http://dtcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าหลัก

บุคลากร

บทบาทหน้าที่

 ข้อมูลทั่วไปอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 ข่าวสาร

 กรมการพัฒนาชุมชน

 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม51,564
เปิดเพจ84,942
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

แผนพัฒนาหมู่บ้าน

การบริหารจัดการครัวเรือน

พัฒนาชุมชนใสสะอาด

เครือข่าย พช.

ศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน

ศาสตร์พระราชา

สัมมาชีพชุมชน

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล VDR/TDR

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

CDD WORK SMART

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน

ผลิตภัณฑ์เด่นชุมชน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ความเป็นมา

ความเป็นมา

แนวคิดสำคัญ
                   “โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสัมมาชีพ” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพของชุมชน บนฐานข้อมูลและความรู้ให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล ให้เห็นศักยภาพและโอกาสของชุมชน บนเส้นทางของสายโซ่เศรษฐกิจ แล้วพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการขึ้นมา เพื่อนำไปปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเป้าหมายบนฐานกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน โดยเลือกปฏิบัติการในข้อต่อใดข้อต่อหนึ่งในสายโซ่เศรษฐกิจของอาชีพนั้น พร้อมๆ กับส่งเสริมให้ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระดับครัวเรือนและนำข้อมูลจากบัญชีครัวเรือนไปประมวลผล ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาครอบครัว แผนพัฒนาชุมชน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้เชี่ยวชาญ และทุกภาคีการพัฒนานับจากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโครงการในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ นั้น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้สนับสนุนโครงการไปยังพื้นที่เป้าหมาย ทั้งสิ้นจำนวน ๙๒ แห่ง ใน ๒๗ จังหวัด ขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวได้ดำเนินงานมาแล้วกว่าร้อยละ ๗๐ โดยเฉลี่ยของแผนกิจกรรม เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งที่ได้จากการต่อยอดทุนเดิมและพัฒนาขึ้นใหม่เป็นจำนวน  ๗๕ รายการ ทั้งนี้ผลงานและสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานทั้ง ๙๒ พื้นที่นั้น สสค.จึงได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล และการรับฟังข้อเสนอแนะจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญภาคธุรกิจผ่าน เวทีสัมมนาวิชาการ “พัฒนาความรู้...สู่สัมมาชีพชุมชน” ทั้งนี้เพื่อให้ชุดองค์ความรู้และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เกิดเป็นความยั่งยืนต่อไปสู่สัมมาชีพชุมชน

เส้นทางสู่สัมมาชีพชุมชนเต็มพื้นที่
ความรู้คู่การตลาด...
บทสรุปผู้บริหาร
                ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปราชญ์คนสำคัญของสังคมไทย ผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนสัมมาชีพชุมชนกล่าวในที่ประชุมในวาระต่างๆกันหลายครั้งว่า “การสร้างสัมมาชีพเต็มแผ่นดินจะนำไปสู่ความสันติสุขของสังคมไทย” ซึ่งสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้นำหลักคิดดังกล่าวมาแปลงสู่ปฏิบัติ โดยระดมสมองนักปฏิบัติการการเรียนรู้ทางสังคมมาร่วมกันคิดออกแบบเพื่อแปลงแนวคิด “การสร้างสัมมาชีพให้เต็มแผ่นดิน” สู่ปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ในที่สุดก็ได้ออกมาในรูปของ “โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสัมมาชีพ”และได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔   รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ นักวิชาการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ได้ให้แนวทางการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อก้าวไปสู่ชุมชนสัมมาชีพไว้เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๔ ว่า “การสร้างสัมมาชีพให้เต็มพื้นที่ได้นั้น ต้องเริ่มจากการสร้าง
กระบวนการเรียนรู้ให้กับครัวเรือนและชุมชน ผ่านการทำบัญชีครัวเรือนหรือบัญชีฟาร์ม เพื่อให้เห็นโอกาส เห็นตลาดภายในพื้นที่ชุมชน จากนั้นให้เรียนรู้บัญชีทุนทรัพยากร บัญชีทุนทางสังคม บัญชีทุนเศรษฐกิจ บัญชีทุนวัฒนธรรม และเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการทุนที่มีอยู่ในพื้นที่โดยองค์กรชุมชนเป็นแกนกลาง ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันวิชาการ และภาคเอกชนด้วยการคิดและทำให้เป็นระบบ โดยใช้หลักการห่วงโซ่เศรษฐกิจ ทำให้ครบวงจร”ช่วงระยะเวลา ๑๔ เดือน ที่โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสัมมาชีพ (เรียก
โดยย่อว่า โครงการสัมมาชีพชุมชน) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) นำหลักการและแนวทางดังกล่าวของ รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เป้าหมาย ๙๒ ตำบล นั้น มีข้อค้นพบที่สำคัญหลายประการ ได้แก่

               ประการที่ ๑: การเรียนรู้จากข้อมูลบัญชีครัวเรือน สร้างรายเหลือเพื่อนำไปจัดการทุนทุกมิติ ครัวเรือนที่มีการบันทึกบัญชีครัวเรือน ในพื้นที่ ๖๕ ตำบล (จากตำบลเป้าหมาย ๙๒ ตำบล)จำนวนครัวเรือนที่บันทึกบัญชีจำนวน ๑,๕๐๐ ราย นั้น แม้ว่าจะไม่เป็นสัดส่วนที่สูงมากในเชิงปริมาณ แต่การให้ความสำคัญในเชิงคุณภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในระดับครัวเรือนที่ทำบัญชีนั้น เป็นตัวชี้วัดสำคัญของการนำไปสู่การสร้างรายได้ของครัวเรือน ของชุมชน ให้มากกว่ารายจ่ายซึ่งจะแปรสู่ “รายเหลือ” กลายเป็นทุนเศรษฐกิจของชุมชนในที่สุด ซึ่ง “ทุนเงิน” ที่เหลือสามารถนำไปบูรณาการบริหารจัดการทุนในมิติต่างๆ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาพรวมของชุมชนให้เพิ่มขึ้นโดยตั้งอยู่บนฐาน “การมีศักยภาพในการบริหารจัดการทุนทุกมิติต่างในชุมชน ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าใหม่” ให้ได้ ซึ่งหมายความว่า “คนในชุมชนนั้นต้องมีศักยภาพในการรวมตัวกันเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กรในรูปแบบขบวนการสหกรณ์ เพื่อดำเนินกระบวนการทางธุรกิจของชุมชนประเภทต่างๆ ทั้งอาชีพการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การประมง การบริการ ให้ครบห่วงโซ่
เศรษฐกิจ”
                 ประการที่ ๒: การสร้างความรู้ด้านการคิดเชิงระบบและการพัฒนาอาชีพแบบครบห่วงโซ่เศรษฐกิจ ให้กับคณะทำงานจังหวัดและตำบล โครงการสัมมาชีพชุมชน ได้จัดการกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้ง ๒ ระดับ คือ กลุ่มผู้ประสานงานและผู้ติดตามสนับสนุนระดับจังหวัดและคณะทำงานตำบล โดยการฝึกอบรมทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) การพัฒนาอาชีพชุมชนประเภทต่างๆ แบบคิดและทำให้ครบห่วงโซ่เศรษฐกิจ ในช่วงการพัฒนาโครงการนั้นมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ร่วมกันขัดเกลาโครงการจนได้ที่ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการจริงโดยมีทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดคอยกำกับชี้แนะไม่ให้ “หลงทาง” ออกไปจากกรอบคิดและหลักการที่ร่วมกันกำหนดไว้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคด้านการบริหารจัดการโครงการด้านการปิดงวดงาน การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า การเปลี่ยนแปลงชุดผู้บริหารและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของ อปท.ในตำบลพื้นที่เป้าหมาย บ้าง แต่ ทิศทางการปฏิบัติการบนฐานการการเรียนรู้การพัฒนาแบบครบห่วงโซ่เศรษฐกิจยังคงดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ในพื้นที่ร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ทั้งหมด (ประมาณ ๒๕ ตำบล  จาก ๙๒ ตำบล)

                  ประการที่ ๓ : การพัฒนาองค์กรชุมชนสัมมาชีพบนฐานความรู้ พื้นที่เป้าหมายการสร้างสัมมาชีพ ของโครงการสัมมาชีพชุมชน คือ “ชุมชน” ไม่ใช่ปัจเจก แม้ว่าพื้นฐานของชุมชนจะมาจาก“ครัวเรือนปัจเจกชน” แต่กระบวนการเคลื่อนงานสัมมาชีพชุมชน ที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นเต็มแผ่นดินได้ ควรตั้งอยู่บนฐานคิดของการก้าวไปสู่สัมมาชีพของ “องค์กรชุมชน” หรือ “ชุมชนท้องถิ่น”ถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง การเคลื่อนขบวนสัมมาชีพชุมชนจึงออกแบบให้ทำงานบนฐาน “ความร่วมมือ” ระหว่างองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ “กระบวนการใช้ความรู้ มาพัฒนาการประกอบการอาชีพต่างๆ” โดยทุนสนับสนุนส่วนใหญ่จาก สสค. ถูกใช้ไปในกระบวนการเรียนรู้ สู่การสร้างความรู้ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการสร้างความพร้อมของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพื่อการตลาด ทั้งในตลาดระดับชุมชนท้องถิ่นและตลาดภายนอกชุมชนท้องถิ่น โดยมีการจัดตั้งองค์กรชุมชนสัมมาชีพขึ้นมารองรับปฏิบัติการของโครงการสัมมาชีพชุมชน บางพื้นที่เกิดองค์กรชุมชนสัมมาชีพที่เข้มแข็ง เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ร่วมมือกับสถาบันวิชาการอย่างใกล้ชิด เพื่อนำความรู้จากสถาบันวิชาการมาประยุกต์ใช้เพื่อการลดต้นทุนการผลิต และการยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้พร้อมที่จะนำไปใช้เองในระดับครัวเรือน
และชุมชนหรือส่งตลาดในทุกระดับ
                   ประการที่ ๔ : การตลาดตรง - คนปลูกถึงคนกิน: แนวทางการสร้างรายได้ให้มากกว่ารายจ่าย การสร้างระบบเศรษฐกิจให้เกิด “รายเหลือ” เพื่อการสะสมทุนของครัวเรือนและชุมชนนั้นมีพื้นฐานความคิดที่ไม่ซับซ้อนกล่าวคือ “ครัวเรือนในสังคมไทยต้องคิดใหม่ว่า ตนเองเป็นผู้ประกอบการคนหนึ่งในฟันเฟืองของระบบเศรษฐกิจใหญ่ กำลังทำธุรกิจอยู่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในเชิงธุรกิจเอกชนอื่นๆ การสร้างรายเหลือหรือกำไรสุทธิให้มากขึ้นนั้น ทำได้ ๒ ทาง คือ ทางที่ ๑ มุ่งสู่การลดรายจ่าย ลดต้นทุนในการผลิต ลดรายจ่ายครัวเรือน ไม่ก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทางที่ ๒การเพิ่มมูลค่าในการจำหน่ายผลผลิตของครัวเรือนของชุมชน ให้มีส่วนต่างจากต้นทุนมากขึ้นรายเหลือก็จะมากขึ้นตาม” ซึ่งกระบวนการดำเนินงานของโครงการสัมมาชีพชุมชนในตำบลเป้าหมายต้อง “เข้าใจและเข้าถึง” ทั้ง ๒ ทางควบคู่กันไป โดยการนำหลักการการจัดการอาชีพแบบครบห่วงโซ่เศรษฐกิจมาประยุกต์ใช้ และการนำทุนทุกมิติในชุมชนมาบูรณาการปรับใช้ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าที่เหมาะสมต่อการประกอบการสัมมาชีพ บนหลักการ “ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย (มีรายเหลือมากขึ้น)” ซึ่งจากผลการทดลองปฏิบัติการ การนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการบริโภคไปขาย และการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการตลาดโดยตรงนั้น หากกลไกการตลาดของกลุ่มสัมมาชีพชุมชน ต้องเข้าไปอยู่ในวัฎจักรเดิมของตลาดกระแสหลัก กล่าวคือ ขายผลผลิตแบบสดๆเป็นวัตถุดิบให้โรงงานแปรรูป, ขายผลผลิตสดๆ พวกผักผลไม้ ปลา ไก่ สุกร โค กระบือ เป็นต้น ให้ผู้รวบรวมในพื้นที่และส่งขายต่อไปอีกหลายช่วงชั้นขายผลผลิตที่เต็มไปด้วยการปนเปื้อนสารพิษทางการเกษตรตอบสนองตลาดที่ต้องการผลผลิตที่สวยงาม, ขายผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีคุณภาพต่ำและคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน (ผู้ผลิตเองก็ไม่กล้าใช้)  เช่น ไม่มั่นใจในคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ที่ตนเองผลิต เพราะไม่มั่นใจในคุณภาพ เกรงว่าจะไม่ได้ผล ลงทุน  ปัจจัยการผลิตอื่นๆ ไปมากแล้ว กลัวขาดทุน เป็นต้น โดยราคาที่กลุ่มผู้ผลิตสัมมาชีพชุมชนจำหน่ายออกไปนั้น ถูกกำหนดโดย “พ่อค้าคนกลาง ไม่สามารถกำหนดราคาขาย (ที่จะคาดคะเนรายเหลือได้)”ต้องขายออกไป แม้ว่าจะไม่มีรายเหลือ ก็ตาม เส้นทางแบบนี้จะนำไปสู่ “การสร้างหนี้สินในทุกระดับเกิดการเรียกร้องต่อสู้ เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม “เกิดคนร่ำรวยกระจุกเดียว ขณะที่คนจนกระจายทั้งแผ่นดิน”ช่วงเวลา ๑๔ เดือน ที่ดำเนินงานมา โครงการสัมมาชีพชุมชน ได้เรียนรู้กลไกการผลิตและตลาดในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย พบว่า “พื้นที่เป้าหมายส่วนหนึ่งของโครงการสัมมาชีพชุมชน ยังต้องเรียนรู้กระบวนการผลิต เพื่อสร้างและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการให้ได้ กล้ากินกล้าใช้ ทุกอย่างที่ปลูกและผลิตกันเองในกลุ่ม มีประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่เป้าหมาย ยังต้องการ“ความรู้” เข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการองค์กรชุมชนสัมมาชีพ ส่วนพื้นที่อีกร้อยละ  ๓๐ หรือประมาณ ๒๕ ตำบลนั้น มีผลิตภัณฑ์สัมมาชีพชุมชนที่พร้อมจะจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นและตลาดนอกพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น แต่ก็พบอุปสรรคการตลาดและราคาที่ยังไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคาที่ก่อให้เกิดรายเหลือเพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชนได้ กลุ่มนี้ต้องการ “ตลาด” รูปแบบใหม่ ที่ต้องลด “คนกลาง” ลงให้มากที่สุด ต้องทำการตลาดตรงถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้ส่วนต่างที่ตกในมือ “คนกลาง” กลับมาเป็นของผู้ผลิต

                 ประการที่ ๕ : การสร้างตัวตน การค้นหา และการนำเสนอ เรื่องราวชุมชนอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สัมมาชีพ ทั้งในรูปผลิตภัณฑ์และบริการจุดแข็งและโอกาสของผลิตภัณฑ์และบริการจากองค์กรชุมชนสัมมาชีพ ทางด้านการตลาด คือ “การสร้างความเป็นตัวตน สร้างความเป็นชุมชนที่มีทุนทางวัฒนธรรมเฉพาะ สร้างความเป็นธรรมชาติ สร้างความปลอดภัยเพื่อสุขภาพสร้างความเป็นธรรมทางการค้า สร้างความเป็นองค์กรชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น ให้เป็น “เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการสัมมาชีพ” แต่จุดอ่อนและอุปสรรค คือ “การขาดทักษะบริหารจัดการในเชิงการเป็นผู้ประกอบการขององค์กรชุมชน ขาดความรู้ในการบูรณาการทุนทุกมิติที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ขาดความไว้วางใจกันและกันในภาคประชาชนด้วยกัน ขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ขาดกลไกกลางในการบริหารจัดการด้านการตลาดและขาดการศึกษาวิจัยและพัฒนาช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ เป็นต้น” ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์และสินค้าของสัมมาชีพ แข่งขันกับภาคธุรกิจเอกชนไม่ได้ ดังนั้น แนวทาง “การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนธุรกิจเอกชนที่มีประสบการณ์ทางด้านการบริหารธุรกิจและภาคสถาบันการศึกษาที่มี “ใจ” ให้กับ “สัมมาชีพชุมชน” ควรเพิ่มระดับความเข้มข้นให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับ “มูลนิธิสัมมาชีพ” ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของนักธุรกิจที่มี “ใจให้กับสังคม วาดหวังที่จะสร้างองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม” มีทักษะประสบการณ์ทางการดำเนินธุรกิจและมีช่องทางทางการตลาดที่จะร่วมเป็นเครือข่ายกับขบวนสัมมาชีพชุมชนอย่างเสมอภาคได้

              ประการที่ ๖ : องค์กรสัมมาชีพชุมชนต้องเป็นแกนกลางในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันวิชาการ จากประสบการณ์ ๙๒ ตำบล       หากพื้นที่ใดที่องค์กรชุมชนสัมมาชีพไม่สามารถก่อตัวขึ้นได้ ภาระงานส่วนใหญ่ต้องตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ อปท.ขาดกระบวนการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชนสัมมาชีพ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมพื้นที่นั้นก็จะมีข้อขัดข้องด้านความต่อเนื่อง และความยั่งยืนของการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการสัมมาชีพชุมชนและปัญหาจะทวีมากขึ้น หากความสัมพันธ์ในเชิงการเมืองท้องถิ่นเข้ามาแทรก อย่างไรก็ตามอปท.ที่มีฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่ “เข้าใจ เข้าถึง” แนวคิดทิศทางการพัฒนาสัมมาชีพแบบครบห่วงโซ่เศรษฐกิจ การเข้ามา “ร่วมพัฒนา” องค์กรชุมชนสัมมาชีพก็จะดำเนินการอย่างเข้มข้น อย่างได้ผล เสริมพลังให้ภาคองค์กรชุมชนสัมมาชีพประสบความสำเร็จได้รวดเร็ว และมีความยั่งยืนมากขึ้นเพราะมีทุนทางสังคมอื่นๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของอปท. มาสนับสนุน องค์กรชุมชนสัมมาชีพได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง  ในช่วงโค้งสุดท้ายของโครงการสัมมาชีพชุมชน ๑๔ เดือน ที่ผ่านมา พบว่าในระดับพื้นที่ปฏิบัติการตำบล โดยเฉลี่ยมีการใช้งบประมาณไปเพียงร้อยละ ๕๐ ของงบที่ได้รับการอนุมัติจาก  สสค.หากในช่วงระยะเวลาที่เหลืออีกประมาณ ๒ เดือน (โครงการสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ เมษายน  ๒๕๕๖) นั้น พื้นที่ตำบลยังคงยึดหลักการทำงานแบบครบห่วงโซ่เศรษฐกิจ สร้างความรู้พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรชุมชนสัมมาชีพและผลิตภัณฑ์ รองรับการดำเนินงานของกลุ่มที่ ๑  (ร้อยละ ๗๐) และ พัฒนากลไกตลาดรูปแบบใหม่ๆ อย่าง การสร้าง “ข้อต่อ” ที่เป็นองค์การตลาด เพื่อสัมมาชีพชุมชน และพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรชุมชนสัมมาชีพให้เข้มแข็ง


          พัฒนาระบบข้อมูลเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดแบบออนไลน์ (ตลาดลอยฟ้า สินค้าตามสั่ง)ขึ้นมารองรับการดำเนินงานของกลุ่มที่ ๒ (ร้อยละ ๓๐) สสค.และสังคมจะได้รูปธรรมปฏิบัติการสัมมาชีพชุมชนที่จะส่งผลการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของ๙๒ ตำบล ทั้งนี้เงื่อนไขความสำเร็จ ที่ โครงการสัมมาชีพชุมชนในแต่ละพื้นที่ ต้องเปิดกว้างการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น คือ “การนำความรู้” เข้ามาพัฒนา ๓ องค์ประกอบหลัก คือ ๑) พัฒนาทักษะการบริหารจัดการองค์กรชุมชนสัมมาชีพ ๒) พัฒนาผลิตภัณฑ์สัมมาชีพให้ได้มาตรฐานและคุณภาพ และ ๓) พัฒนาระบบการตลาดแบบตรงถึงผู้บริโภคทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและตลาดนอกท้องถิ่น (ขึ้นกับชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์)



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view