http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,315
เปิดเพจ84,654
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน

ความเป็นมา
      พ.ศ. 2512  ครม. มีมติรับหลักการเมื่อวันที่  28  มกราคม  2512  โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
      พ.ศ. 2512  ทดลองดำเนินการในจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์  รวม  100  คน
      พ.ศ. 2515  ขยายการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนออกไปทุกจังหวัด  (70  จังหวัดในขณะนั้น)
      พ.ศ. 2519  ขยายการดำเนินงานออกไปทุกตำบลที่เปิดเขตพัฒนา
      พ.ศ. 2525  ให้คัดเลือกอาสาพัฒนาชุมชนที่เป็นสตรีเพิ่มขึ้น  หมู่ละ  1  คน  รวมเป็น อช. หมู่บ้านละ  2  คน  ครบทุกหมู่บ้าน
                      ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมอาสาพัฒนาชุมชน  และจัดตั้งสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย  จดทะเบียนเมื่อวันที่  30  กันยายน  2542  ที่ตั้งศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนาชุมชน  ตำบลสาริกา  อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
      พ.ศ. 2547  ใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2547
                      เพิ่มจำนวน อช. หมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 4 คน  และ ผู้นำ อช. ตำบลละ 2 คน โดยคำนึงถึงสัดส่วนชายหญิง  ใกล้เคียงกัน  โดยผู้นำชุมชนได้รับค่าตอบแทนปีละ  4  งวด  (รอบไตรมาส)  งวดละ  500  บาท/คน  

ภารกิจตามนโยบายที่กรมการพัฒนาชุมชนมอบหมาย
      1.  งานด้านเศรษฐกิจ
      2.  งานด้านสังคม
      3.  งานด้านสิ่งแวดล้อม

สิทธิและหน้าที่ของ อช. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
      -กระตุ้นให้องค์กรประชาชนรู้สภาพปัญหาของหมู่บ้าน  และสามารถวางแผนและแก้ปัญหาได้เอง  รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง  และเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาหมู่บ้านของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      -ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา  โดยเป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน  กลุ่มสตรี  กลุ่มอาสาสมัคร  ตลอดจนองค์กรประชาชน  และกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ  
      -ช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน  โครงการ  หรือกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน
      -เป็นผู้ประสานระหว่างองค์กรประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ  องค์กรเอกชนหรือองค์กรอื่นๆ
      -ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่เวทีประชาคม  คณะกรรมการหมู่บ้าน  องค์การบริหารส่วนตำบล  หรือทางราชการมอบหมาย

สิทธิและหน้าที่ของผู้นำ อช. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
      -มีหน้าที่เช่นเดียวกับ อช. และ
      -เป็นผู้ประสานวานระหว่าง อช. ในตำบล
      -เป็นผู้แทนของ อช. ในกิจกรรมต่างๆ  ที่ได้รับมอบหมาย

ทะเบียนรายชื่อผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ประจำปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑
ที่ ชื่อ - สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตำบล อำเภอ หมายเหตุ
นายธันวา  พรหมหลวงศรี 1509900674972 25 11 ดอนตาล ดอนตาล  
นางจินดา  บุญพิมพ์ 3490300046961 36 10 ดอนตาล ดอนตาล  
นายวิเชษฐา  บุทธิจักร์ 3490300115670 33 10 เหล่าหมี ดอนตาล  
นางวารุณี  กัณหารัตน์ 3490300277955 139 6 เหล่าหมี ดอนตาล  
นายบุญพอ  บุรวงค์ 34903002236248 2 4 บ้านบาก ดอนตาล  
นางดาวเรือง  โนรี 3490300239549 34 6 บ้านบาก ดอนตาล  
นายพงษ์เทพ  คำพิลาโสม 3490300155469 154 2 ป่าไร่ ดอนตาล  
นางสาวพัชรินทร์  สีวัง 1490300014290 194 8 ป่าไร่ ดอนตาล  
นายทวีชัย    บุทธิจักร์ 3490300258195 27 4 นาสะเม็ง ดอนตาล  
๑๐ นางสาวจันทร์จิรา  กลางประพันธ์ 1490300059552 79 3 นาสะเม็ง ดอนตาล  

สรุปผลการปฏิบัติงานของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน

ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

ประจำปี ๒๕๕๗

 

๑. ข้อมูลส่วนตัว

     ๑.๑  ชื่อ นายถิ่นนคร  รังไชย์   สถานภาพ   สมรส

            สถานที่อยู่  บ้านเลขที่ ๘๗ บ้านโนนสะอาด  หมู่ที่๗ ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร  รหัสไปรษณีย์ ๔๙๑๑๐  เบอร์โทรศัพท์  ๐๘๔๗๑๘๖๙๐๕

      ๑.๒ จบการศึกษาชั้นสูงสุด  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

      ๑.๓ การประกอบอาชีพ

          ๑) อาชีพหลักทำนา รายได้ต่อปี ๕๐,๐๐๐ บาท

          ๒) อาชีพรอง ทำไร่อ้อย  รายได้ต่อปี    ๕๐,๐๐๐ บาท

          ๓) ปลูกมันสำปะหลัง  รายได้ต่อปี ๒๐,๐๐๐ บาท

๑.๔ ความรู้ – ความสามารถพิเศษ

          ๑. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลนาสะเม็ง

          ๒. คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบล

          ๓. คณะทำงานสนับสนุนการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการอำเภอดอนตาล (ทีมปฏิบัติการแก้จน)          

          ๔.คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับตำบล

          ๕.ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.)

๒.การปฏิบัติงาน

    ได้มีกระบวนการขั้นตอนการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อช.  ดังนี้

     ๑.  การมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

          ๑.๑ ร่วมประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจคณะอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ.          

          ๑.๒ จัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับหมู่บ้าน

          ๑.๓ ติดตามให้คำแนะนำการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ระดับหมู่บ้าน /ตำบล

๒. การจัดทำแผนชุมชน

       ๑.ประสานงานผู้นำหมู่บ้านร่วมประชุม การปรับแผนชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ๒.ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน มากกว่าร้อยละ ๗๐ ของ ครัวเรือนทั้งหมด

       ๓. การนำแผนชุมชนไปใช้ประโยชน์ ของตำบลนาสะเม็ง

๓. การจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    เป็นคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับตำบล      

     - ประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกคน

    -  การจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการพัฒนาศูนย์ฯ

     - การจัดให้มีข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เช่น ทะเบียนผู้นำ  ข้อมูลทั่วไป  กลุ่มอาชีพ   ศิลปวัฒนธรรม ต่างๆ 

    -  กิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การจัดเวทีประชาคมเพื่อการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน การ  การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี  ฯลฯ

๔. การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย   

    - เข้าร่วมประชุมประจำเดือนในหมู่บ้าน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเวทีประชาคม ทุกระดับ

    - การรณรงค์การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ทุกระดับ

๕.การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    - การปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ มีการออม ใช้พลังงานอย่างประหยัด  

    - กิจกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว  การสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มอาชีพในชุมชน

๖.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    - การจัดบริเวณบ้านของตนเองให้น่าอยู่ โดยปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น และการกำจัดขยะมูลฝอย  ให้ถูกสุขลักษณะ

   - การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น  ปลูกป่าชุมชน , ปลูกต้นไม้ตามหัวไร่ปลายนา   การทำความสะอาดวัด ที่สาธารณะในวันสำคัญ

๗.การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    - การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด เช่น  การไม่เสพสิ่งเสพติด

      - กิจกรรมการป้องกันยาเสพติด เช่น   การประชาสัมพันธ์ /รณรงค์ ให้เห็นโทษภัยจาก   สิ่งเสพติด   

      - อยู่เวรยามเฝ้าระวัง

  ๘. การร่วมกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรม 

      - เป็นกรรมการ ร่วมงานประเพณี  บุญออกพรรษา  เข้าพรรษา  สงกรานต์ ฯลฯ

       - ด้านพุทธศาสนา ได้ร่วมบูรณะวัด

  ๙. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.

      รับผิดชอบสนับสนุนส่งเสริมครัวเรือนยากจน ที่ตกเกณฑ์ จปฐ. เรื่องรายได้  ดังนี้  โดยได้ดำเนินการดังนี้

       -  พบปะเยี่ยมเยือนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับครัวเรือน และสอบถามปัญหาความต้องการของครัวเรือน

       -   ส่งเสริมการเรียนรู้แผนที่ชีวิต

       -   แนะนำครัวเรือนจดบันทึกรายรับรายจ่ายของครัวเรือนโดยสนับสนุนแบบบัญชี

       -   ประสานความช่วยเหลือไปยัง  อบต. และหน่วยงานราชการต่าง ๆ

       -  นำครัวเรือนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มโอกาสเรียนรู้อาชีพทางเลือก คลินิกแก้จน จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนตาล

๑๐ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมกีฬาเปตอง โดยเป็นทีมตัวแทนจังหวัดมุกดาหารเข้าร่วมการแข่งขันที่จังหวัดนครนายก

 

ข้อบังคับชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

.................................

 

หมวดที่ ๑

ข้อความทั่วไป

 

ข้อ ๑    ชมรมนี้เรียกว่า “ ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล ”

ข้อ ๒    ที่ตั้งปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาชุมนอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

ข้อ ๓    เครื่องหมายของชมรม  มีลักษณะ ..........................................................................................................

.................................................................................................................................................................

ข้อ ๔    ในข้อบังคับนี้

          “ชมรม” หมายถึง ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

          “สมาชิก” หมายถึง สมาชิกชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

ข้อ ๕    การก่อตั้ง  ก่อตั้งเมื่อ วันที่ ............... เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559

 

หมวดที่ ๒

วัตถุประสงค์

 

ข้อ ๖    ชมรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ

          ๖.๑ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง และศักดิ์ศรีของมวลสมาชิก

          ๖.๒ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของสมาชิก

          ๖.๓ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ของสมาชิกของชมรมอย่างอิสระตามระบบ

      ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

          ๖.๔ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) /อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)

      อำเภอดอนตาล

          ๖.๕ เพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

      และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

          ๖.๖ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

          ๖.๗ เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศล และองค์กรอื่น ๆ

          ๖.๘ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมของทางราชการ สมาชิก และบุคคลทั่วไปตามความเหมาะสม

          ๖.๙ เพื่อจัดให้มีสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก

          ๖.๑๐ ชมรมไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 

หมวดที่ ๓

สมาชิกภาพ และการขาดจากสมาชิกภาพ

 

ข้อ ๗    สมาชิกของชมรม มี  ๓  ประเภท  คือ

๗.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) และผู้ที่เคย

      ดำรงตำแหน่งอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.)

๗.๒ สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่สนใจงานอาสาสมัคร และสนใจในกิจกรรมของชมรม

๗.๓ สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่ชมรม ซึ่ง

      คณะกรรมการชมรม ลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของ ชมรม

ข้อ ๘    คุณสมบัติของสมาชิกสามัญ ต้องดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน              

           (ผู้นำ อช.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของ อำเภอดอนตาล

 ข้อ ๘   ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรม ต้องยื่นใบสมัครตามแบบฟอร์มของชมรม ณ ที่ทำการชมรม คือ

          สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ โดยชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้

๘.๑.๑ ค่าสมัคร (ค่าลงทะเบียน)                 100    บาท

๘.๑.๒ ค่าบำรุงปีละ                              50      บาท

๘.๑.๓ ค่าบำรุงตลอดชีพ (ชำระครั้งเดียว)       500    บาท               

ข้อ ๙    สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุต่อไปนี้

          ๙.๑ ตาย

๙.๒ ลาออก  โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการชมรม และคณะกรรมการชมรมได้

      พิจารณาอนุมัติ  และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังคงค้างอยู่กับชมรมเป็นที่เรียบร้อย

         ๙.๓ ที่ประชุมใหญ่ของชมรมหรือคณะกรรมการชมรม ๒ ใน ๓ ได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก

                ทะเบียนเพราะสมาชิกนั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียสู่ชมรม

 

หมวดที่ ๔

รายได้ และรายจ่ายของชมรม

 

ข้อ ๑๐  ชมรม มีรายได้จากกิจกรรม ดังนี้

         ๑๐.๑ ค่าสมัครเป็นสมาชิกของชมรม

         ๑๐.๒ การจัดกิจกรรมของชมรม

         ๑๐.๓ ผู้บริจาค

         ๑๐.๔ ค่าบำรุงของสมาชิก

         ๑๐.๕ ดอกเบี้ยเงินฝาก

         ๑๐.๖ รายได้อื่น ๆ ที่ได้มาโดยชอบธรรม

ข้อ ๑๑  ชมรม มีรายจ่ายสำหรับกิจกรรม ดังนี้

         ๑๑.๑ เพื่อสวัสดิการแก่สมาชิก

         ๑๑.๒ เพื่อสาธารณประโยชน์

         ๑๑.๓ การดำเนินกิจกรรมของชมรม

 

หมวดที่ ๕

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

 

ข้อ ๑๒  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

          ๑๒.๑ มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของชมรม โดยเท่าเทียมกัน

          ๑๒.๒ มีสิทธิเสนอขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของชมรม ต่อคณะกรรมการ

          ๑๒.๓ มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่ชมรมจัดให้มีขึ้น

          ๑๒.๔ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของชมรม 

          ๑๒.๕ สมาชิกสามัญ และสมาชิกวิสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้งหรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็น

        คณะกรรมการของชมรม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ เสียง

          ๑๒.๖ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของชมรม โดยมีสมาชิก

                  เข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อยหนึ่งในสาม ของสมาชิกทั้งหมด

          ๑๒.๗ มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย หนึ่งในสาม ของสมาชิกทั้งหมด ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัด

                  ประชุมใหญ่วิสามัญได้

          ๑๒.๘ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของชมรม โดยเคร่งครัด

          ๑๒.๙ มีหน้าที่ประพฤติให้สมเกียรติที่เป็นสมาชิกของชมรม

          ๑๒.๑๐ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ของชมรม

          ๑๒.๑๑ มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่ชมรม ได้จัดให้มีขึ้น

          ๑๒.๑๒ มีหน้าที่เผยแพร่ชื่อเสียงของชมรม ให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

          ๑๒.๑๓ มีหน้าที่ร่วมประชุมทุกครั้ง เมื่อมีการประชุมชมรม

          ๑๒.๑๔ เมื่อสมาชิก เปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ที่อยู่ ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงให้เลขานุการชมรม ทราบ

 

หมวดที่ ๖

คณะกรรมการและการดำเนินงาน

 

ข้อ ๑๓  ให้มีคณะกรรมการ ๑ คณะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก

เลขานุการ และคณะกรรมการอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ข้อ ๑๔ คณะกรรมการ อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระ ๔ ปี เมื่อครบกำหนดคณะกรรมการฯ จะพ้นจากตำแหน่งทั้ง

คณะ

ข้อ ๑๕  เมื่อคณะกรรมการ ครบกำหนดตามวาระ ก็ให้คณะกรรมการชมรมที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการ

ไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่

ข้อ ๑๖ กรณีกรรมการว่างลง ด้วยเหตุใดก็ตาม ให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทน โดยให้

ผู้รับตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งในวาระเท่ากับที่ตนแทน และแจ้งให้สมาชิกทราบ

ข้อ ๑๗ คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายในวันที่ 1 - 5

          ของทุก ๆ เดือน ทั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของชมรม

ข้อ ๑๘  คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

 

หมวดที่ ๗

การประชุมใหญ่

 

ข้อ ๑๙  ให้มีการประชุมใหญ่สามัญ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และจะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ของสมาชิกทั้งหมด จึงจะครบองค์ประชุม

ข้อ ๒๐ ในกรณีที่สมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมตามข้อ ๑๙ ให้ประธานชมรม นัดประชุมสมาชิกใหม่ภายใน        

๑๕ วัน และถ้ามีสมาชิกเข้ามาประชุมไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมด ถือว่าครบองค์ประชุม

ข้อ ๒๑  มติที่ประชุมใหญ่ จะใช้บังคับได้ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้เข้าประชุม

หมวดที่ ๘

การลงทะเบียน การเงินและบัญชี

 

ข้อ ๒๒  คณะกรรมการต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่กำหนด และเก็บรักษาที่สำนักงานพร้อมหลักฐาน

และเอกสารที่ใช้ประกอบการลงทะเบียน

ข้อ ๒๓  ชมรมจะต้องจัดทำบัญชีแสดงฐานะการเงินไว้ที่สำนักงาน

ข้อ ๒๔ เงินทุกประเภทของชมรม ต้องฝากไว้กับธนาคารในนามของชมรม โดยมีผู้รับผิดชอบฝาก-ถอน จำนวน

๓ คน โดยมีผู้ลงนามถอนอย่างน้อย ๒ ใน ๓

ข้อ ๒๕ ประธาน มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท คณะกรรมการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้    

ครั้งละไม่เกิน 15,000 บาท

ข้อ ๒๖  เงินหรือผลประโยชน์ที่ชมรมได้รับ ถือเป็นของชมรมทั้งสิ้น

ข้อ ๒๗ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิก จำนวนไม่น้อยกว่า  2  คน ตรวจสอบการเงินของชมรมอย่างน้อย     

ปีละ ๑ ครั้ง

ข้อ ๒๘ ให้เหรัญญิก โดยการควบคุม ดูแลของคณะกรรมการชมรม จัดทำบัญชี งบดุล เสนอต่อที่ประชุมใหญ่

ข้อ ๒๙ หลักฐาน เอกสารทางทะเบียนการเงิน บัญชี และงบดุลต้องเก็บไว้สำนักงาน

 

หมวดที่ ๙

การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ

 

ข้อ ๓๐  การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓

ของสมาชิกในที่ประชุม และไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของชมรม หรือ กฎหมาย

 

หมวดที่ ๑๐

การเลิกชมรมและการชำระบัญชี

 

ข้อ ๓๑  ชมรมจะเลิกกิจกรรมได้ต่อเมื่อมติที่ประชุมใหญ่ให้เลิก

ข้อ ๓๒  เมื่อมีการเลิกชมรม ให้คณะกรรมการจัดให้มีการชำระบัญชีและจัดการทรัพย์สินตามมติที่ประชุมใหญ่

ข้อ ๓๓  กรณีที่ประธานหรือคณะกรรมการดำเนินการ จ่ายเงินไม่ชอบด้วยข้อบังคับให้ผู้สั่งจ่ายเป็นผู้รับผิดชอบ

ส่งเงินคืนชมรม ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ชมรมแจ้งให้ทราบ

 

หมวดที่ ๑๑

บทเฉพาะกาล

 

ข้อ ๓๔  ให้ประธาน เป็นผู้ลงนามในข้อบังคับชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

ข้อ ๓๕ ประธาน เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

และถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

ข้อ ๓๖  ข้อบังคับฯ นี้ประกาศใช้ ตั้งแต่ วันที่          เดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2559  

 

 

                         (ลงชื่อ) ..............................................

                          ( นางจินดา บุญพิมพ์ )

ตำแหน่ง ประธานชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

 

รายงานการประชุม

ครั้งที่    / 2559

วันที่        เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559

ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนตาล

 

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม       คน จากจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด       คน

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

นายมีชัย นาใจดี  เป็นประธานการประชุม

 

ระเบียบวาระที่ ๑          เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

1.1   ให้ผู้นำ อช สนันสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบ

1.2   ให้ผู้นำ อช สนันสนุนขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี

1.3   ให้ผู้นำ อช สนันสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆเช่น การจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสมทบทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน ทอดในวันที่ 11 สิงหาคม 2559

1.4   ให้ผู้นำ อช จัดทำผลไตรมาส 3 และแผนไตรมาส 4 เพื่อจัดส่งจังหวัดเบิกเงินค่าตอบแทนต่อไป

1.5   ให้ นายบัญชา เชี่ยวชาญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ เป็นผู้จดบันทึกการประชุม

ระเบียบวาระที่ ๒         เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

๒.๑ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล

โดยให้ ผู้นำ อช เสนอชื่อ คณะกรรมการชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล ซึ่งที่ประชุมเสนอ     นางจินดา บุญพิมพ์ ผู้นำ อช ตำบลดอนตาล เป็นประธานฯ นายบัวผัด พิกุลศรี ผู้นำ  อช ตำบลโพธิ์ไทร เป็นรองประธานฯ นางดาวเรือง โนรี ผู้นำ อช ตำบลบ้านบาก เป็นเลขานุการ น.ส.สมพร บัวพันธ์ ผู้นำ อช ตำบลป่าไร่ เป็นเหรัญญิก และผู้นำ อช ตำบลอื่นๆร่วมเป็นคณะกรรมการ

2.2 ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเป็นเอกฉันท์ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการบริหารชมรมฯ

๑. นางจินดา บุญพิมพ์              ประธานชมรมฯ

๒. นายบัวผัด พิกุลศรี               รองประธานฯ

๓. นางดาวเรือง โนรี                เลขานุการ

๔. นางสาวสมพร บัวพันธ์           เหรัญญิก

๕. นายธันวา พรหมหลวงศรี        ปฏิคม

6. นางบุญโฮม พรหมเสนา         กรรมการ

7. นายรุ่งโรจน์ คำแก้ว             กรรมการ

8. นางอาภรณ์ สมประสงค์         กรรมการ

9. นายบุญพอ บุรวงค์              กรรมการ

10. น.ส.กมลวรรณ ปริปุรณะ      กรรมการ

11. นายทวีชัย บุทธิจักร์           กรรมการ

12. นายพงษ์เทพ คำพิลาโสม      กรรมการ

13. นางวารุณี กันหารัตน์          กรรมการ

14. นายวิเชษฐา บุทธิจักร์         กรรมการ

มติที่ประชุม       เห็นชอบ

๒.3 พิจารณาร่างข้อบังคับชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอดอนตาล ผู้นำ อช ทุกตำบลร่วมกันร่างระเบียบข้อบังคับชมรมผู้นำอาสาพัฒนา อำเภอดอนตาล และกำหนดหลักเกณฑ์ต่างในระเบียบข้อบังคับ  ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ข้อบังคับฉบับนี้ยื่นต่อทางราชการได้

มติที่ประชุม       เห็นชอบ

ระเบียบวาระที่ ๓         เรื่องอื่น ๆ

                             แนะนำตัว ข้าราการที่ย้ายมาใหม่

  1. นายมีชัย นาใจดี พัฒนาการอำเภอดอนตาล
  2. นางทัศวรรณ ชิณวงษ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้ประสานงาน ตำบลเหล่าหมี ตำบลนาสะเม็ง
  3. นายบัญชา เชี่ยวชาญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้ประสานงาน ตำบลบ้านแก้ง ตำบลโพธิ์ไทร ตำบลดอนตาล

 

เลิกประชุมเวลา 12.00น.

 

ลงชื่อ…………………..………………….                               ลงชื่อ………..………….………..………..

        ( นายมีชัย นาใจดี )                                               (  นายบัญชา เชี่ยวชาญ )

ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอดอนตาล                            ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาการ

      ผู้ตรวจรายงานการประชุม                                              ผู้จดรายงานการ

ทะบียนรายชื่อสมาชิกของชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ระดับอำเภอ
อำเภอ ดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร
ลำดับที่ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง การศึกษา ที่อยู่ อาชีพ เบอร์โทรศัพท์
        บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตำบล อำเภอ    
นางดอกกุหลาบ ใจตรง อช. ป.๖ 39 1 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นางเสงี่ยม  บุญมา อช. ป.๖ 34 1 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นางวาสนา บุทธิจักร อช. ป.๖ 50 2 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นายบัวผัด พิกุลศรี ผู้ นำอช. ป.๖ 116 3 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นายทวี  โพธิ์ไทร อช. ป.๖ 138 4 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นางทีมใจ  พิกุลศรี อช. ป.๖ 116 4 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นางเดือนฉาย พรหมเสนา อช. ป.๖ 141 5 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นายปอน  พรหมเสนา อช. ป.๖ 123 5 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
นางอำนวย เครือนาค อช. ป.๖ 88 6 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๐ นางวรรณา  สิงฆ์ธานี อช. ป.๖ 138 6 โพธิ์ไทร ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๑ นางอาภรณ์ สมประสงค์ อช. ป.๖ 1 1 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๒ นายเดช  พิกุลศรี อช. ป.๖ 41 1 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๓ นายสุริยา  กุมภิโล อช. ป.๖ ๕๑ บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๔ นายจักรกริช พิกุลศรี อช. ป.๖ 70 2 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๕ นายฉลอง พรหมเสนา อช. ป.๖ 53 2 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๖ นางบุญญาพร แก้วดวงดี อช. ป.๖ 63 3 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๗ นายธีรนันท์  พิกุลศรี อช. ป.๖ 2 3 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๘ นายประเสริฐ  เดชะคำภู อช. ป.๖ 134 3 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๑๙ นางสาวจินตนา โคสขึง อช ปวช. 2 4 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๐ นางเตือน  กวนเจ้า อช ป.6 78 4 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๑ นายชนะชัย พิกุลศรี อช. ป.6 63 5 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๒ นางนิดา ราชฐาน อช. ม.3 91 5 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๓ นายสุรัตชัย เพียพล อช. ม.3 16 5 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๔ นางหอม นาโสก     69 5 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๕ นางสาวพรพิมล อยู่สุข     27 6 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๖ นางไพริน จ่าผาย     11 6 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๗ นายพงษ์สิทธิ์ พิกุลศรี     77 7 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๘ นายวิเชียร ยืนยง     43 7 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  
๒๙ นางธงชัย พิกุลศรี     72 7 บ้านแก้ง ดอนตาล เกษตรกรรม  

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view