http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,274
เปิดเพจ84,590
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

เอกสารถอดบทเรียน

 

“การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบ”

SMART Saving Group (SSG)

 

บ้านนาสะโน  หมู่ที่  

ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร

 

 

 

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

                              โทร. ๐-๔๒๖๘-๙๒๙๒

 

 

 

 

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติหมู่บ้าน  

เดิมที อพยพมาจากเมืองเซโปน ประเทศลาว ในปี พ.ศ. ๒๓๐๐  ผู้นำการอพยพได้แก่ ท้าวกามบัวคำ แรกมาอยู่ดงหมู ดงหมูนี้มีสัตว์ป่ามาก ที่ทำนาก็เยอะ ก็เลยตั้งบ้านอันดับแรกอยู่ที่ดงหมู อยู่ดงหมูได้ประมาณ  ปี ชาวบ้านต้องการจะทำบุญประจำปีในบ้านดงหมู ชาวบ้านก็ได้แต่งกันไปหาไม้ไผ่มาทำตะแค่เป็นเม็ง เพื่อรองรับกองบุญและเครื่องบริขาร ที่ทำบุญ พอทำเม็งเสร็จได้ประมาณ  วัน ก็มีแมลงและมอดมากัดเม็งที่ชาวบ้านได้สร้างเอาไว้เพื่อทำบุญประจำปี ชาวบ้านดงหมูก็พากันเอาเม็งที่ได้สร้างเสร็จแล้วนั้น ลงไปแช่ในกุดน้ำแห่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงและมอดมากัดอีก ในปีนั้น ชาวบ้านก็ได้พากันทำบุญ รู้สึกการทำบุญได้ลุล่วงไปได้ ต่อมา ชาวบ้านก็เลยอพยพออกจากบ้านดงหมูอีกครั้งหนึ่ง ห่างจากดงหมูประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร คือบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน (คือบ้านโนน) พอมาอยู่บ้านประมาณ ๔๕ ปี มีทางราชการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านเพื่อขึ้นกับตำบลดอนตาลในปีนั้น ก็เลยตั้งชื่อบ้าน เป็นบ้านกุดแช่เม็งชาวบ้านได้เอานามเม็งลงไปแช่น้ำ เพื่อทำบุญ นั้นมาเป็นชื่อบ้านในสมัยนั้น ชาวตำบลดอนตาลจึงเรียกบ้านกุดแช่เม็ง (ปี ๒๓๗๐) หมู่ที่ ๗ ต.ดอนตาล นายหนู เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาชาวบ้านกุดแซ่เม็งได้ขยายบ้านเรือนออกประมาณ ๙๘หลังคา ฉะนั้นราชการได้มองเห็นว่าบ้านนี้เป็นบ้านใหญ่การปกครองอาจไม่ทั่วถึง ก็เลยมาแยกบ้านกุดแซ่เม็งมาอีกหมู่ เป็น ๒ หมู่บ้านเป็นหมู่ ๗,๘ ต.ดอนตาล อ.มุกดาหาร สำหรับหมู่ ๗ นายท่อน  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๘ นายจา  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน พอมาถึง ๒ หมู่บ้านแล้วได้มาเปลี่ยนชื่อบ้านเพื่อให้เหมาะสม เปลี่ยนออกจากกุดมาเป็น(นาแซ่เม็ง) ต่อมาทางราชการได้ประกาศตั้งตำบลนาแซ่เม็ง ตำบลนาแซ่เม็ง ต้องมีหมู่บ้านครบ ๗ หมู่บ้านจึงจะเป็นตำบลได้ ในสมัยนั้นก็เลยจัดเลี้ยงหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ครบ ๗ หมู่บ้านก็เลยตั้งบ้านนาแซ่เม็งหมู่ ๗มาเป็นหมู่ ๑ หมู่ ๘ มาเป็นหมู่ ๒ ปัจจุบันพอมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕เพื่อให้เรียกหมู่บ้านที่เหมาะสมกับเป็นตำบล ก็เลยมาเพี้ยนมาเป็นตำบล นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม (กำนันตำบลนาสะเม็งคนแรก ชื่อนายหวัน  คนไว เป็นกำนัน ต.นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม จากนั้นพากันสร้างวัดในปี ๒๓๖๑ ประมาณร้อยกว่าปีในปี ๒๕๒๖ ไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านในปี ๒๕๓๗ ถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้านในปี ๒๕๔๗ น้ำประปาเข้ามาหมู่บ้าน ปัจจุบัน หมู่ที่ ๓ บ้านนาสะโน  มีนายอ่อนสี บุทธิจักร เป็นกำนัน ตำบลนาสะเม็ง

๒. ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของตำบลนาสะเม็ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตาลระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร

          ทิศเหนือ ติดกับ  หมู่ที่ ๒ บ.นาสะเม็ง        ทิศใต้ ติดกับ  หมู่ที่ ๗ บ.โนนสะอาด

          ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๗ ต.ดอนตาล   

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๔ บ.นาหว้า

 

 ๓. ข้อมูลประชากร

          จำนวนครัวเรือน    ๒๔๘   ครัวเรือน

                   จำนวนประชากร   ๙๒๕   คน

                   แยกเป็น   ชาย    ๔๗๒   คน   หญิง    ๔๕๓   คน

 

 ๔. แหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย   หนอง   คลอง  บึง ป่าไม้)

๑.ห้วยวังอี่                        

๒.ห้วยเชิงชาญ

๓.สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า           

๔.ห้วยถ้ำ

ด้านการปกครอง/การเมือง

                บ้านนาสะโน หมู่ที่  ๓  มีการแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  มี    ๑๓      คุ้ม  ดังนี้

     ๑.คุ้มสัมพันธ์มิตร     นายคำภูมี บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม        มี  ๒๒ ครัวเรือน   ประชากร     ๘๔    คน

    ๒. คุ้มวุฒิเจริญ           นายเลียง   ชาเสน        หัวหน้าคุ้ม   มี  ๒๓ครัวเรือน     ประชากร     ๘๐    คน

    ๓. คุ้มไทยเจริญ          นางบัญหา  อ่อนภู่       หัวหน้าคุ้ม    มี    ๑๔ ครัวเรือน  ประชากร     ๕๐    คน

    ๔. คุ้มเพ็งปุณญศรี      นายสมศักดิ์ ปริปุรณะ หัวหน้าคุ้ม       มี  ๒๙  ครัวเรือน  ประชากร     ๙๖    คน

    ๕. คุ้มปิยะวงศ์            นายวิรัตน์  ชาสุรีย์       หัวหน้าคุ้ม   มี  ๒๐  ครัวเรือน   ประชากร     ๘๓    คน

    ๖. คุ้มวงศ์พระจันทร์  นายเทอญ บุทธิจักร          หัวหน้าคุ้ม  มี  ๘  ครัวเรือน     ประชากร     ๒๙    คน

    ๗. คุ้มโหง่นวงศ์วิจิตร นางจิตรา  คนไว          หัวหน้าคุ้ม      มี  ๑๒  ครัวเรือน   ประชากร    ๕๑   คน

   ๘. คุ้มอินทร์ศักดิ์สิทธิ     นายเสมอ คนยืน           หัวหน้าคุ้ม  มี  ๑๓    ครัวเรือน  ประชากร    ๔๓    คน

   ๙. คุ้มบัวขจรศักดิ์           นางเดือน    บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม  มี  ๑๑    ครัวเรือน  ประชากร    ๓๘    คน

   ๑๐. คุ้มประชาสุขสันต์    นายขาน  บุทธิจักร       หัวหน้าคุ้ม   มี  ๑๕  ครัวเรือน    ประชากร     ๖๔   คน

   ๑๑. คุ้มสีหราชเดโช         นายวีนัส  สุริศาสตร์    หัวหน้าคุ้ม   มี  ๒๒  ครัวเรือน   ประชากร     ๙๓   คน

  ๑๒. คุ้มเต๊ะจันทวงศ์         นายเด่น   ปาวงศ์         หัวหน้าคุ้ม  มี  ๑๗  ครัวเรือน   ประชากร     ๖๐    คน

  ๑๓. คุ้มศรีลาราชประสงค์ นางบุญสม ศรีลาศักดิ์ หัวหน้าคุ้ม      มี ๑๙   ครัวเรือน   ประชากร    ๘๒    คน  

 

ด้านเศรษฐกิจ

ชาวบ้านนาสะโน ประกอบอาชีพหลัก-   ทำนา  ทำสวน            จำนวน   ๒๓๑      ครัวเรือน

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๖ จำนวน  ๓๔,๔๐๙  บาท/คน/ปี       

กองทุน / กลุ่มอาชีพ / OTOP ที่ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

                        ๑. กทบ.  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                             สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน  ๑,๓๐๐,๐๐๐         บาท 

                        ๒. กข.คจ. ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                            สมาชิก ๖๐ คน       เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐         บาท

                        ๓. ร้านค้าชุมชน ดำเนินการ ปี ๒๕๓๘                     สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน   ๓๒๐,๐๐๐  บาท  

                        ๔. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๙                 สมาชิก 51 คน        เงินทุน     ๔๐,๐๐๐ บาท 

                        ๕. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ปี ๒๕๔๖    สมาชิก  ๕๕๐ คน    เงินทุน   ๕,๒๘๒,๐๑๐   บาท 

                        ๖. กลุ่มทอผ้า  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๑                       สมาชิก ๓๐ คน       เงินทุน       ๓๐.๐๐๐        บาท    

                        ๗. กลุ่มจักสาน  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๐                      สมาชิก  ๑๕  คน     เงินทุน     ๓๐,๐๐๐         บาท

         

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ๑.ห้วยบังอี่                          

             ๒.ห้วยเชิงชาญ

          ๓.สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า        

             ๔.ห้วยถ้ำ

                                                     

ด้านสังคม/วัฒนธรรม / ประเพณี

๑.      ชาวบ้านในชุมชนหมูบ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ %  มีวัดบ้านนาสะโนเป็นศูนย์กลาง

ศูนย์รวมจิตรใจ ให้มีความสามัคคี มีความเอื้ออารีย์ต่อกัน         

               ๒. ชาวบ้านในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ สืบทอดกันมา

                     อย่างยาวนาน เป็นประจำทุกปีมาตลอด             

            ๓. หมอลำพื้นบ้าน/ลำผญา(หมอลำผมหอม  สกุลไทย) ได้สืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลานตลอดมา                         

บ้านนาสะโน หมู่ที่ ๓ ตำบลนาสะเม็ง  ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีผลงานพอสรุปได้ดังนี้

ด้านสังคม/วัฒนธรรม / ประเพณี

        ๑. ชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ % มีวัด เป็นศูนย์กลาง ศูนย์รวมจิตรใจ ให้มีความสามัคคี มีความเอื้ออารีย์ต่อกัน               

                   ๒.ชาวบ้านในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นประจำทุกปีตลอดมา  การดำเนินงานตามนโยบายจังหวัดมุกดาหาร ปี ๒๕๕๖ โครงการ  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น  เป็นสุข 

        ๓.บ้านนาสะโนมีการจัดประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ ๑-๔ ของเดือน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร

การดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้าน และรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน และทำให้คนในชุมชนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งชาวบ้านจะให้ความสำคัญ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในประชุม

        ๔.จัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน/ทบทวนแผนชุมชน ๑ – ๒  ครั้ง /ปี

                  ๕. ชุมชนมีการจัดการกับปัญหายาเสพติด ๔ กิจกรรม

                      - การจัดเวรยามเฝ้าระวังยาเสพติด

                      - การแข่งขันกีฬายาเสพติด

                      - การรณรงค์ป้องกันปัญหายาเสพติด

                  ๖. ชุมชนมีกระบวนการส่งเสริม การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา

ด้านเศรษฐกิจ

๑.  การประกอบอาชีพ

   อาชีพหลัก

                   -  ทำนา                                       จำนวน           ๒๓๑    ครัวเรือน

                   อาชีพเสริม

                   -  ทำสวน (ระบุ)   ยางพารา                 จำนวน           ๖๙      ครัวเรือน                    

                   -  ทำสวน (ระบุ)   มันสำปะหลัง            จำนวน           ๕๓      ครัวเรือน

                   -  ทำไร่ (ระบุ)     อ้อย                      จำนวน           ๔๘      ครัวเรือน

                   -  ด้านหัตถกรรม                                จำนวน                  ๑๔     ครัวเรือน

                   -  ด้านค้าขาย                                 จำนวน           ๙        ครัวเรือน

                   - รับจ้างทั่วไป                                 จำนวน             ๒๐      ครัวเรือน

๒ .รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๖  จำนวน  ๕๙,๓๔๒ บาท/คน/ปี              

๓. กองทุน / กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

                           ๑. กทบ.  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                         สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน  ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท 

                           ๒. กข.คจ. ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                        สมาชิก ๖๐ คน       เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐          บาท

                          ๓. ร้านค้าชุมชน ดำเนินการ ปี ๒๕๓๘                  สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน   ๓๒๐,๐๐๐   บาท  

                            ๔. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๙             สมาชิก ๕๑ คน        เงินทุน     ๔๐,๐๐๐          บาท 

                           ๕. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ปี ๒๕๔๖ สมาชิก  ๕๕๐ คน  เงินทุน  ๕,๒๘๒,๐๑๐   บาท 

                           ๖. กลุ่มทอผ้า  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๑                     สมาชิก ๓๐ คน       เงินทุน     ๓๐.๐๐๐         บาท    

                           ๗. กลุ่มจักสาน  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๐                    สมาชิก  ๑๕  คน     เงินทุน     ๓๐,๐๐๐        บาท

การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน

๑.กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์  มี ๑๕๐ ครัวเรือน  เสียชีวิตเก็บครัวเรือนละ ๑๐๐ บาท  ได้รับเงินสงเคราะห์ต่อราย รวมเป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐ บาท  

๒.กลุ่มออมทรัพย์ฯ

          - กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ๕ %

          - สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก

                ๑.ตาย ศพละ ๕,๐๐๐ บาท

               ๒.นอนโรงพยาบาล  คืนละ ๒๐๐ บาท ไม่เกิน ๑๒ คืน/ปี ( ๒,๔๐๐ บาท)

ด้านการเรียนรู้                                                                                                                                 

๑.มีจุดเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้

          -  จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนนายพรชัย  ศรีลาศักดิ์

          - จุดเรียนรู้ด้านเงินทุน (กลุ่มออมทรัพย์ฯ กทบ.)

-  จุดเรียนรู้ด้านสานอาชีพ  ทอผ้าย้อมคราม

          -   จุดเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม พื้นบ้าน ลำผญา นางผมหอม  สกุลไทย

๒. มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และแผนชุมชน ในการพัฒนาหมู่บ้าน ดังนี้

            ๑.การใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ. ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ของบ้านนาสะโน

              - การดำเนินงานส่งเสริมการออมในการครัวเรือนที่ตกเกณฑ์เรื่องการออม จำนวน  ๘๓ ครัวเรือน

                 โดยคณะทำงานฯ ได้มาดำเนินการค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ชี้เป้าปัญหา และสร้างความเข้าใจผู้นำชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย แนะนำให้มีการออมเพื่อเป็นสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ

 ๒.การนำแผนชุมชนไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน ดังนี้

   - โครงการที่ชุมชนทำเอง เช่น จัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน , จัดงานประเพณีบุญประจำปี ,การปลูกพืชผักสวนครัวลดรายจ่าย, การพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ ,การจัดเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน ฯลฯ

   - โครงการที่หน่วยงานสนับสนุน เช่น โครงการขยายไฟฟ้าแรงต่ำ (อบต.)

๓. มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าหมู่บ้าน มีกระบวนการสืบค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่   และเรียนรู้จากความรู้หรือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า เช่น การทอผ้าย้อมคราม   วัฒนธรรมพื้นบ้าน (ลำผญา)

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑.  ลำห้วยบังอี่ ขนาดโดยเฉลี่ยกว้าง   ๑๕  เมตร  ยาว    ลึก  ๑๐  เมตร

             ๒.ห้วยเชิงชาญ

๓.ป่าชุมชนบ้านนาสะโน   จำนวน      ไร่

มีคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

มีกิจกรรมปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ

                               ผลการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

         กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาสะโน

ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด  ๕๕๐  คน ดังนี้

 1. สมาชิกสามัญ  ๕๕๐  คน

 2 .สมาชิกสมทบ  -   คน

ประเภทของสมาชิก

สมาชิกสามัญ คือ สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มสามัคคี สามารถกู้ยืมเงินของกลุ่มได้

สมาชิกสมทบ คือ สมาชิกที่ประสงค์จะออมทรัพย์เพียงอย่างเดียวไม่มีการกู้ยืม

คุณสมบัติของการเป็นสมาชิก

           1.  เป็นประชากรในหมู่บ้าน หรืออยู่ในทะเบียนบ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลนาสะเม็ง

          2.  แรกเข้าอายุไม่เกิน ๖๐ ปี

กิจกรรมของกลุ่ม

การให้กู้ยืม

- ปัจจุบันมีสมาชิกกู้ยืม     จำนวน  ๓๖๐ ราย

 - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ  ๑  บาท ต่อ เดือน

หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม

-                   เขียนคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด

-                   สมาชิกต้องมีคนค้ำประกันการกู้เงิน

-                   กรรมการเงินกู้พิจารณาตามความจำเป็น

-                   วงเงินกู้ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท เงินต้นไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย

-                   หากสมาชิกที่กู้ยืมไม่ใช้หนี้เงินกู้สมาชิกในกลุ่มต้องรับผิดชอบและไม่มีสิทธิในการกู้ยืม

 

การออม

-                   สมาชิกทุกคนต้องออมทุกเดือน หากไม่มาออมถูกปรับเดือนละ ๑๐ บาท

-                   ขาดออม ๓ ครั้งติดต่อกัน ไม่มีสิทธิกู้ยืมในปีนั้นๆ

การจัดสวัสดิการ

กลุ่มออมทรัพย์ฯ

          - สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก

                ๑.กรณีเสียชีวิต ศพละ ๕,๐๐๐ บาท

               ๒.นอนโรงพยาบาล  คืนละ ๒๐๐ บาท ไม่เกิน ๑๒ คืน/ปี ( ๒,๔๐๐ บาท)

 

การปันผล

ปันผลสมาชิก                        ๕๐  %

           กรรมการ                           ๒๕  %

สมทบกองทุน/สวัสดิการ              ๑๕  %

เฉลี่ยคืนสมาชิก                      ๕  %

สาธารณประโยชน์                  ๕  %

 

สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามคุณธรรม ๕ ประการ ดังนี้

  • มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
  • มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีความเห็นอกเห็นใจกัน
  • มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑.ผู้นำ

          ผู้นำมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของกลุ่มเป็นที่ยอมรับจากสมาชิก คือ  นายอ่อนสี  บุทธิจักร์

(กำนัน)  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกเรื่องความซื่อสัตย์ เสียสละความไว้วางใจ มีความรับผิดชอบสูง ทำให้กลุ่มประสบผลสำเร็จ  ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็ง  และยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน

 

๒.คณะกรรมการ

คณะกรรมการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  เสียสละ  มีความรับผิดชอบ  จึงทำให้กลุ่ม

มีความมั่นคง  กรรมการที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่จะเป็นกรรมการชุดเดิมที่สมาชิกยอมรับ  และไว้วางใจในความซื่อสัตย์  โดยเฉพาะเป็นคณะบุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เช่น  การให้ส่วนลดแก่สมาชิก เป็นต้น นอกจากนั้น คณะกรรมการยังเป็นผู้ใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า  สามารถจัดทำบัญชีได้เองโดยไม่ต้องพึ่งบุคคลภายนอก

๓.สมาชิก 

สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การแสดง

ความคิดเห็น ตามความต้องการของตนเองเสมอ

สมาชิกมีคุณภาพ

  • มาร่วมประชุมกลุ่ม โดยพร้อมเพียงกันเป็นประจำ
  • ออมเงินกับกลุ่มตามข้อตกลงครบถ้วนทุกครั้ง
  • หากกู้เงินจากกลุ่มต้องชำระตามสัญญาให้ครบถ้วนและตรงเวลา
  • ดูแลช่วยเหลือกันและปฏิบัติตามระเบียบกลุ่ม

 

๔.การเข้าร่วมกลุ่มด้วยความสมัครใจ

ยึดหลักคุณธรรม  ๖ ประการ  มีความซื่อสัตย์  มีความเสียสละ  มีความรับผิดชอบ  มีความเห็นอกเห็นใจ  มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  และมีความสามัคคี  การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นผลให้กลุ่มมีความมั่นคง ความซื่อสัตย์ในการส่งเงินสัจจะทุกครั้ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของกลุ่ม   มีความรู้สึกรักและหวงแหน ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่สอดคล้องเชื่อมโยง สนับสนุนวิถีชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

 

 การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาสะโน นับว่าเป็นกลุ่มที่มีการบริหารจัดการแบบพอประมาณ พอเหมะตามศักยภาพตนเองที่มี  โดยมีการประเมินตนเองของกลุ่มตลอดเวลา ด้วยการตรวจสอบผลการดำเนินงานอยู่เป็นประจำทุกเดือน  (พูดคุย  แลกเปลี่ยนแนวความคิด ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน) เพื่อให้ทราบว่ากลุ่มมีศักยภาพ และฐานะการเงินของกลุ่มเป็นประจำ ในการวางแผนการขยายกิจกรรมเครือข่ายของกลุ่มจะคำนึงถึงเงินทุนของกลุ่มที่มีอยู่ และอยู่บนพื้นฐานความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก และจะหลีกเลี่ยงในการกู้เงินจากภายนอกมาลงทุน  ใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป   กลุ่มมีความรอบคอบในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมร่วมกันทุกครั้ง  และที่สำคัญกิจกรรมที่ดำเนินการทุกอย่างเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทุกคน

        การมีภูมิคุ้มกัน

 การบริหารจัดการของกลุ่มถือได้ว่ามีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างดี  จะเห็นได้จากการขยายกิจกรรมเครือข่าย

ของกลุ่มเป็นจำนวนมาก และครอบคลุมทุกด้าน เพื่อช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของสมาชิก และประชาชนทั่วไปในการดำรงชีวิต  และที่สำคัญยิ่ง  คือ  มีการระดมเงินทุนโดยการออมเงิน  และ

กองทุนหมู่บ้าน  สภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ สินค้ามีราคาแพง แต่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาสะโน ยังมีเงินทุนในการขยายกิจกรรมเครือข่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกอยู่เสมอ

 

ความรู้และคุณธรรม การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาสะโน  สิ่งที่สำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จคือผู้นำกลุ่ม คณะกรรมการ  และสมาชิก  เป็นบุคลากรที่มีความรู้ภูมิปัญญา  มีความรอบรู้ รอบคอบ และมีความซื่อสัตย์  สุจริต  ความเสียสละ  ขยันอดทน และที่สำคัญยิ่งคือ  ความรักสามัคคี  ความเห็นอกเห็นใจกันของคนในชุมชน คณะกรรมการบริหารกลุ่มจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ใช้มติที่ประชุมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในคณะกรรมการและสมาชิกอยู่เป็นประจำ ทั้งจากการประชุมร่วมกันทุกเดือน  การศึกษาดูงาน  อบรมหน่วยงานราชการ การปรึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลภายนอกอยู่เสมอ ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด  ถือความเสมอภาคและผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของสมาชิกเป็นสำคัญ  (ทุกวันที่ ๕ เดือน  สมาชิกทุกคนต้องนำเงินมาฝากสัจจะกู้ยืม  ส่งใช้หนี้)  เป็นมติร่วมกัน  กับคณะกรรมการกลุ่ม  ณ  ที่ทำการของกลุ่ม  คณะกรรมการจะดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามภารกิจใน วันนั้นๆซึ่งทุกกระบวนการดังกล่าวข้างต้นจะเป็นการฝึกคนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย  มีคุณธรรมและมีความรักสามัคคี  สามารถพึ่งตนเองได้  ทั้งระดับครอบครัว  กลุ่ม/องค์กร และชุมชน  ได้อย่างยั่งยืน

 

แบบประเมินการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบ

ชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต........บ้านนาสะโน.....................

ที่ตั้ง เลขที่.....................หมู่ที่....๓.......บ้าน..........นาสะโน...........ตำบล....นาสะเม็ง  อำเภอ......ดอนตาล

ด้านเกณฑ์การประเมิน

ตัวชี้วัดที่

ผลการประเมิน

 

 

ผ่าน

ไม่ผ่าน

S: Standard (10 ตัวชี้วัด)

1. ดำเนินงานโดยยึดหลักคุณธรรม5 ประการ

/

 

มาตรฐานตามแนวทางที่กรม

(ความซื่อสัตย์, เสียสละ,ความรับผิดชอบ, ความเห็นอกเห็นใจ

 

 

การพัฒนาชุมชนกำหนด

ความไว้วางใจ)

 

 

 

2. มีอาคารสถานที่ใช้ประโยชน์สาธารณะร่วมกันชัดเจน

  /

 

 

มีป้ายชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และป้ายแสดงข้อมูล

 

 

 

ที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน

 

 

 

3. ฝากถอนเงินผ่านระบบสถาบันทางการเงินที่ถูกต้องตาม

/

 

 

กฎหมาย

 

 

4. จัดประชุมสามัญประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง

/

 

5. ตั้งคณะกรรมการ ครบ 4 ฝ่ายและมีการประชุมทุกเดือน

/

 

 

6. จัดทำระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นปัจจุบัน

/

 

 

7. สมาชิกส่งเงินสัจจะสะสมสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน

/

 

 

8. เก็บดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

/

 

 

ร้อยละ 15 ต่อปี

 

 

 

9. จัดทำระบบบัญชีเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบได้

/

 

 

10. จัดทำงบกำไรขาดทุน งบดุล และมีการจัดสรรผลกำไร

/

 

 

ตามระเบียบฯ อย่างน้อยปีละครั้ง

 

 

M: Management

11. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินสุขภาพด้าน

/

 

การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการครบทุกข้อ (ข้อ5-14)

 

 

 

12. แสวงหาและนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้สนับสนุน

/

 

 

กลุ่มอาชีพ อย่างน้อย 1 กลุ่ม

 

 

13. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

 

/

 

14. จัดสวัสดิการการให้สมาชิกอย่างน้อย 9 กิจกรรม

 

    /

 

A : Attitude

15. ส่งเสริมสมาชิกเข้าเป็นกรรมการรุ่นใหม่

     /

 

การสร้างกระบวนการเรียนรู้การ

16. ส่งเสริมการเพิ่มสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

     /

 

ยอมรับและความศรัทธา

17. จัดกิจกรรมยกย่องและเชิดชูเกียรติให้กับสมาชิก

     /

 

  ด้านเกณฑ์การประเมิน

                                  ตัวชี้วัดที่

   ผ่าน

 ไม่ผ่าน

 R : Redevelopment

18. พัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชี ส จ ร ให้เป็น

/

การทบทวนและพัฒนารูปแบบการ

บัญชีอิเลคทรอนิคส์

๑๙. จัดทำแผนแก้ไขหนี้นอกระบบ

 

   /

บริหารจัดการเพื่อความก้าวหน้า

20. จัดกิจกรรมเครือข่ายเชิงธุรกิจ อย่างน้อย 2 กิจกรรม

     /

    

5. T : Teaching

21. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้กับกลุ่ม/องค์กรอื่นๆ

     /

 

การจัดการความรู้และสามารถ

22. จัดเวทีเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้

     /

 

ถ่ายทอดองค์ความรู้ขยายแนวคิด

ขยายผลสู่กลุ่ม/องค์กรอื่นๆ ลักษณะพี่สอนน้อง

   

 

สู่ชุมชนอื่น

23. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ เช่น ซีดี แผ่นพับ

     /

 

                              

 

                        ลงชื่อ..........................................................ผู้ประเมิน

                                      (......นางวิไลวรรณ  เรืองเทศ....)

                                ตำแหน่ง.....นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view