http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,581
เปิดเพจ84,961
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

กลุ่มออมทรัพย์ฯ

สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

ข้อมูลหมู่บ้านโครงการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

อำเภอดอนตาลมีหมู่บ้านโครงการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต    จำนวน 16  หมู่บ้าน

 

กลุ่มออมทรัพย์ฯ

          กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตั้งแต่  พ.ศ. 2517 โดยการนำของศาสตราจารย์ ดร. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดของสหกรณ์การเกษตรเครดิตยูเนี่ยน และสินเชื่อเพื่อการเกษตร


          กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2517 ที่บ้านในเมือง หมู่ 3 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล และบ้านขัวมุง หมู่ 6 ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ดำเนินการภายใต้ปรัชญา “ใช้หลักการออมทรัพย์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน” ทำให้คนมีคุณธรรม  5 ประการ คือ

          1) ความซื่อสัตย์

          2) ความเสียสละ

          3) ความรับผิดชอบ

          4) ความเห็นอกเห็นใจ

          5) ความไว้วางใจในหมู่สมาชิก


           เงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนำมาดำเนินกิจกรรม 4 ด้าน

           1) แหล่งเงินทุนประกอบอาชีพ

           2) ดำเนินธุรกิจแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน

           3) การสงเคราะห์และสวัสดิการ

          4) พัฒนาศักยภาพกรรมการและสมาชิก



แบบรายงานการเพิ่มขึ้นของเงินสัจจะสะสมของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ตัวชี้วัด 1.1.1 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้าน
อำเภอ ดอนตาล  จังหวัด มุกดาหาร
ที่ ชื่อกลุ่ม หมู่ที่ ตำบล ยอดเงินสัจจะสะสม ยอดเงินสัจจะสะสม ยอดเงินสัจจะสะสม
            เพิ่มขึ้น/เดือน
1 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหนองหล่ม 3 โพธิ์ไทร       4,739,460          5,465,680           105,220   
2 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านโคก 4 โพธิ์ไทร          353,240            376,020              4,240   
3 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาโพธิ์ 6 โพธิ์ไทร          227,840            274,520              7,840   
4 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหนองเม็ก 3 ป่าไร่          310,550            387,950             11,360   
5 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านห้วยทราย 7 ป่าไร่          212,730            262,290              6,040   
6 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านท่าห้วยคำ 7 เหล่าหมี          380,270            448,720             11,680   
7 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนายอ 9 เหล่าหมี          708,140            748,860              6,820   
8 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาซิง 4 เหล่าหมี       1,525,170          1,670,340             23,840   
9 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม 6 บ้านบาก          130,960            259,930              1,860   
10 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม(1) 6 บ้านบาก          172,400            179,100              1,200   
11 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม 7 บ้านบาก          232,060            268,580              6,180   
12 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาสะโน 3 นาสะเม็ง          757,280            833,900             12,780   
13 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านโคกพัฒนา 5 นาสะเม็ง          141,426            184,266              7,460   
14 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหนองกระยัง 6 นาสะเม็ง          110,280            131,760              3,220   
15 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาคำน้อย 4 บ้านแก้ง          221,470            271,270              7,820   
16 กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูวง 5 บ้านแก้ง          231,340            271,790              6,360   
หมายเหตุ      10,778,766         12,407,486           232,280   

ที่

ชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่

ตำบล

ผลการขึ้นทะเบียน

1

กลุ่มออมทรัพย์ฯ บ้านโคก

4

โพธิ์ไทร

ประเภทที่ 2      

2

กลุ่มออมทรัพย์ฯ หนองหล่ม

3

โพธิ์ไทร

ประเภทที่ 2

3

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาโพธิ์

6

โพธิ์ไทร

ประเภทที่ 2      

4

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหนองเม็ก

3

ป่าไร่

ประเภทที่ 2

5

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านห้วยทราย

7

ป่าไร่

ประเภทที่ 2      

6

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านท่าห้วยคำ

7

เหล่าหมี

ประเภทที่ 1

7

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนายอ

9

เหล่าหมี

ประเภทที่ 2      

8

กลุ่มออมทรัพย์ฯนาซิง

4

เหล่าหมี

ประเภทที่ 1

9

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม

6

บ้านบาก

ประเภทที่ 1      

10

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม (1)

6

บ้านบาก

ประเภทที่ 2

11

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูล้อม

7

บ้านบาก

ประเภทที่ 1      

12

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาสะโน

3

นาสะเม็ง

ประเภทที่ 2

13

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านโคกพัฒนา

5

นาสะเม็ง

ประเภทที่ 2      

14

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านหนองกระยัง

6

นาสะเม็ง

ประเภทที่ 2

15

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านนาคำน้อย

4

บ้านแก้ง

ประเภทที่ 2      

16

กลุ่มออมทรัพย์ฯบ้านภูวง

5

บ้านแก้ง

ประเภทที่ 2

 

สรุปผลการขึ้นทะเบียนกลุ่มออมทรัพย์ อำเภอดอนตาล

ประเภทที่ 1 จำนวน 4 กลุ่ม

ประเภทที่ 2 จำนวน 12 กลุ่ม

 

ปีงบประมาณ 2558 มีการตรวจสุขภาพ จำนวน 3 กลุ่ม

เอกสารถอดบทเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

“อยู่เย็น  เป็นสุข” ปี ๒๕๕๖

บ้านนาสะโน  หมู่ที่  

ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล   จังหวัดมุกดาหาร

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติหมู่บ้าน  

เดิมที อพยพมาจากเมืองเซโปน ประเทศลาว ในปี พ.ศ.2300  ผู้นำการอพยพได้แก่ ท้าวกามบัวคำ แรกมาอยู่ดงหมู ดงหมูนี้มีสัตว์ป่ามาก ที่ทำนาก็เยอะ ก็เลยตั้งบ้านอันดับแรกอยู่ที่ดงหมู อยู่ดงหมูได้ประมาณ  ปี ชาวบ้านต้องการจะทำบุญประจำปีในบ้านดงหมู ชาวบ้านก็ได้แต่งกันไปหาไม้ไผ่มาทำตะแค่เป็นเม็ง เพื่อรองรับกองบุญและเครื่องบริขาร ที่ทำบุญ พอทำเม็งเสร็จได้ประมาณ  วัน ก็มีแมลงและมอดมากัดเม็งที่ชาวบ้านได้สร้างเอาไว้เพื่อทำบุญประจำปี ชาวบ้านดงหมูก็พากันเอาเม็งที่ได้สร้างเสร็จแล้วนั้น ลงไปแช่ในกุดน้ำแห่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงและมอดมากัดอีก ในปีนั้น ชาวบ้านก็ได้พากันทำบุญ รู้สึกการทำบุญได้ลุล่วงไปได้ ต่อมา ชาวบ้านก็เลยอพยพออกจากบ้านดงหมูอีกครั้งหนึ่ง ห่างจากดงหมูประมาณ 2,500 เมตร คือบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน (คือบ้านโนน) พอมาอยู่บ้านประมาณ 45 ปี มีทางราชการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านเพื่อขึ้นกับตำบลดอนตาลในปีนั้น ก็เลยตั้งชื่อบ้าน เป็นบ้านกุดแช่เม็งชาวบ้านได้เอานามเม็งลงไปแช่น้ำ เพื่อทำบุญ นั้นมาเป็นชื่อบ้านในสมัยนั้น ชาวตำบลดอนตาลจึงเรียกบ้านกุดแช่เม็ง (ปี 2370) หมู่ที่ 7 ต.ดอนตาล นายหนู เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาชาวบ้านกุดแซ่เม็งได้ขยายบ้านเรือนออกประมาณ 98 หลังคา ฉะนั้นราชการได้มองเห็นว่าบ้านนี้เป็นบ้านใหญ่การปกครองอาจไม่ทั่วถึง ก็เลยมาแยกบ้านกุดแซ่เม็งมาอีกหมู่ เป็น 2 หมู่บ้านเป็นหมู่ 7,8 ต.ดอนตาล อ.มุกดาหาร สำหรับหมู่ 7 นายท่อน  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 นายจา  คนไว เป็นผู้ใหญ่บ้าน พอมาถึง 2 หมู่บ้านแล้วได้มาเปลี่ยนชื่อบ้านเพื่อให้เหมาะสม เปลี่ยนออกจากกุดมาเป็น(นาแซ่เม็ง) ต่อมาทางราชการได้ประกาศตั้งตำบลนาแซ่เม็ง ตำบลนาแซ่เม็ง ต้องมีหมู่บ้านครบ 7 หมู่บ้านจึงจะเป็นตำบลได้ ในสมัยนั้นก็เลยจัดเลี้ยงหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ครบ 7 หมู่บ้านก็เลยตั้งบ้านนาแซ่เม็งหมู่ 7 มาเป็นหมู่ 1 หมู่ 8 มาเป็นหมู่ 2 ปัจจุบันพอมาถึงปี พ.ศ. 2515 เพื่อให้เรียกหมู่บ้านที่เหมาะสมกับเป็นตำบล ก็เลยมาเพี้ยนมาเป็นตำบล นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม (กำนันตำบลนาสะเม็งคนแรก ชื่อนายหวัน  คนไว เป็นกำนัน ต.นาสะเม็ง อ.ดอนตาล จ.นครพนม จากนั้นพากันสร้างวัดในปี 2361 ประมาณร้อยกว่าปีในปี 2526 ไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้านในปี 2537 ถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้านในปี 2540 น้ำประปาเข้ามาหมู่บ้าน ปัจจุบัน หมู่ที่ 3 บ้านนาสะโน  มีนายอ่อนสี บุทธิจักร เป็นกำนัน ตำบลนาสะเม็ง

๒. ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของตำบลนาสะเม็ง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตาลระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

                ทิศเหนือ ติดกับ  หมู่ที่ 2 บ.นาสะเม็ง           

                 ทิศใต้ ติดกับ  หมู่ที่ 7 บ.โนนสะอาด

                ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 7 ต.ดอนตาล      

                ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 4 บ.นาหว้า

 ๓. ข้อมูลประชากร

              จำนวนครัวเรือน    248   ครัวเรือน

              จำนวนประชากร   925   คน

               แยกเป็น   ชาย    472    คน   หญิง    453    คน 

 ๔. แหล่งน้ำธรรมชาติ (ห้วย   หนอง   คลอง  บึง ป่าไม้)

      ๑.ห้วยวังอี่                        

      ๒.ห้วยเชิงชาญ

      ๓.สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า           

      ๔.ห้วยถ้ำ

ด้านการปกครอง/การเมือง

      บ้านนาสะโน หมู่ที่  ๓  มีการแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  มี    ๑๓      คุ้ม  ดังนี้

     ๑.คุ้มสัมพันธ์มิตร     นายคำภูมี บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม    มี  22 ครัวเรือน  ประชากร     84    คน

    ๒. คุ้มวุฒิเจริญ           นายเลียง   ชาเสน        หัวหน้าคุ้ม   มี  23  ครัวเรือ     ประชากร     80    คน

    ๓. คุ้มไทยเจริญ          นางบัญหา  อ่อนภู่       หัวหน้าคุ้ม   มี    14  ครัวเรือน  ประชากร     50    คน

    ๔. คุ้มเพ็งปุณญศรี      นายสมศักดิ์ ปริปุรณะ หัวหน้าคุ้ม   มี  29  ครัวเรือน  ประชากร     96    คน

    ๕. คุ้มปิยะวงศ์            นายวิรัตน์  ชาสุรีย์       หัวหน้าคุ้ม   มี  20  ครัวเรือน  ประชากร     83    คน

    ๖. คุ้มวงศ์พระจันทร์  นายเทอญ บุทธิจักร          หัวหน้าคุ้ม   มี  8  ครัวเรือน  ประชากร     29    คน

    ๗. คุ้มโหง่นวงศ์วิจิตร นางจิตรา  คนไว          หัวหน้าคุ้ม   มี  12  ครัวเรือน   ประชากร    51    คน

   ๘. คุ้มอินทร์ศักดิ์สิทธิ     นายเสมอ คนยืน           หัวหน้าคุ้ม  มี  13    ครัวเรือน  ประชากร    43    คน

   ๙. คุ้มบัวขจรศักดิ์           นางเดือน    บุทธิจักร    หัวหน้าคุ้ม  มี  11    ครัวเรือน  ประชากร    38    คน

   ๑๐. คุ้มประชาสุขสันต์    นายขาน  บุทธิจักร       หัวหน้าคุ้ม  มี  15   ครัวเรือน   ประชากร     64   คน

   ๑๑. คุ้มสีหราชเดโช         นายวีนัส  สุริศาสตร์    หัวหน้าคุ้ม  มี  22   ครัวเรือน   ประชากร     93   คน

  ๑๒. คุ้มเต๊ะจันทวงศ์         นายเด่น   ปาวงศ์         หัวหน้าคุ้ม  มี  17  ครัวเรือน   ประชากร     60    คน

  ๑๓. คุ้มศรีลาราชประสงค์ นางบุญสม ศรีลาศักดิ์ หัวหน้าคุ้ม  มี 19   ครัวเรือน   ประชากร    82    คน  

 

ด้านเศรษฐกิจ

     ชาวบ้านนาสะโน ประกอบอาชีพหลัก-   ทำนา  ทำสวน            จำนวน   ๒๓๑              ครัวเรือน

     รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๖ จำนวน  ๓๔,๔๐๙  บาท/คน/ปี           

     กองทุน / กลุ่มอาชีพ / OTOP ที่ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

                        ๑. กทบ.  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                             สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน ๑,๓๐๐,๐๐๐     บาท 

                        ๒. กข.คจ. ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                            สมาชิก ๖๐ คน       เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐   บาท

                        ๓. ร้านค้าชุมชน ดำเนินการ ปี ๒๕๓๘                      สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน   ๓๒๐,๐๐๐     บาท   

                        ๔. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๙                   สมาชิก 51 คน        เงินทุน     ๔๐,๐๐๐  บาท

                       ๕. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ปี ๒๕๔๖ สมาชิก  ๕๕๐ คน  เงินทุน  ๕๒๘๒๐๑๐   บาท 

                        ๖. กลุ่มทอผ้า  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๑                           สมาชิก ๓๐ คน       เงินทุน   ๓๐.๐๐๐  บาท    

                        ๗. กลุ่มจักสาน  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๐                        สมาชิก  ๑๕  คน     เงินทุน   ๓๐,๐๐๐  บาท           

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                ๑.ห้วยบังอี่                          

                ๒.ห้วยเชิงชาญ

                ๓.สถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า        

                ๔.ห้วยถ้ำ

         ด้านสังคม/วัฒนธรรม / ประเพณี

          ๑. ชาวบ้านในชุมชนหมูบ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ %  มีวัดบ้านนาสะโนเป็นศูนย์กลางศูนย์รวมจิตรใจ ให้มีความสามัคคี มีความเอื้ออารีย์ต่อกัน                              

          ๒. ชาวบ้านในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นประจำทุกปีมาตลอด             

          ๓. หมอลำพื้นบ้าน/ลำผญา(หมอลำผมหอม  สกุลไทย) ได้สืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลานตลอดมา                                                                                                               

บ้านนาสะโน หมู่ที่ ๓ ตำบลนาสะเม็ง  ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาหมู่บ้าน โดยมีผลงานพอสรุปได้ดังนี้ 

ด้านสังคม/วัฒนธรรม / ประเพณี

        ๑. ชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ % มีวัด เป็นศูนย์กลาง ศูนย์รวมจิตรใจ ให้มีความสามัคคี มีความเอื้ออารีย์ต่อกัน               

        ๒.ชาวบ้านในชุมชนยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฮีต ๑๒ ครอง ๑๔ สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นประจำทุกปีตลอดมา  การดำเนินงานตามนโยบายจังหวัดมุกดาหาร ปี ๒๕๕๖ โครงการ  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น  เป็นสุข 

       ๓.บ้านนาสะโนมีการจัดประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ ๑-๔ ของเดือน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้าน และรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชน และทำให้คนในชุมชนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งชาวบ้านจะให้ความสำคัญ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในประชุม

       ๔.จัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน/ทบทวนแผนชุมชน ๑ – ๒  ครั้ง /ป

       ๕. ชุมชนมีการจัดการกับปัญหายาเสพติด ๔ กิจกรรม

                      - การจัดเวรยามเฝ้าระวังยาเสพติด

                      - การแข่งขันกีฬายาเสพติด

                      - การรณรงค์ป้องกันปัญหายาเสพติด

        ๖. ชุมชนมีกระบวนการส่งเสริม การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา

ด้านเศรษฐกิจ 

๑. การประกอบอาชีพ

    อาชีพหลัก

          -  ทำนา           จำนวน           ๒๓๑    ครัวเรือน

    อาชีพเสริม

          -  ทำสวน (ระบุ)   ยางพารา               จำนวน           ๖๙      ครัวเรือน                    

         -  ทำสวน (ระบุ)   มันสำปะหลัง           จำนวน           ๕๓      ครัวเรือน

         -  ทำไร่ (ระบุ)     อ้อย                      จำนวน           ๔๘       ครัวเรือน

         -  ด้านหัตถกรรม                              จำนวน          ๑๔        ครัวเรือน

          -  ด้านค้าขาย                                 จำนวน           ๙        ครัวเรือน

           - รับจ้างทั่วไป                                 จำนวน        ๒๐       ครัวเรือน

๒ .รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๖  จำนวน  ๕๙,๓๔๒ บาท/คน/ปี              

๓. กองทุน / กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน   ประกอบด้วย

            ๑. กทบ.  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                       สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน ๑,๓๐๐,๐๐๐   บาท 

            ๒. กข.คจ. ดำเนินการ ปี ๒๕๔๔                      สมาชิก ๖๐ คน      เงินทุน    ๒๘๐,๐๐๐   บาท

            ๓. ร้านค้าชุมชน ดำเนินการ ปี ๒๕๓๘                สมาชิก  ๒๖๐ คน   เงินทุน   ๓๒๐,๐๐๐  บาท   

            ๔. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ  ดำเนินการ ปี ๒๕๔๙            สมาชิก ๕๑ คน   เงินทุน  ๔๐,๐๐๐  บาท 

            ๕. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ปี ๒๕๔๖ สมาชิก  ๕๕๐ คน  เงินทุน  ๕๒๘๒๐๑๐   บาท 

            ๖. กลุ่มทอผ้า  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๑                  สมาชิก ๓๐ คน    เงินทุน   ๓๐.๐๐๐     บาท    

            ๗. กลุ่มจักสาน  ดำเนินการ ปี ๒๕๕๐                    สมาชิก  ๑๕  คน     เงินทุน     ๓๐,๐๐๐              บาท       

การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน

         ๑.กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์  มี ๑๕๐ ครัวเรือน  เสียชีวิตเก็บครัวเรือนละ ๑๐๐ บาท  ได้รับเงินสงเคราะห์ต่อราย รวมเป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐ บาท  

        ๒.กลุ่มออมทรัพย์ฯ

          - กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ๕ %

          - สวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก

            ๑. ตาย ศพละ ๕,๐๐๐ บาท

            ๒.นอนโรงพยาบาล  คืนละ ๒๐๐ บาท ไม่เกิน ๑๒ คืน/ปี ( ๒,๔๐๐ บาท)

ด้านการเรียนรู้                                                                                                                                  

๑.มีจุดเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้

          -  จุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนนายพรชัย  ศรีลาศักดิ์

          - จุดเรียนรู้ด้านเงินทุน (กลุ่มออมทรัพย์ฯ กทบ.)

          -  จุดเรียนรู้ด้านสานอาชีพ  ทอผ้าย้อมคราม

          -   จุดเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม พื้นบ้าน ลำผญา นางผมหอม  สกุลไทย

๒. มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และแผนชุมชน ในการพัฒนาหมู่บ้าน ดังนี้

            ๑.การใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ. ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ของบ้านนาสะโน

                - การดำเนินงานส่งเสริมการออมในการครัวเรือนที่ตกเกณฑ์เรื่องการออม จำนวน  ๘๓ ครัวเรือน  โดยคณะทำงานฯ ได้มาดำเนินการค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา      ชี้เป้าปัญหา และสร้างความเข้าใจผู้นำชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย แนะนำให้มีการออมเพื่อเป็นสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ

            ๒.การนำแผนชุมชนไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน ดังนี้

                - โครงการที่ชุมชนทำเอง เช่น จัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน , จัดงานประเพณีบุญประจำปี ,การปลูกพืชผักสวนครัวลดรายจ่าย, การพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ ,การจัดเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน ฯลฯ

               - โครงการที่หน่วยงานสนับสนุน เช่น โครงการขยายไฟฟ้าแรงต่ำ (อบต.)

           ๓. มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าหมู่บ้าน มีกระบวนการสืบค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่   และเรียนรู้จากความรู้หรือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่า เช่น การทอผ้าย้อมคราม   วัฒนธรรมพื้นบ้าน (ลำผญา)

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      ๑.  ลำห้วยบังอี่ ขนาดโดยเฉลี่ยกว้าง   ๑๕  เมตร  ยาว    ลึก  ๑๐  เมตร

      ๒.ห้วยเชิงชาญ

      ๓.ป่าชุมชนบ้านนาสะโน   

      

โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจต้นแบบ บ้านนาสะโน หมู่ที่ ๓

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนา

          ๑.๑ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๓๐ ครัวเรือน

         ๑.๒ การศึกษาดูงานแหล่งเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ๒ แห่ง

              - ศึกษาดูงานบ้านด่านมน  ตำบลนิคมคำสร้อย  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

              - ศึกษาดูงานบ้านภู ตำบลบ้านเป้า   อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร

กิจกรรมที่ ๒ การเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          ๒.๑ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครอบครัวและชุมชน และการประเมินความสุขมวลรวม

การประเมินความ อยู่เย็น เป็นสุข หรือความสุขของหมู่บ้าน

          สรุปและวิเคราะห์ผลการประเมิน ความสุขของหมู่บ้าน  ได้รวมคะแนน ทั้ง ๖ หมวด ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย ๔.๕๘   คิดเป็นร้อยละ ๙๑  เกณฑ์ความอยู่เย็นเป็นสุขที่ระดับ อยู่ดี มีสุข  

กิจกรรมที่ ๓ สาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

          ๓.๑ กิจกรรมส่งเสริมสืบสานวัฒนธรรมการเล่นดนตรีพื้นเมือง

          ๓.๒ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (เสื้อเย็บมือ)

กิจกรรมที่ ๔ การสร้างระบบบริหารจัดการชุมชน

 

          แผนงาน/โครงการที่ดำเนินงานในหมู่บ้าน/ชุมชน

๑. หมู่บ้าน/ชุมชนดำเนินการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพองเพียง โดยส่งเสริมครัวเรือน/คนในชุมชนประพฤติ ปฏิบัติตนให้ดำเนินวิถีชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน ในเงื่อนไขความรู้ควบคู่กับคุณธรรม ได้ดำเนินการมาโดยตลอดและต่อเนื่อง

๒. เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของคนในหมู่บ้าน หมู่บ้านข้างเคียงหรือหมู่บ้านอื่นๆ

 

 

 

แบบประเมินการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบ

ชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต........บ้านนาสะโน.....................

ที่ตั้ง เลขที่.....................หมู่ที่....๓.......บ้าน..........นาสะโน...........ตำบล....นาสะเม็ง  อำเภอ......ดอนตาล

ด้านเกณฑ์การประเมิน

ตัวชี้วัดที่

ผลการประเมิน

 

 

ผ่าน

ไม่ผ่าน

S: Standard (10 ตัวชี้วัด)

1. ดำเนินงานโดยยึดหลักคุณธรรม5 ประการ

/

 

มาตรฐานตามแนวทางที่กรม

(ความซื่อสัตย์, เสียสละ,ความรับผิดชอบ, ความเห็นอกเห็นใจ

 

 

การพัฒนาชุมชนกำหนด

ความไว้วางใจ)

 

 

 

2. มีอาคารสถานที่ใช้ประโยชน์สาธารณะร่วมกันชัดเจน

  /

 

 

มีป้ายชื่อกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และป้ายแสดงข้อมูล

 

 

 

ที่ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน

 

 

 

3. ฝากถอนเงินผ่านระบบสถาบันทางการเงินที่ถูกต้องตาม

/

 

 

กฎหมาย

 

 

4. จัดประชุมสามัญประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง

/

 

5. ตั้งคณะกรรมการ ครบ 4 ฝ่ายและมีการประชุมทุกเดือน

/

 

 

6. จัดทำระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นปัจจุบัน

/

 

 

7. สมาชิกส่งเงินสัจจะสะสมสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน

/

 

 

8. เก็บดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

/

 

 

ร้อยละ 15 ต่อปี

 

 

 

9. จัดทำระบบบัญชีเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบได้

/

 

 

10. จัดทำงบกำไรขาดทุน งบดุล และมีการจัดสรรผลกำไร

/

 

 

ตามระเบียบฯ อย่างน้อยปีละครั้ง

 

 

M: Management

11. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินสุขภาพด้าน

/

 

การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการครบทุกข้อ (ข้อ5-14)

 

 

 

12. แสวงหาและนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้สนับสนุน

/

 

 

กลุ่มอาชีพ อย่างน้อย 1 กลุ่ม

 

 

13. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

 

/

 

14. จัดสวัสดิการการให้สมาชิกอย่างน้อย 9 กิจกรรม

 

    /

 

A : Attitude

15. ส่งเสริมสมาชิกเข้าเป็นกรรมการรุ่นใหม่

     /

 

การสร้างกระบวนการเรียนรู้การ

16. ส่งเสริมการเพิ่มสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

     /

 

ยอมรับและความศรัทธา

17. จัดกิจกรรมยกย่องและเชิดชูเกียรติให้กับสมาชิก

     /

 

  ด้านเกณฑ์การประเมิน

                                  ตัวชี้วัดที่

   ผ่าน

 ไม่ผ่าน

 R : Redevelopment

18. พัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชี ส จ ร ให้เป็น

/

การทบทวนและพัฒนารูปแบบการ

บัญชีอิเลคทรอนิคส์

๑๙. จัดทำแผนแก้ไขหนี้นอกระบบ

 

   /

บริหารจัดการเพื่อความก้าวหน้า

20. จัดกิจกรรมเครือข่ายเชิงธุรกิจ อย่างน้อย 2 กิจกรรม

     /

    

5. T : Teaching

21. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้กับกลุ่ม/องค์กรอื่นๆ

     /

 

การจัดการความรู้และสามารถ

22. จัดเวทีเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้

     /

 

ถ่ายทอดองค์ความรู้ขยายแนวคิด

ขยายผลสู่กลุ่ม/องค์กรอื่นๆ ลักษณะพี่สอนน้อง

   

 

สู่ชุมชนอื่น

23. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ เช่น ซีดี แผ่นพับ

     /

 

                                ลงชื่อ..........................................................ผู้ประเมิน

                                      (......นางวิไลวรรณ  เรืองเทศ....)

                                ตำแหน่ง.....นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

 

ถอดบทเรียน

มชช.ปี ๒๕๕๗

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

บ้านภูล้อม  หมู่ที่ 6

ตำบลบ้านบาก  อำเภอดอนตาล

จังหวัดมุกดาหาร

ส่วนที่  1  สภาพทั่วไป

( 1 ) สภาพทั่วไป

1.1ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

              บ้านภูล้อม   หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านบาก  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร  ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.  2409  เดิมมีราษฎร  4   ครอบครัว คือ ครอบครัว               นายอำคา  สีมืด นายจัน  แดงบุตร , นายโหง่น  บันตะบอนและนายป้อม  ปุกจิตร ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบเนินเขา  ซึ่งห่างจากบ้านบาก ประมาณ 6 กิโลเมตร หลังจากนั้นมีราษฎรจากที่ต่างๆ อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2498 ทางราชการจึงได้ตั้งบ้านภูล้อมขึ้นเป็นหมู่บ้านโดยมีนายหมุ่ย ผิวเหลืองเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และขอแยกการปกครองเป็น 2 หมู่ คือ บ้านภูล้อมหมู่ 6 และบ้านภูล้อมหมู่ 7 จนถึงทุกวันนี้

1.2  ที่ตั้ง   บ้านภูล้อม  หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านบาก  ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอดอนตาลจ. มุกดาหาร  ห่างจากอำเภอดอนตาลประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด ประมาณ  53 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2277  ระหว่างอ. ดอนตาล อ. เลิงนกทา จังหวัดยโสธร

1.3   ลักษณะภูมิประเทศ  

                 บ้านภูล้อมหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านบาก อ. ดอนตาล จังหวัดมุกดาหารภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา  และที่ลุ่มมีลำห้วยแอ่งน้ำมีน้ำซับตลอดทั้งปี  และมีภูเขาล้อมรอบ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

1.4  อาณาเขต

              -  ทิศเหนือ           ติดต่อกับ      บ้านภูผาหอม ตำบลนาสะเม็ง

              -   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ      บ้านภูล้อม  หมู่ที่ 7 ต. บ้านบาก

              -  ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ      บ้านบาก  ตำบลบ้านบาก

              -   ทิศใต้            ติดต่อกับ       เขตอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

1.5   ด้านการปกครองประกอบด้วย

-    ได้รับการประกาศหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกจนถึงปัจจุบัน

       ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1 คือ นายหมุ่ย   ผิวเหลือง

       ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือ นายริณ   แดงบุตร

       ผู้ใหญ่บ้านคนที่  3 คือ นายบุญมา   พิกุลทอง 

       ผู้ใหญ่บ้านคนที่  4 คือ นายคูณ  ราชการ

       ผู้ใหญ่บ้านคนที่  5 คือ นายลม  ผิวงาม

-     ตามลักษณะการปกครองท้องถิ่นเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน เจ็ดหมู่บ้านของตำบลบ้านบาก โดยพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบาก

คณะกรรมหมู่บ้าน /ผู้นำชุมชน

 

        ๑. นายลม  ผิวงาม                            ผู้ใหญ่บ้าน

        ๒. นายธีรยุทธ  เหล่าบัวดี                    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

        ๓ .นายทองไคร    โนรี                       ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

        ๔. นายหนั่น   สุทโท                         ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

        ๕. นายประจักร   ไชยพันธ์                   ผู้นำ อช./ส.อบต.

        ๖. นายบุญเกิด   ขันทอง                     ส.อบต.บ้านบาก

        ๗. นส.วรรณภา   สีมืด                        ผู้นำ อช./กรรมการสถาบัน ฯ

        ๘. นายบุญมา   พิกุลทอง                    ประธานสถาบัน ฯ

        ๙. นายลม   ผิวงาม                           ประธานร้านค้าชุมชน

        10.นางมะลัยวัน  บุทธิจักร                      ประธานสตรี

        11.นายนุ่ม  ปิยะนิยม                            ปราชญ์ชาวบ้าน

        12.นางกว้าง  ประทุมมัง                       ส.อบต.บ้านบาก/ผู้แทนคณะกรรมการกองทุนพัฒนา

                                                              บทบาทสตรีบ้านภูล้อม

1.6   ด้านเศรษฐกิจ  

                ประชากร   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก  ได้แก่การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และอาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพรับจ้าง เก็บหาของป่าจากแหล่งธรรมชาติ บริเวณภูเขาและแหล่งน้ำใกล้หมู่บ้านเพื่อการยังชีพ เช่น หาหน่อไม้

เห็ด พืชผัก กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ป่าอื่นๆ

         พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สำคัญได้แก่ ข้าว มันสำประหลัง อ้อย ยางพารา พริก   มะละกอ  กล้วย รายได้เฉลี่ยทั้งหมู่บ้าน 38,560 บาท/คน/ปี (ข้อมูล จปฐ. ปี 2557)

1.7ด้านสังคมประกอบด้วยจำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากร

            -   จำนวนครัวเรือนทั้งหมด     73    ครัวเรือน

            -   จำนวนประชากรทั้งหมด   356    คน

                ชาย     150      คน

                หญิง    206      คน

            -  การศึกษา  มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง เป็นโรงเรียนที่ใช้บริการร่วมกัน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 บ้านภูล้อม เปิดสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล ถึง ป. 6 นักเรียนจำนวน 116 คน ครู 9 คน (ผอ. 1 คน  ครู 6 คน  ครูอัตราจ้าง 2 คน) นักการ 1 คน

            -  ศาสนา  ประชากรนับถือศาสนาพุทธทุกครัวเรือน มีวัด จำนวน 1 แห่ง  มี  พระสงฆ์จำนวน 1 รูป และสำนักสงฆ์ 1 แห่ง พระสงฆ์ 1 รูป

           - สถานีอนามัยจำนวน 1 แห่ง (เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข 1 คน ลูกจ้าง 1 คน)

1.8 กลุ่มองค์กร/ชุมชน   

        (1.) กองทุนหมู่บ้าน  เงินทุน 1,247,600 บาท สมาชิก 76 คน

        (2.) กองทุนโครงการ  

        (3.) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เงินสัจจะสะสม 220,450 บาท สมาชิก 108 คน

        (4.) กลุ่มออมทรัพย์สัจจะของสมาชิก สพช. เงินสัจจะสะสม 72,600 บาท สมาชิก 83 คน  

        (5.) ธนาคารข้าว

        (6.) องค์กรสตรี และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

        (7.) กลุ่มเยาวชน

        (8.) กลุ่มเกษตรธรรมชาติ (ปลูกพืชปลอดสารพิษ ผลิต ปุ๋ย ชีวภาพ และอื่นๆ )

1.9  โครงสร้างพื้นฐาน

          -   ถนนลาดยาง จากอำเภอ ถึงหมู่บ้านระยะทาง 20 กม.

          -   ถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน  2 กม.

          -   ระบบรองระบายน้ำคอนกรีตในหมู่บ้าน

          -   ศาลาประชาคม  21 แห่ง

          -   ไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน

          -   ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง  ใช้น้ำครบทุกครัวเรือน

          -   ตลาดกลางสหกรณ์การเกษตร  1  แห่ง

          -   ปั้มน้ำมันสหกรณ์การเกษตร   1  แห่ง

ส่วนที่  ๒  ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชนจากเวทีประชาคม

   วิกฤติของชุมชนก่อนการดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีย

        1. ปัญหาหาภารหนี้สินของครัวเรือน  อยู่ในขั้นวิกฤตครัวเรือนไม่สามารถชำระหนี้ได้เกิดปัญหาหนี้สินนอกระบบ ครัวเรือนกู้หนี้ยืมสินจากนายทุนดอกเบี้ยสูงเกิดขึ้นจำนวนมาก
 
       2. เพราะไปตามกระเสบริโภควัตถุนิยม บางรายต้องขายที่ดินทำกินในราคาถูกเพื่อนำไปใช้หนี้นอกระบบ

       3. ปัญหาการพนันและอบายมุขเกิดขึ้นในชุมชน    คนในวัยแรงงาน/เยาวชนมั่วสุมอบายมุขเล่นการพนัน  ดื่มสุรา  และเสพยาเสพติด

       4. ปัญหาอพยพแรงงาน ส่วนมากเยาวชนเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษา (ป. 6) จะไม่เรียนต่อ โดยจะ อพยพไปทำงานในตัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ฯ และไปทำงาน เรือประมงโดยส่วนใหญ่ถูกกดค่าแรงและบางรายถูกหลอกจากมิจฉาชีพบ้าง  เนื่องจากการศึกษาต่ำ ขาดประสพการในการใช้ชีวิตเมืองใหญ่

       5. ปัญหาการว่างงาน ของคนในชุมชนขาดทักษะและความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ

       6. คนในชุมชนมีภาวะโภชนาการที่ย่ำแย่ บางครอบครัวอยู่อย่างแร้นแค้น

       7. ครอบครัวขาดความอบอุ่น 

(3.) การดำเนินชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชนบ้านภูล้อม

                   เมื่อปี พ.ศ.2550 บ้านภูล้อมได้รับการคัดเลือกจากอำเภอดอนตาลเป็นหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”   โดยได้รับงบประมาณจาก กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อดำเนินกิจกรรมดังนี้

           1. กิจกรรมสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           2. สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกของแกนนำเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนเพื่อพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”(  กิจกรรมส่งเสริมครัวเรือนปลูกพืชสวนครัวบริโภคในครัวเรือน 

           และเหนือสิ่งอื่นใด คือประชาชนทุกครัวเรือนของหมู่บ้านภูล้อมได้มีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงเป็นพื้นบานเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ทุกครัวเรือนได้เกิดจิตสำนึกที่จะน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมายึดถือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดศิริมงคลแก่ครอบครัว และเพื่อน้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

( 4.) วิถีชีวิตชุมชนที่สะท้อนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้

          บ้านภูล้อม หมู่ที่ 6 อำเภอดอนตาล ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตมาปฏิบัติ

กิจกรรมสานฝันร่วมกันของชุมชนชาวภูล้อมในอนาคต

                   1.   โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด ( งบประมาณ 170,000 บาท) โครงการ ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ของรัฐบาล  ) เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีปุ๋ยชีวภาพไว้เพาะปลูกพืชปลอดสารพิษอย่างเพียงพอ ลดต้นทุนการผลิต และเหลือจำหน่ายให้ชุมชนอื่นต่อไป และเป็นการผลิตอาหารปลอดภัยไว้บริโภค ในชุมชนและสร้างสิ่งแวดล้อมอย่างยังยื่น

                   2. โครงการสร้างการเรียนรู้การจัดทำปุ๋ยชีวภาพและเกษตรธรรมชาติ ปลอดสารพิษของคนในชุมชนครัวเรือน (งบประมาณ 200,000 บาท ตามโครงการ พ.พ.พ )  ปี 2550 เพื่อพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพให้เป็นวิสาหกิจชุมชน ในอนาคต และเป็นแหล่งเรียนรู้ด่านการพัฒนาการเกษตรธรรมชาติปลอดสารพิษอย่างยั่งยื่น

3. การพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ทุกครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตได้มาตรบานตามเกณฑ์ จปฐ. และชุมชนเกิดการผาสุขเข้มแข็ง     อย่างยั่งยืนตลอดไป

ส่วนที่ ๓ แนวโน้ม / ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน /วิสัยทัศหมู่บ้าน

 

วิสัยทัศน์บ้านภูล้อม

* ชาวภูล้อมทุกครัวเรือนต้องกินอิ่ม  นอนอุ่นใจ  ไร้มลพิษ *

 

แนวโน้ม / ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

       1. อนุรักษ์ / พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนอย่างยั่งยื่น

       2. พัฒนาอาชีพการเกษตรของคนในชุมชนให้มีความพอเพียงลดการใช้สารเคมีในการเกษตรโดยรวมกลุ่มจัดทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดเพื่อให้ทุกครัวเรือนใช้ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นเองเหลือใช้จัดทำงานสร้างรายได้เข้าชุมชน

      3. ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

      4. รวมกลุ่มและพัฒนา / องค์กรให้เข้มแข็ง

      5. พัฒนาแหล่งทุนชุมชนให้เพียงพอ

      6. พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเทียวเชิงอนุรักษ์

      7. เป็นหมู่บ้านสุขภาพดีปลอดโรคระบาดและโรคติดต่อ  เช่น ไข้เลือดออก      โรค อุจจาระร่วง

     8. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้สมบูรณ์  ( น้ำประปา ไฟฟ้า  ถนน )

     9. พัฒนาสินค้า OTOP ของชุมชน

    10. พัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนให้มันคงยั่งยืนต่อไป  

ส่วนที่ ๔  การกำหนดอัตลักษณ์และตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน

อัตลักษณ์

เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข

มีธรรมชาติ ภูจ้อก้อมีกลุ่มองค์กรในชุมนที่เข้มแข็งมีความสามัคคีเอื้ออารีต่อกัน

มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและสืบสานวัฒนธรรมประเพณี

มีกลุ่มจัดทำปุ๋ยชีวภาพชุมชน 

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนา

เป้าหมาย

แนวทางการพัฒนา

1. การเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบยังยื่น

 

  1. เพิ่มผลผลิต/ลดต้นทุนการผลิต/ปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  2. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ ปลูกป่าชุมชน
  3. ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์
  4. รวมกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง

2. เป็นหมู่บ้านยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

1.   ลดรายจ่าย

2.   เพิ่มรายได้

3.   ส่งเสริมการออมทรัพย์

4.   ส่งเสริมการเรียนรูชุมชน

5.   อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยังยื่น

6.   เอื้ออารีต่อกัน

3. เป็นหมู่บ้านท่องเทียวเชิงอนุรักษ์

1.   พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสวยงาม

2.    ปลูกต้นไม้ให้เขียวขจีร่มรื่นปรับภูมิทัศน์

3.    จัดทำสวนสมุนไพร

4. เป็นหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าปลอดโรคระบาดติดต่อ

1.  ป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

2.  จัดสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนให้สะอาด

3.  รณรงค์เฝ้าระวังโรคทุก 3 เดือน

4.  ป้องกันโรคในเลี้ยงสัตว์

5.  ส่งเสริมการเรียนรู้สุขโภชนาการ

5. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหมู่บ้าน

1.  ปรับปรุงถนน/ ประปา/ ไฟฟ้าให้เพียงพอสะดวกทั่วถึง

 

6.พัฒนาทุนชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนสามารถเป็นที่พึ่งด้านเงินทุนและสวัสดิการของคนในชุมชนได้

     1. สำรวจกลุ่มกองทุนชุมชน

     2. จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

 

มาตรฐานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

บ้านภูล้อม  หมู่ที่ 6  ตำบลบ้านบาก  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร

......................................

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ประกอบด้วยลักษณะความเข้มแข็ง  4  ด้าน  14 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน กลุ่ม/องค์กรชุมชนที่ดำเนินงานได้อย่างมีมาตรฐานมีโครงสร้างและกระบวนการทำงานที่แสดงถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อเกื้อหนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรชุมชนให้ไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง  มี  4 องค์ประกอบคือ

       1.1 คณะกรรมการ

      1.2 ระเบียบข้อตกลง

      1.3 สมาชิก

      1.4  สถานที่ทำงานกลุ่ม

      1.5 กระบวนการทำงาน

2) ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร  กลุ่ม/องค์กรชุมชนที่ดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐานมีการบริหารเงินทุนและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และโปร่งใส สำหรับด้านนี้แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบคือ

      2.1 การจัดหาเงินทุนและทรัพยากร

      2.2 การจัดสรรและใช้ประโยชน์จากเงินทุนและทรัพยากร

     2.3 การควบคุมการใช้ประโยชน์จากเงินทุนและทรัพยากร

3) ด้านการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จะดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐาน ต้องมีการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนากลุ่ม/องค์กรชุมชนอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับกลุ่ม/องค์กรอื่นๆ ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น  3 องค์ประกอบคือ

     3.1 การพัฒนาการเรียนรู้

     3.2  การพัฒนาทุนทางสังคม

     3.3  การเชื่อมโยงกับกลุ่ม/องค์กร

4)  ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐาน มีการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชนอย่างทั่งถึงเป็นธรรม และตอบสนองความต้องการตามระเบียบที่เห็นพ้องต้องกันของสมาชิก ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบคือ

    4.1 การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของสมาชิก

    4.2 การแบ่งปันผลประโยชน์ต่อสมาชิก

    4.3 การจัดสวัสดิการต่อสมาชิกและชุมชน 

ผลการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านภูล้อม

   ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 73  คน ดังนี้

      1. สมาชิกสามัญ  73 คน

      2 .สมาชิกสมทบ   คน

ประเภทของสมาชิก

       สมาชิกสามัญ คือ สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มสามัคคี สามารถกู้ยืมเงินของกลุ่มได้

       สมาชิกสมทบ คือ สมาชิกที่ประสงค์จะออมทรัพย์เพียงอย่างเดียวไม่มีการกู้ยืม

คุณสมบัติของการเป็นสมาชิก

       1.  เป็นประชากรในหมู่บ้าน หรืออยู่ในทะเบียนบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านบาก

       2.  แรกเข้าอายุไม่เกิน 60 ปี

กิจกรรมของกลุ่ม

       การให้กู้ยืม

        - ปัจจุบันมีสมาชิกกู้ยืม  จำนวน  50 ราย

       - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ  1 บาท ต่อ เดือน

หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม

       - เขียนคำร้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด

       - สมาชิกต้องมีคนค้ำประกันการกู้เงิน

       - กรรมการเงินกู้พิจารณาตามความจำเป็น

      - วงเงินกู้ไม่เกิน 20,000 บาท เงินต้นไม่ต่ำกว่า 500 บาท พร้อมดอกเบี้ย

      - หากสมาชิกที่กู้ยืมไม่ใช้หนี้เงินกู้สมาชิกในกลุ่มต้องรับผิดชอบและไม่มีสิทธิในการกู้ยืม

การออม

      - สมาชิกทุกคนต้องออมทุกเดือน หากไม่มาออมถูกปรับเดือนละ 10 บาท

      - ขาดออม 3 ครั้งติดต่อกัน ไม่มีสิทธิกู้ยืมในปีนั้นๆ

การจัดสวัสดิการ

          สมาชิกจะได้รับค่ารักษาพยาบาลคืนละ  100  บาท/คน/วัน   คนละไม่เกิน 1,000 บาท/ปี

       - หากสมาชิกเสียชีวิตจะได้รับเงินสงเคราะห์  รายละ 5,000 บาท/คน

การปันผล

         ปันผลสมาชิก                        50  %

         กรรมการ                        25  %

         สมทบกองทุน/สวัสดิการ              15  %

        เฉลี่ยคืนสมาชิก                      5  %

       สาธารณประโยชน์                  5  %

สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามคุณธรรม 5 ประการ ดังนี้

  • มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
  • มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีความเห็นอกเห็นใจกัน
  • มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑.ผู้นำ

          ผู้นำมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของกลุ่มเป็นที่ยอมรับจากสมาชิก คือ  นายลม  ผิวงาม  (ผู้ใหญ่บ้าน)  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  และนายบุญมา  พิกุลทอง  อดีตผู้ใหญ่บ้านที่มาปรึกษากลุ่มออมทรัพย์ฯ  ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกเรื่องความซื่อสัตย์ เสียสละ  ความไว้วางใจ  มีความรับผิดชอบสูง ทำให้กลุ่มประสบผลสำเร็จ  ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็ง  และยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน

๒.คณะกรรมการ

        คณะกรรมการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  เสียสละ  มีความรับผิดชอบ  จึงทำให้กลุ่ม  มีความมั่นคง  กรรมการที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่จะเป็นกรรมการชุดเดิมที่สมาชิกยอมรับ  และไว้วางใจในความซื่อสัตย์  โดยเฉพาะเป็นคณะบุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เช่น  การให้ส่วนลดแก่สมาชิก เป็นต้น นอกจากนั้น คณะกรรมการยังเป็นผู้ใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า  สามารถจัดทำบัญชีได้เองโดยไม่ต้องพึ่งบุคคลภายนอก

๓.สมาชิก 

         สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การแสดงความคิดเห็น ตามความต้องการของตนเองเสมอ

สมาชิกมีคุณภาพ

  • มาร่วมประชุมกลุ่ม โดยพร้อมเพียงกันเป็นประจำ
  • ออมเงินกับกลุ่มตามข้อตกลงครบถ้วนทุกครั้ง
  • หากกู้เงินจากกลุ่มต้องชำระตามสัญญาให้ครบถ้วนและตรงเวลา
  • ดูแลช่วยเหลือกันและปฏิบัติตามระเบียบกลุ่ม 

๔.การเข้าร่วมกลุ่มด้วยความสมัครใจ

          ยึดหลักคุณธรรม  ๖ ประการ  มีความซื่อสัตย์  มีความเสียสละ  มีความรับผิดชอบ  มีความเห็นอกเห็นใจ  มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  และมีความสามัคคี  การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นผลให้กลุ่มมีความมั่นคง ความซื่อสัตย์ในการส่งเงินสัจจะทุกครั้ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของกลุ่ม   มีความรู้สึกรักและหวงแหน ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่สอดคล้องเชื่อมโยง สนับสนุนวิถีชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

                ารบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านภูล้อม นับว่าเป็นกลุ่มที่มีการบริหารจัดการแบบพอประมาณ พอเหมะตามศักยภาพตนเองที่มี  โดยมีการประเมินตนเองของกลุ่มตลอดเวลา ด้วยการตรวจสอบผลการดำเนินงานอยู่เป็นประจำทุกเดือน  (พูดคุย  แลกเปลี่ยนแนวความคิด ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน) เพื่อให้ทราบว่ากลุ่มมีศักยภาพ และฐานะการเงินของกลุ่มเป็นประจำ ในการวางแผนการขยายกิจกรรมเครือข่ายของกลุ่มจะคำนึงถึงเงินทุนของกลุ่มที่มีอยู่ และอยู่บนพื้นฐานความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก และจะหลีกเลี่ยงในการกู้เงินจากภายนอกมาลงทุน  ใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป   กลุ่มมีความรอบคอบในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมร่วมกันทุกครั้ง  และที่สำคัญกิจกรรมที่ดำเนินการทุกอย่างเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทุกคน      

 การมีภูมิคุ้มกัน

            การบริหารจัดการของกลุ่มถือได้ว่ามีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างดี  จะเห็นได้จากการขยายกิจกรรมเครือข่าย ของกลุ่มเป็นจำนวนมาก และครอบคลุมทุกด้าน เพื่อช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของสมาชิก และประชาชนทั่วไปในการดำรงชีวิต  และที่สำคัญยิ่ง  คือ  มีการระดมเงินทุนโดยการออมเงิน  และกองทุนหมู่บ้าน  สภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ สินค้ามีราคาแพง แต่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านห้วยหิน ยังมีเงินทุนในการขยายกิจกรรมเครือข่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกอยู่เสมอ  ความรู้และคุณธรรม การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านห้วยหิน  สิ่งที่สำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จคือผู้นำกลุ่ม คณะกรรมการ  และสมาชิก  เป็นบุคลากรที่มีความรู้ภูมิปัญญา  มีความรอบรู้ รอบคอบ และมีความซื่อสัตย์  สุจริต  ความเสียสละ  ขยันอดทน และที่สำคัญยิ่งคือ  ความรักสามัคคี  ความเห็นอกเห็นใจกันของคนในชุมชน คณะกรรมการบริหารกลุ่มจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ใช้มติที่ประชุมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในคณะกรรมการและสมาชิกอยู่เป็นประจำ ทั้งจากการประชุมร่วมกันทุกเดือน  การศึกษาดูงาน  อบรมหน่วยงานราชการ การปรึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลภายนอกอยู่เสมอ ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด  ถือความเสมอภาคและผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของสมาชิกเป็นสำคัญ  (ทุกวันเสาร์สัปดาห์แรกของเดือน  สมาชิกทุกคนต้องนำเงินมาฝากสัจจะกู้ยืม  ส่งใช้หนี้)  เป็นมติร่วมกัน  กับคณะกรรมการกลุ่ม  ณ  ที่ทำการของกลุ่ม  คณะกรรมการจะดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามภารกิจใน วันนั้นๆซึ่งทุกกระบวนการดังกล่าวข้างต้นจะเป็นการฝึกคนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย  มีคุณธรรมและมีความรักสามัคคี  สามารถพึ่งตนเองได้  ทั้งระดับครอบครัว  กลุ่ม/องค์กร และชุมชน  ได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

......................................

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view