http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,574
เปิดเพจ84,953
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาสะโน

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข

บ้านนาสะโน  หมู่ที่  3

 ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน                    

 ๑. ประวัติหมู่บ้าน

เดิมที อพยพมาจากเมืองเซโปน ประเทศลาว ในปี พ.ศ.2300  ผู้นำการอพยพได้แก่ ท้าวกามบัวคำ แรกมาอยู่ดงหมู ดงหมูนี้มีสัตว์ป่ามาก ที่ทำนาก็เยอะ ก็เลยตั้งบ้านอันดับแรกอยู่ที่ดงหมู อยู่ดงหมูได้ประมาณ  ปี ชาวบ้านต้องการจะทำบุญประจำปีในบ้านดงหมู ชาวบ้านก็ได้แต่งกันไปหาไม้ไผ่มาทำตะแค่เป็นเม็ง เพื่อรองรับกองบุญและเครื่องบริขาร ที่ทำบุญ พอทำเม็งเสร็จได้ประมาณ  วัน ก็มีแมลงและมอดมากัดเม็งที่ชาวบ้านได้สร้างเอาไว้เพื่อทำบุญประจำปี ชาวบ้านดงหมูก็พากันเอาเม็งที่ได้สร้างเสร็จแล้วนั้น ลงไปแช่ในกุดน้ำแห่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงและมอดมากัดอีก ในปีนั้น ชาวบ้านก็ได้พากันทำบุญ รู้สึกการทำบุญได้ลุล่วงไปได้ดี ต่อมาประมาณ  ปี ชาวบ้านดงหมูได้เกิดโรคระบาด เช่น อหิวา ท้องร่วง ชาวบ้านไม่มีปัญญาที่จะหายามารักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ก็เลยทำให้เด็กแรกเกิด -  10 ปี ตายเพราะโรคดังกล่าวถึง 10 คน ฉะนั้นชาวบ้านดงหมูก็เดือดร้อนทุกครัวเรือน ชาวบ้านก็เลยอพยพออกจากบ้านดงหมูอีกครั้งหนึ่ง ห่างจากดงหมูประมาณ 2,500 เมตร คือบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน (คือบ้านโนน) พอมาอยู่บ้านประมาณ 45 ปี มีทางราชการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านเพื่อขึ้นกับตำบลดอนตาลในปีนั้น ก็เลยตั้งชื่อบ้าน เป็นบ้านกุดแช่เม็งชาวบ้านได้เอานามเม็งลงไปแช่น้ำ เพื่อทำบุญ นั้นมาเป็นชื่อบ้านในสมัยนั้น ชาวตำบลดอนตาลจึงเรียกบ้านกุดแช่เม็ง (ปี 2370) หมู่ที่ 7 ต.ดอนตาล นายหนู เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาชาวบ้านกุดแซ่เม็งได้ขยายบ้านเรือนออกประมาณ 98 หลังคา ฉะนั้นราชการได้มองเห็นว่าบ้านนี้เป็นบ้านใหญ่การปกครองอาจไม่ทั่วถึง ก็เลยมาแยกบ้านกุดแซ่เม็งมาอีกหมู่ เป็น 2 หมู่บ้านเป็นหมู่ 7,8 ต.ดอนตาล อ.มุกดาหาร สำหรับหมู่ 7 นายท่อน  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 นายจา  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน พอมาถึง 2 หมู่บ้านแล้วได้มาเปลี่ยนชื่อบ้านเพื่อให้เหมาะสม เปลี่ยนออกจากกุดมาเป็น(นาแซ่เม็ง) ต่อมาทางราชการได้ประกาศตั้งตำบลนาแซ่เม็ง ตำบลนาแซ่เม็ง ต้องมีหมู่บ้านครบ 7 หมู่บ้านจึงจะเป็นตำบลได้ ในสมัยนั้นก็เลยจัดเลี้ยงหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ครบ 7 หมู่บ้านก็เลยตั้งบ้านนาแซ่เม็งหมู่ 7 มาเป็นหมู่ 1 หมู่ 8 มาเป็นหมู่ 2 ปัจจุบันพอมาถึงปี พ.ศ. 2515 เพื่อให้เรียกหมู่บ้านที่เหมาะสมกับเป็นตำบล ก็เลยมาเพี้ยนมาเป็นตำบล นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม (กำนันตำบลนาสะเม็งคนแรก ชื่อนายหวัน  คนไว เป็นกำนัน ต.นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม จากนั้นพากันสร้างวัดในปี 2361 ประมาณร้อยกว่าปีในปี 2526 ไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านในปี 2537 ถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้านในปี 2540 น้ำประปาเข้ามาหมู่บ้าน ปัจจุบัน หมู่ที่ 3 บ้านนาสะโน  มีนายอ่อนสี บุทธิจักร เป็นกำนัน ตำบลนาสะเม็ง

              

๒. ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของตำบลนาสะเม็ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตาลระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

                ทิศเหนือ ติดกับ  หมู่ที่ 2 บ.นาสะเม็ง            ทิศใต้ ติดกับ  หมู่ที่ 7 บ.โนนสะอาด

                ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 7 ต.ดอนตาล       ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 4 บ.นาหว้า

 ๓. ข้อมูลประชากร

                               จำนวนครัวเรือน    248   ครัวเรือน

                               จำนวนประชากร   925   คน

                               แยกเป็น   ชาย    472    คน   หญิง    453    คน

 ๔. แหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย   หนอง   คลอง  บึง ป่าไม้)

        ๑. ห้วยวังอี่                        

        ๒. ห้วยเชิงชาญ

        ๓. สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า           

        ๔. ห้วยถ้ำ

ด้านการปกครอง/การเมือง

      บ้านนาสะโน หมู่ที่  ๓  มีการแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  มี    ๑๓      คุ้ม  ดังนี้

     ๑.คุ้มสัมพันธ์มิตร        นายคำภูมี บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม    มี  22 ครัวเรือน  ประชากร     84    คน

     ๒. คุ้มวุฒิเจริญ           นายเลียง   ชาเสน        หัวหน้าคุ้ม   มี  23  ครัวเรือ     ประชากร     80    คน

     ๓. คุ้มไทยเจริญ          นางบัญหา  อ่อนภู่       หัวหน้าคุ้ม   มี    14  ครัวเรือน  ประชากร     50    คน

    ๔. คุ้มเพ็งปุณญศรี       นายสมศักดิ์ ปริปุรณะ หัวหน้าคุ้ม   มี  29  ครัวเรือน  ประชากร     96    คน

    ๕. คุ้มปิยะวงศ์            นายวิรัตน์  ชาสุรีย์       หัวหน้าคุ้ม   มี  20  ครัวเรือน  ประชากร     83    คน

    ๖. คุ้มวงศ์พระจันทร์  นายเทอญ บุทธิจักร          หัวหน้าคุ้ม   มี  8  ครัวเรือน  ประชากร     29    คน

    ๗. คุ้มโหง่นวงศ์วิจิตร นางจิตรา  คนไว          หัวหน้าคุ้ม   มี  12  ครัวเรือน   ประชากร    51    คน

   ๘. คุ้มอินทร์ศักดิ์สิทธิ     นายเสมอ คนยืน           หัวหน้าคุ้ม  มี  13    ครัวเรือน  ประชากร    43    คน

   ๙. คุ้มบัวขจรศักดิ์           นางเดือน    บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม  มี  11    ครัวเรือน  ประชากร    38    คน

   ๑๐. คุ้มประชาสุขสันต์    นายขาน  บุทธิจักร       หัวหน้าคุ้ม  มี  15   ครัวเรือน   ประชากร     64   คน

   ๑๑. คุ้มสีหราชเดโช         นายวีนัส  สุริศาสตร์    หัวหน้าคุ้ม  มี  22   ครัวเรือน   ประชากร     93   คน

  ๑๒. คุ้มเต๊ะจันทวงศ์         นายเด่น   ปาวงศ์         หัวหน้าคุ้ม  มี  17  ครัวเรือน   ประชากร     60    คน

  ๑๓. คุ้มศรีลาราชประสงค์ นางบุญสม ศรีลาศักดิ์ หัวหน้าคุ้ม  มี 19   ครัวเรือน   ประชากร    82    คน  

 

ด้านเศรษฐกิจ

                    ๑.  ประกอบอาชีพหลัก

                                -   ทำนา                                  จำนวน   300              ครัวเรือน

                                -  ทำสวน (ระบุ)   ยางพารา   จำนวน   60   ครัวเรือน

                                -  ด้านหัตถกรรม                   จำนวน    4  ครัวเรือน

                                -  ด้านค้าขาย                             จำนวน   13   ครัวเรือน

                                -  อื่น ๆ  (ระบุ)  รับจ้าง          จำนวน    3    ครัวเรือน

                 ๒. รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๖    จำนวน  ๓๔,๔๐๙  บาท/คน/ปี           

                  ๓.  กองทุน / กลุ่มอาชีพ / OTOP ที่ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

                        ๑. กทบ.  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                                 สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน ๑,๓๐๐,๐๐๐    บาท 

                        ๒. กข.คจ. ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                               สมาชิก ๖๐ คน       เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐    บาท

                        ๓. ร้านค้าชุมชน ดำเนินการ ปี ๒๕๓๘                      สมาชิก  ๒๖๐ คน    เงินทุน   ๓๒๐,๐๐๐  บาท   

                        ๔. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๙                   สมาชิก 51 คน        เงินทุน     ๔๐,๐๐๐    บาท 

                        ๕. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ปี ๒๕๔๖ สมาชิก  ๕๕๐ คน       เงินทุน  ๕๒๘๒๐๑๐   บาท 

                        ๖. กลุ่มทอผ้า  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๑                           สมาชิก ๓๐ คน       เงินทุน   ๓๐.๐๐๐     บาท    

                        ๗. กลุ่มจักสาน  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๐                        สมาชิก  ๑๕  คน     เงินทุน    ๓๐,๐๐๐  บาท

               

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                ๑.ห้วยวังอี่                          

                ๒.ห้วยเชิงชาญ

                ๓.สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า        

               ๔.ห้วยถ้ำ

                                                           

ด้านสังคม/วัฒนธรรม / ประเพณี

        ๑. ชาวบ้านในชุมชนหมูบ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ %  มีวัดบ้านนาสะโนเป็นศูนย์กลางศูนย์รวมจิตรใจ ให้มีความสามัคคี มีความเอื้ออารีย์ต่อกัน                               

        ๒. ชาวบ้านในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ สืบทอดกันมา อย่างยาวนาน เป็นประจำทุกปีมาตลอด             

        ๓. หมอลำพื้นบ้าน/ลำผญา(หมอลำผมหอม  สกุลไทย) ได้สืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลานตลอดมา                                                                                                               

                         คำขวัญ

ถิ่นกำเนิดลำผญา           เผาปลานาสะโน

บั้งไฟโก้สวยหรู             แข่งเรือตู้ตระการตา

 

  ชาวบ้านนาสะโน ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นหลักในการดำเนินวิถีชีวิต ดังนี้

         ๑.  ปลอดภัยในชีวี

                - การจัดกิจกรรมป้องกันยาเสพติด

                   ๑.กองทุนแม่ของแผ่นดิน

                   ๒.จัดตั้งเวรยาม

                 - มีการรณรงเตรียมความพร้อมรับภัยธรรมชาติ           

                - การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งสุดท้าย ร้อยละ ๙๑

            ๒. วิถีพอเพียง

                - กิจกรรม ลดรายจ่าย เพิ่มราย โครงการปลูกผักสวนครัว/  โครงการปลูกผักหน้าขาว   

                - มีการมีกลุ่มออมทรัพย์สามัคคี

               - มีกลุ่มอาชีพ OTOP ทอผ้ายอมคราม การทอเสื่อ การทอกระเป๋า

          ๓. อยู่เคียงธรรมชาติ

                - มีกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

                - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

                - มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน หมู่บ้าน ให้สวยงาม

           ๔. ออมเงินวัน ละบาท

              - มีกลุ่มออมทรัพย์สามัคคี ๑ กลุ่ม ดำเนินการปี   พ.ศ. ๒๕๔๖  มีสมาชิก  ๕๕๐  คน  เงินสัจจะสะสมทั้งหมด๔,๙๕๓,๑๕๒  บาท

           ๕. บ้านสะอาดเรียงราย

                จัดการประกวดคุ้ม ๑๓ คุ้มมีครัวเรือนตัวอย่าง คุ้มละ ๑ ครัวเรือน  ดังนี้

                ๑. คุ้มสัมพันธ์มิตร     นายธนโชค ซาผู

                ๒. คุ้มวุฒิเจริญ           นายทองศูนย์ จันทพันธ์

                ๓. คุ้มไทยเจริญ          นางปัญหา  อ่อนภู่

                ๔. คุ้มเพ็งปุณญศรี      นางประคอง  บุทธิจักร

               ๕. คุ้มปิยะวงศ์            นายวิรัตน์  ชาสุรีย์      

               ๖. คุ้มวงศ์พระจันทร์  นางหมอน  บุทธิจักร

               ๗. คุ้มโหง่นวงศ์วิจิตร นางจิตรา  คนไว         

               ๘. คุ้มอินทร์ศักดิ์สิทธิ   นายพูล ศรีลาศักดิ์

               ๙. คุ้มบัวขจรศักดิ์      นายเสาร์  บุทธิจักร      

               ๑๐. คุ้มประชาสุขสันต์    นายสว่าง ศรีลาศักดิ์

               ๑๑. คุ้มสีหราชเดโช         นางหนูฝิน พรหมเสนา

               ๑๒. คุ้มเต๊ะจันทวงศ์         นายเด่น   ปาวงศ์        

                ๑๓. คุ้มศรีลาราชประสงค์ นางสมคิด ศรีลาศักดิ์      

  ๖. อบายมุขลดละ

                - มีการส่งเสริมให้ชุมชน ลดละ เลิกอบายมุข

                - ห้ามเล่นการพนันในงานศพ

               - ไม่เลียงสุราในงานศพ 

 ๗. ธรรมะสุขหลาย

               - ส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา

               - มีกิจกรรมอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมชุมชน (ลำผญา หมอลำผมหอม  สกุลไทย)

                - มีกิจกรรมส่งเสริม สร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน

 ๘. ทำบัญชีรับ – จ่าย

                - จัดทำบัญชี รับ – จ่าย คิดเป็น ร้อยละ  ๓๐

               -  มีศูนย์การเรียนรู้แหล่งให้ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

๙. ออกกำลังกายทุกยาม

             - มีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน

                ๑.ส่งเสริมการออกกำลังกาย

                ๒.ตรวจ คัด กรองสุขภาพคนในชุมชน ความดัน เบาหวาน

                ๓.ส่งเสริมกิจกรรมป้องกันรักษาสุขภาพชุมชน เช่น การกำจัด     ยุงลาย  รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ กินร้อน ซ้อนกลาง ล้างมือ

   

รายชื่อครัวเรือนเป้าหมาย

    ๑. นายอ่อนสี บุทธิจักร

    ๒. นายเสมอ คนยืน

    ๓. นายทอน คนไว

    ๔. นางนฤมล คนไว

    ๕. พัณนิดา ปริปุรณะ

    ๖. นายปั้น บุทธิจักร

    ๗. นางวาสนา คนยง

    ๘. นางสมคิด ศรีลาศักดิ์

    ๙. นางสุจิตรา คนไว

    ๑๐. นางน้อย สราญรมย์

    ๑๑. นายเด่น ปาวงศ์

   ๑๒. นายคำภูมี บุทธิจักร

   ๑๓. นางบัวไล พรหมเสนา

   ๑๔. นางติ๋มวัน ศรีลาศักดิ์

   ๑๕. นางแสน โพธิ์ไทร

    ๑๖. นายเจริญ ปาวงศ์

   ๑๗.นางเสนียม พรหมเสนา

   ๑๘. นางบุญหลาย ศรีลาศักดิ์

   ๑๙. นางนาท คนไว

   ๒๐. นางประเสริฐ ซาผู

   ๒๑. นางสีใด พิกุลศรี

  ๒๒. น.ส.กัญญารัตน์ น้อยบาด

  ๒๓. นายเลียง ซาเสน

  ๒๔. นายชู พิกุลศรี

  ๒๕. นายประเสริฐ พรหมเสนา

  ๒๖. น.ส.กมลวรรณ ปริปุรณะ

  ๒๗. นางไกล นานาฤทัย

  ๒๘. นางพะยอม แสงสิงห์

  ๒๙. นายทองสุข ชมพูวิเศษ

 ๓๐. นางดนภา สกุลไทย

  ๓๑. นางพรพิพัฒน์ ศรีลาศักดิ์

  ๓๒. นางหมอน บุทธิจักร

  ๓๓. นางสมาน บุทธิจกร

  ๓๔. นางสำเริง ปริปุรณะ

  ๓๕. นางผมหอม สกุลไทย

  ๓๖. นางวัฒนา ชาสุรีย์

  ๓๗. นางบัวศรี ศรีลาศักดิ์

  ๓๘. นายสว่าง ศรีลาศักดิ์

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view