรายได้
    2. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมในการประกอบอาชีพเสริม
    3. ชาวบ้านมีผลผลิตและรายได้ไม้แน่นอน
    4. ชาวบ้านประสบปัญหาเรื่องต้นทุนทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี
    5. ชาวบ้านยังขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพทางการเกษตร
      1. ปัญหาด้านการส่งเสริมสวัสดิการของคนในชุมชน
      2. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมการใส่ใจเรื่องการออม
      3. ผู้สูงอายุและคนพิการส่วนมากยังขาดการเอาใจใส่การดูแลจากบุตรหลานพี่น้องอย่าง

จริงจังทั้งทางด้านร่างกาย  วาจา และจิตใจ

  1. ผู้สูงอายุและคนพิการยังขาดการดูแลทางสุขภาพอนามัยอย่างใกล้ชิด
  2. ปัญหาอื่นๆ
    1. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมความร่วมมือในการทำงาน กิจกรรมกลุ่มร่วมกันเพื่อสร้าง

ความสามัคคี

  1. ชาวบ้านยังขาดการส่งเสริมความร่วมมือในกิจกรรมนันทนาการภายในหมู่บ้าน 

เพื่อสร้างความสุขทางจิตใจ  และความเป็นหนึ่งเดียวกัน

 

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

    วิสัยทัศน์

          มีความรัก ความสามัคคี มีคุณธรรม มีความสุข  มีความปลอดภัย

    เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน (หมู่บ้านในอนาคตที่อยากเห็น/อยากเป็น)

  1. ชาวบ้านมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจที่ดี
  2. ชุมชนมีความสามัคคีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  3. เป็นหมู่บ้านที่พึ่งพาตนเองได้ในการดำรงชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ชาวบ้านมีรายได้จากอาชีพเสริมทุกครัวเรือน
  5. เป็นหมู่บ้านที่มีระบบเศรษฐกิจดี

 

เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

  1. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
    1. ให้มีกระจกโค้งและมีไฟส่องสว่าง เพื่อให้

ชาวบ้านได้รับความปลอดภัยในการสัญจรไปมา

  1. ให้ชาวบ้านได้มีน้ำประปาดื่มได้อย่างทั่วถึง
  2. ถนนภายในหมู่บ้านไม่เป็นแอ่งและกว้างมากขึ้น

สะดวกในการสัญจรไปมา

 

  1. เสนองบประมาณติดตั้งกระจกโค้ง ไฟส่องแสงสว่าง  ระบบประปาดื่มได้ภายในหมู่บ้าน
    1. ปรับปรุงถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน

และถมไหล่ถนนเพื่อให้กว้างขึ้น

2. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1. ทำให้ชาวบ้านสามารถนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพและทำการเกษตรได้จริง

2.ทำให้ชาวบ้านสามารถนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพและทำการเกษตรได้จริง

3. ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

 

  1. อบรมให้ความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    1. ศึกษาดูงาน
    2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ
    3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมตามความถนัดของแต่ละบุคคล

 

 

17

28

ส่วนที่ 4 ผลจากการพัฒนาหมู่บ้าน

          -  ผู้นำเข้มแข็ง

          -  มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในชุมชน

          -  ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

          -  มีความสามัคคีในชุมชน

๑. ลดรายจ่าย

          -  ชุมชนรู้จักปลูกผักสวนครัวไว้กินเองเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

          -  ชุมชนน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพ

          -  ชุมชน ลด,ละ,เลิกอบายมุข และยาเสพติด

๒. เพิ่มรายได้

          -  ชุมชนพัฒนาอาชีพหลักของตนเอง เช่นการลดต้นทุนการผลิต

          -  ชุมชนพัฒนาอาชีพของตนเองในด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิต

          -  ชุมชนมีอาชีพเสริมจากเวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก

ผลการตามแผนพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2559 (ตุลาคม 2558-ก.ย.2559)

  1. แผนพัฒนาจากกองทุนหมู่บ้านงบประมาณ 500,000 บาท

จากการจัดทำเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมจัดทำเวทีประชาคม มติที่ประชุมจัดทำโครงการร้านค้าชุมชน ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองนกเขียน

  1. แผนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ   จัดทำร้านค้าชุมชนประชารัฐ
  2. แผนการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน  จัดทำผ้าป่าสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดินสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับอำเภอ จังหวัด จำนวนเงิน 10,000 บาท
  3. แผนการพัฒนาจากงบของประชาชนในพื้นที่
  4. แผนการพัฒนาจากส่วนราชการ ท้องถิ่น

          -  มีการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ชุมชนศาลาประชาคมอีสาน ให้มีความสะดวก และมีบริการข้อมูลข่าวสารครบถ้วน สามารถเป็นแบบอย่างแก่ครัวเรือนอื่นๆเช่น งบประมาณจากโครงการตำบลละ  5 ล้าน 195,000 บาท

- การก่อสร้างถนนงบประมาณตำบลละ 5 ล้าน จำนวนเงิน 480,000 บาท 

- โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ งบประมาณ 6,000 บาท จากกรมการพัฒนาชุมชน

- การอบรมการปลูกเห็ดนางฟ้า  งบประมาณโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 30,000 บาท

 

 

 

 

18

ส่วนที่ 5 แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

สิ่งที่ชาวบ้านในหมู่บ้านอยากเห็นและอยากให้เป็นในอนาคต

          1.  หมู่บ้านมีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกปลอดภัย  มีไฟฟ้าใช้ทั่วถึง และประปาใช้อย่างพอเพียง

          2.  มีแหล่งน้ำการเกษตรเพื่อใช้ในการเกษตรตลอดปี

          3.  มีอาชีพเสริมในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย เพื่อความอยู่ดีมีสุข

          4.  สถานที่หนองจาน และลานกีฬา ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกาย

  1. สถานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการปรับปรุงพัฒนา
  2. เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
  3. เป็นหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง  ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  4. สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และแหล่งน้ำ ได้รับการฟื้นฟู ปรับปรุงและอนุรักษ์
  5. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีถ้วนหน้า
  6. ประชาชนรู้กฎหมายภายใต้ระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง
  7. มีสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กด้อยโอกาส คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. อปพร.

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

1. หมู่บ้านมีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกปลอดภัย

 มีไฟฟ้าใช้ทั่วถึง และประปาใช้อย่างพอเพียง

- ก่อสร้างและขยายเขตประปาในหมู่บ้าน

 - การขยายเขตไฟฟ้าภายในหมู่บ้าน

 - ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม

2. มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการทำเกษตรตลอดปี

-  การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

3. มีอาชีพเสริมในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้และลด

รายจ่าย เพื่อความอยู่ดีมีสุข

-  ส่งเสริมกลุ่มอาชีพในชุมชน

-  ส่งเสริมการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของครัวเรือน

4. สถานที่หนองจาน และลานกีฬา ได้รับการปรับ ปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกาย   

-  พัฒนาสถานที่หนองจาน - ลานกีฬา

5. สถานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการปรับปรุงพัฒนา

-  ก่อสร้างรั้วและลานคอนกรีต

6. เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

- การพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  ประเพณีท้องถิ่น

7. เป็นหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติดและอบายมุข

-  การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

8.   สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และ แหล่งน้ำได้รับการฟื้นฟู  ปรับปรุง และอนุรักษ์

19

-  ส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุงและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

9. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีถ้วนหน้า

- ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย และการออกกำลังกายของครัวเรือนในชุมชน

10. ประชาชนรู้กฎหมายภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง

- ส่งเสริม  ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย

11. มีสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กด้อยโอกาสคณะกรรมการหมู่บ้าน  อสม. อปพร.

- ส่งเสริมสนับสนุนเบี้ยยังชีพ ทุนการศึกษา ค่าตอบแทน

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view